​อุตสาหกรรมเรือนจำเอกชน การแข่งขัน และ การแก้ไขฟื้นฟู (Race, Rehabilitation, and the Private Prison Industry)


แรงจูงใจของเรือนจำเอกชน คือ กำไร ในขณะที่ไม่มีแรงจูงใจในการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ....................

อุตสาหกรรมเรือนจำเอกชน การแข่งขัน และ การแก้ไขฟื้นฟู ข้อมูลโดยสังเขป จากรายงานวิจัยในการศึกระดับปริญญาเอกของลิซ่า เวด (Lisa Wade) อาจารย์มหาวิทยาลัย อ็อกซิเดลทัล ๒๕ มกราคม ๒๐๑๓ ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://thesocietypages.org/socimages/2013/01/25/r... พบว่า เรือนจำเอกชนเริ่มดำเนินการในสหรัฐอเมริกา ในปี ๑๙๘๔ มีอัตราการขยายตัวของนักโทษ ในเรือนจำเอกชนระหว่างปี ๑๙๙๐ - ๒๐๐๙ ในอัตราร้อยละ ๑,๖๖๔ มีปริมาณนักโทษประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ คน ถูกจองจำอยู่ใน ๒ กลุ่มเรือนจำเอกชนใหญ่ๆ คือ กลุ่มบริษัท Corporation of America และ กลุ่ม GEO ที่มีเงินทุนหมุนเวียนสูงถึง ๓,๐๐๐ ล้านดอลล่าสหรัฐ

ด้านแรงจูงใจในการเพิ่มจำนวนนักโทษของบริษัทเรือนจำเอกชน คือ กำไร โดยมีกฎหมายรองรับการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น ผ่านการพิจารณคดีที่มีโทษจำคุกมากขึ้น และ มีการพักการลงโทษน้อยลง ในขณะที่ไม่มีแรงจูงใจในการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ เพราะการกระทำเช่นนั้นนอกจากจะมีต้นทุนสูงแล้งยังเป็นการลดกำไรของบริษัท และ ยังตัดโอกาสในการที่ผู้พ้นโทษจะกลับเข้ามาจำคุกอีก ดังนั้น เรือนจำของรัฐจึงมีแนวโน้มในการจัดทำโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูมากกว่าเรือนจำเอกชน ทั้งด้านการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยายา การแก้ไขปัญหายาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ การฝึกอบรมความรู้ ทักษะ อาชีพ ฯลฯ

ด้านผลการดำเนินงาน ประโยชน์ที่ครอบครัว สังคม และ ประเทศได้รับ เห็นว่า ระบบอุตสาหกรรมเรือนจำเอกชน เป็นระบบที่ผิดขนบธรรมเนียม ประเพณี อย่างรุนแรง และ เรือนจำเอกชน เป็นเพียงสถานที่คุมขังสำหรับชนกลุ่มน้อย ที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ และ ผู้อพยพ มากกว่าการคุมขังชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดย พบว่า ในรัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐเท็กซัส และ รัฐแอริโซนา มีอัตราส่วนของชนกลุ่มน้อยที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ และ ผู้อพยพ ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเอกชนในอัตรามากกว่าร้อยละ ๑๒ ซึ่งอาจแปลความได้ว่ารัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ยังคงมีความพยายามที่จะเพิ่มปริมาณประชากรคุก มีลักษณะเป็นการควบคุมสัดส่วนประชากรคุกบางประเภท เช่น ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธ์ และ ผู้อพยพ (Petrella) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำไรของบริษัทเรือนจำเอกชน (disinvestment)


................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙


อ้างอิง

ลิซ่า เวด (Lisa Wade) อาจารย์มหาวิทยาลัย อ็อกซิเดลทัล ๒๕ มกราคม ๒๐๑๓ ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://thesocietypages.org/socimages/2013/01/25/r...



หมายเลขบันทึก: 606820เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2016 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณอาจารย์ต้น มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผมด้วยดีตลอดมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท