CADL_KM-GE_๕๙-๐๒ : เรียนรู้วิธีจับประเด็นจาก รศ.ดร.จิตเจริญ ไชยาคำ (ปราชญ์ JJ) (๕) "ALR"


บันทึกที่ (๑) บันทึกที่ (๒)บันทึกที่ (๓)บันทึกที่ (๔)

กิจกรรมที่ ๕ Dialogue สุนทรียะสนทนา

ตอนสนทนาระหว่างทานอาหารกลางวัน ผมตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาสำคัญของการจับประเด็น แลกเปลี่ยนของกลุ่ม น่าจะอยู่ที่ "การฟัง" ต่อมาจึงสรุปกันว่า บุคลากรน่าจะได้เรียนรู้เรื่อง สุนทรียสนทนา ภาคปฏบัติ

วิธีการคือแจกกระดาษ A4 ให้วาดภาพตัวตนเจ้าของ หรือภาพที่แสดงถึงเรื่องราวในชีวิต -> แล้วให้จับคู่สลับกันเล่าเรื่องราวของตนให้เพื่อนคนสนิทฟังก่อน -> จับกลุ่มสนทนาโดยกำหนดว่าผู้ฟัง ฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสิน ไม่ถามแทรก ผู้พูดต้องมี magic stick ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปากกา 1 ด้าม โดยมีกติกาว่า จะพูดต้องหยิบปากกา หากไม่มีปากกาจะไม่พูด

เคล็ดวิชาเกี่ยวกับ KM ที่จะหาจากใครไม่ได้ นอกจาก อ. JJ คือ กระบวนการ Reflection หรือสะท้อนการเรียนรู้ทั้งสำหรับผู้ทำและผู้นำ ซึ่งประกอบด้วย

  • AAR (After Action Review) เน้นไปที่เป้าหมายของการทำ.... เมื่อเทียบกับเป้าหมาย ตัวท่านได้มากกว่าหรือน้อยกว่า เพราะอะไร?.....
  • ALR (After Learning Review) เน้นมาที่การเรียนรู้ของผู้ทำ ... คำถามคือ ตัวท่านได้เรียนรู้อะไร?...
  • Passion Plan เน้นไปที่ความอยาก ความชอบ ความไคร่ที่จะทำอะไรต่อไป ... คำถามคือ จะนำไปทำอะไรต่อ?...
  • Feedback และ Suggestion สำหรับผู้นำกระบวนการ ... ท่านถามว่า จะเสนอแนะอะไรเพื่อพัฒนา อ. JJ





ขอจบบันทึก ๕ ท่อนไว้ตอนนี้เลยครับ ... ไว้ได้เรียนรู้อะไรจากท่าน อ.JJ อีก จะมาเขียนต่อครับ

บันทึกที่ (๑) บันทึกที่ (๒)บันทึกที่ (๓)..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/605975

หมายเลขบันทึก: 605995เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2016 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2016 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากค่ะต้องเรียนรู้อีกมากๆค่ะ KM คือท่าน อ.JJ ใช่เลยค่ะ ถ่ายทอดได้สุดยอด คิดถึงอจ.นะคะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท