การเดินทางภายใน...ยอมรับความแตกต่างของความหมาย


หลายครั้งที่ เจตนาที่ดีอาจถูกตีความผิด เพราะไปใช้คำที่อาจไปสะกิดใจผู้อื่น

คำพูดที่สะกิดใจของผู้ใดนั้น ย่อมอยู่ในใจของผู้ที่คิด ผู้อื่นจะไม่ทราบเลยจนกว่า เจ้าตัวจะแสดงออกมาให้เห็นว่า คำพูดได้ไปสะกิดสิ่งที่ซ่อนไว้ในใจนั้น

หนึ่งเรื่องราวของเจตนา อาจถูกเบี่ยนเบนด้วยการตีความหมายของคำ เพียงคำเดียวได้ นั่นหมายถึงว่าเจตนาที่ดี แต่พูดด้วยคำที่ไม่ขยายความหมายให้ชัดเจน และไม่เหมาะกับกาละ เทศะ และบุคคล ก็อาจกลายเป็นคำพูดไม่ดี เจตนาร้ายไปก็ได้

ดังนั้น เมื่อ "คำพูด" ทำให้เกิดความเข้าใจผิดก็ชี้แจงและขอบคุณที่บอกให้ทราบ แต่ไม่ใช่เหตุผลที่จะต้องไปเปลี่ยนจุดยืน เพราะ "คำ" ที่ให้ความหมายแตกต่างไปตามปัจเจกของผู้พูด ย่อมไม่มีการชี้ผิดชี้ถูกด้วยบุคคลใด และแม้แต่ด้วยกาลเวลาใดเวลาหนึ่ง สังคมใดสังคมหนึ่ง

ผู้ที่ต้องการให้ผู้อื่นพูดด้วยคำในความหมายเฉพาะของตัวเอง จึงเป็นการกำหนดกรอบที่ต้องการควบคุมผู้อื่น จัดเป็นการใช้อำนาจผ่านคำพูด

ดังนั้น เมื่อเชื่อว่าจะสร้างสังคมที่มีปัญญา จึงยอมรับความแตกต่างของความหมายของคำ และให้อิสระตัวเองที่จะคิด ที่จะมีความเห็น ในขณะที่ให้อิสระแก่ผู้อื่นที่จะคิดและให้ความเห็นเช่นกัน

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #healthy_society
หมายเลขบันทึก: 60723เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
ดิฉันเคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้กับผู้ใหญ่....ใหญ่มากคนหนึ่งค่ะ.....ท่านหน้าแดง...และสั่งให้ดิฉันพูดใหม่....ดิฉันยืนยันว่าจะพูดกี่ครั้งหนูก็จะพูดแบบนี้....ในวันนั้นได้แสดงความคิดเห็นต่อผู้ใหญ่ท่านนั้นว่า "ผู้พูดควรรับได้ทุกมุมของการตีความ" 

"เป็นคำกล่าวที่ขอบพระคุณมาก ๆ ๆ ครับที่เจตนาดี ...แต่สังคมไทย......ต้องมองหลายด้านครับ หลาย ๆ มิติ เพราะนี่คือสังคมไทย  ที่ใช้คำที่ไม่เหมาะสม เหตุเกิดที่ภาคใต้ก็เพราะลักษณะนี่แหละครับ การยอมรับข้อแตกย่อมมีอยู่ทุก ๆ มุมมอง การมองอาจจะแตกต่าง แต่สิ่งที่ได้รับคือความหวังดีที่มีให้กัน...กระผมยังอ่อนประสบการณ์แต่ต้องขอประทานโทษที่ต้องเอ่ยคำนั้น แต่จักได้เป็นต้นแบบที่ดีแก่เยาวชน เพราะเขากำลังดูอยู่ครับ การมีจิตใจที่เปิดกว้างย่อมรับรู้สิ่งที่ผู้อื่นจักคิดและกระทำ...

ขอบคุณอีกครั้งครับ....

ขอบคุณค่ะคุณเมตตาที่มาต่อยอด เติมมุม

 

ขอบคุณเช่นกันค่ะ คุณ น.เมืองสรวง

ที่ต่อเติมให้เห็นหลายมุมความคิด

คนแตกต่างกันได้แต่ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ  หากยอมรับความแตกต่างของความเห็นของบุคคลอื่นค่ะ

ขอบคุณค่ะ 

สวัสดีครับ...

คนเราต่างกันเหมือนบัว 4 เหล่า...บัวที่พ้นน้ำแล้วเบ่งบาน...รับแสงอรุโณทัย...

เจตนา...จะมองเห็นได้โดยคนมีตาใน...ไม่ใช่ใช้ตานอกมอง...

คำพูดที่ถูกต้องมักจะไม่ถูกใจครับ...ฮา ๆ เอิก ๆ

ขอบคุณครับ...

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์จันทรรัตน์
  • เป็นคำกล่าวสั้น ๆ แต่มีความหมายกินใจมาก ๆ เลยครับ
  • อื่ม.... ต้องขออนุญาตกลับไปทบทวนความหมายในคำพูดของตัวเองหลาย ๆ ครั้งแล้วหละครับ
  • ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ

คนเราต่างกันเหมือนบัวสี่เหล่า...ทำให้เกิดปิ๊งความคิดตามมาได้หลายอย่างเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ ท่านอาจารย์ umi

 

สวัสดีค่ะ  คุณจันทรรัตน์

ครูอ้อยได้สอนนักเรียนตัวน้อยของครูอ้อยให้เห็นถึงความแตกต่างของคนเราโดยใช้นิทานเรื่อง  " หมีกับนก" 

เจ้านกมันถามหมีว่า  " นี่พี่หมี  พี่มีอะไรให้ฉันทำบ้างไหม "

เจ้าหมีตอบว่า  " แล้วเจ้ามีน้ำผึ้งให้ฉันกินหรือเปล่า "  เจ้านกตอบหมีอีกว่า  " ฉันร้องเพลงเพราะและบินได้ด้วยนะ " 

เจ้าหมีตอบอย่างเร็วว่า  " ทั้งร้องเพลงและบินได้นั้น  ฉันไม่เห็นมีประโยชน์อะไรสำหรับฉันเลย "

แล้วครูอ้อยก็ให้นักเรียนวิเคราะห์  คำพูดของหมีกับนก  นักเรียนมีนานาทัศนะ  น่ารักดีค่ะ  ครูอ้อยให้เขียนบรรยายสั้นๆด้วยนะคะ

นักเรียนพูดไม่เก่ง  สับสน แต่เขียนได้ดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน...มากครับ

การพูดจึงยกให้เป็นศิลปะ ในการติดต่อสื่อสาร คิดให้มากก่อนพูดจึงจะดีกว่า คิดแล้วพูดเลย เพราะคนเราต่างกัน

ขอบคุณอาจารย์ครับ

พอดีเพิ่งไปอ่านบันทึกหนึ่งใน Gotoknow ....

...........

ผมจึงขอเพิ่มเติมครับ...ดังนี้ครับ

สิ่งที่ดียิ่งๆขึ้นไป

เหมือนอย่างที่อาจารย์ได้กล่าวมาคือ มีจุดยืนเป็นของตัวเองที่ชัดเจน อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ทราบเจตนา (หากจำเป็นต้องทำ)

ช่วงหลังผมไม่ค่อยให้ความสนใจคำพูดเท่าไหร่ อาจดูที่เจตนามากกว่า...

และบนพื้นฐานของความเท่าเทียม และใจกว้าง(ที่ตนเองพยายามพัฒนา) มองคนแบบเข้าใจ..

มันเป็นเช่นนั้นเอง...

พื้นฐานของการกระทำน่าจะมาจากเจตนา หากเจตนาที่ดี แต่การนำเสนอผิดไป อาจเพราะ คำ หรือ การกระทำบางอย่าง ผมคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา

สำหรับ ท่านอาจารย์จันทรัตน์ เป็นลักษณะผู้ใหญ่ใจดี และในบันทึก /ข้อเสนอแนะ อาจารย์ได้เขียนให้ข้อเสนอแนะแบบละมุนละไมตลอดและเสมอมา...

ผมได้มองไปถึงอารมณ์เบื้องลึกของอาจารย์ที่มีความสุข จนกลั่นออกมาเป็นคำพูด บรรยาย จนรู้สึกได้ มีชีวิต

และ ผมก็รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ

ขอบคุณอาจารย์ครับ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ปภังกร

พลังของคำพูด มีผลกับจิตใจคนฟังมากค่ะ

เล่าเรื่องคุณแม่ของดิฉันค่ะ คุณแม่อายุ 81 ปี อยากไปเที่ยวพืชสวนโลกแต่ก็ทราบกันว่าร้อน เดินมาก คนเยอะ คนกังวลคืออาปาว่าจะไหวเหรอ (ทั้งๆที่คุณแม่ไม่มีโรคประจำตัวค่ะ)

เช้านั้นก็เลยวัดความดันโลหิต (ทั้งๆที่ไม่จำเป็นเลยในทางการแพทย์) แล้วบอกท่านว่า สบายมากไปได้ เหนื่อยก็พัก ตามใจเสียงร่างกายตัวเองก็แล้วกันค่ะ

คำว่า "สบายมาก" นั้น ทำให้ทั้งท่านและอาปามีความสุขกับการชมพืชสวนโลกค่ะ

 

ชอบเรื่องหมีกับนกค่ะ คุณครูมหัศจรรย์ ขอบคุณค่ะ

นึกเห็นภาพเด็กๆ คงน่ารักมาก ...

ขอบคุณค่ะ คุณจตุพร

สมัยดึกดำบรรพ์ มนุษย์เราก็พัฒนาตัวเองจะการหัดตั้งคำถามและหาคำตอบ เมื่อตั้งกลุ่มมากขึ้นๆ ก็เริ่มมีการตีกรอบคำพูดคนอื่น จนเกิดการใช้อำนาจด้วยภาษา ติดป้ายว่าผู้ที่พูด"ภาษา"ที่แตกต่างและพูดให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ คือคนขาดปัญญา จนทำให้เกิดการขยายอาณานิคมด้วยอิทธิพลของภาษา

การขยายอาณานิคมจากสภาพของการใช้กำลังในอดีตเลื่อนไหลเป็นกระบวนการขยายด้วยภาษาที่ซึมผ่านมาทางวัฒนธรรมการเป็นอยู่ การค้า การจัดการศึกษา บวกกับการเขียนประวัติศาสตร์โดยกลุ่มคนที่มีอำนาจทางการปกครอง ทำให้เกิดการยอมรับต่อการใช้อำนาจและความต้องการได้มาซึ่งอำนาจโดยไม่รู้ตัว

ดิฉันเชื่อว่า การใช้อำนาจผ่านทางภาษา ยังคงมีอยู่ และยังเห็นตัวอย่างได้ชัดเจน แม้ในปัจจุบันนี้ จะมีการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นและหลากหลาย แต่อิทธิพลของภาษาและคำ ยังสร้างเงื่อนไขให้คนศิโรราบ ผ่านทั้งทางระบบการศึกษา และนอกระบบการศึกษา

การใช้อำนาจด้วยภาษา ไม่จำเป็นต้องมาจากผู้ปกครองแต่เพียงฝ่ายเดียว การใช้อำนาจด้วยการบีบบังคับให้ผู้อื่นเลือก เลิก หรือ ใช้-ไม่ใช้ คำ ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลทางการเมือง เหตุผลอื่นใดก็ตาม ก็เป็นแค่ข้ออ้างเพื่อจะหาความชอบธรรมในการใช้อำนาจต่อผู้อื่น

ดิฉันมีความเชื่อส่วนตัวอันเป็นปรัชญาของแพลนเนต คือการมีอิสระทางปัญญา โดยสิ่งหนึ่งที่พยายามทำคือการปลดแอกตัวเองการใช้อำนาจผ่านทางคำที่ใช้ค่ะ

จุดยืนไม่เคยเปลี่ยนค่ะ แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่น้อมรับฟังและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้นค่ะ

ขอบคุณค่ะ

"หากเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ถูก

จงลุกขึ้น"ประกาศ"ก้อง

หากมีความเชื่อที่ในสิ่งที่ตนเชื่อ

จงขอพรจากความดีที่ตนทำ

แล้วน้อมนำ "สิ่งที่เป็นจุดยืนนั้น"

ด้วยความเคารพยิ่ง

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท