การปฏิรูปการศึกษาไทย (ตอนที่ ๕)


ผมคิดว่าทั้งปรัชญาและวิธีการให้การศึกษาของไทยนั้นผิดพลาด ทำให้เราได้ผลลัพท์คือคนที่ไม่มีคุณภาพและอ่อนแอ เป็นปัญหาหรือกับดักของเรื่องอื่นๆ ทุกเรื่อง รวมทั้งเรื่องที่ทำให้ประเทศไทยติดกับดักในทางเศรษฐกิจด้วย

ตราบใดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนปรัชญาการศึกษาไทย (ซึ่งไม่เขียนไว้แต่เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไป) ว่า 'การศึกษาไทย คือ การยัดเยียดข้อมูลและความรู้ใส่หัวคน สอบแข่งขันกันเข้าโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และเร่งผลิตคนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ' ให้เป็น 'การศึกษาคือการพัฒนาชีวิตคนไทย ให้ช่วยเหลือตัวเองได้ มีสัมมาอาชีพ มีความอยู่เย็นเป็นสุขของตนเอง ครอบครัวและสังคม' ก็คงจะยังไม่ใช่การปฏิรูป แต่คงเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการเท่านั้น

ปรัชญาและวิธีการจัดการศึกษาที่ผิดพลาดทำให้ระบบการศึกษาอ่อนแอและทำให้คุณภาพของคนไทยตกต่ำลงอย่างที่เป็นมาและเป็นอยู่

ปรัชญาการศึกษาในที่นี้ หมายถึงแก่นหรือหลักความคิด ซึ่งเป็นหัวใจของระบบการศึกษาของไทย เพื่อที่เราจะตอบคำถามว่า ประเทศไทยจัดการศึกษาเพื่ออะไร หรือระบบการศึกษาของไทยมีไว้เพื่ออะไร

เพื่อพัฒนาคน หรือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งสองอย่างหรือหลายอย่าง เราให้ความสำคัญกับอะไรเป็นหลัก และวิธีการให้การศึกษาในระบบการศึกษาของไทย บรรลุตามปรัชญาและเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นหรือไม่

ผมคิดว่าทั้งปรัชญาและวิธีการให้การศึกษาของไทยนั้นผิดพลาด ทำให้เราได้ผลลัพท์คือคนที่ไม่มีคุณภาพและอ่อนแอ เป็นปัญหาหรือกับดักของเรื่องอื่นๆ ทุกเรื่อง รวมทั้งเรื่องที่ทำให้ประเทศไทยติดกับดักในทางเศรษฐกิจด้วย

หมายเลขบันทึก: 606374เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2016 01:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท