ครูควรค้นคุณค่าแคร์คนด้วย Studio Classroom


รายวิชากิจกรรมบำบัดจิตสังคมได้รับการคัดเลือกให้ได้ทุนจากม.มหิดลเป็น 1 ใน 14 รายวิชาจากม.มหิดลในโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย... กราบขอบพระคุณท่านคณบดี คณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะกายภาพบำบัด คณาจารย์กิจกรรมบำบัด ท่านผู้บริหารม.มหิดล และท่านวิทยากรโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยทุกท่านมากครับ

Learning Engineer คือบทบาทของอจ.ยุคใหม่ที่เปลี่ยนจาก PowerPoint เป็น VDO 5 นาทีพร้อมการเรียนรู้นอกห้องเรียนแบบ Small Private Online Course หรือ SPOC จนถึงMOOC หรือ Mass Open Online Course ซึ่งวงการการศึกษาทั่วโลกกำลังตื่นด้วยเป็นกลยุทธ์ที่พบจุดสมดุลระหว่างต้นทุนการศึกษาที่ต่ำกับคุณภาพของผู้เรียนที่สูง สร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาทำให้เกิดความน่าสนใจในกลุ่มผู้เรียนยุคใหม่และผู้ที่สำเร็จการศึกษาแบบเดิม (บรรยายยืดยาวตามตำรา ปฏิบัติแห้งในห้องเรียน ขาดการถ่ายทอดประสบการณ์จริงที่จับต้องได้ ขาดการเรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำ ขาดการลองผิดลองถูกซ้ำๆ ขาดการเพิ่มโอกาสเรียนรู้สถานการณ์ชีวิตจริงนอกห้องเรียน) จนมาถึงการปฏิรูปนวัตกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานหรือ Blended Learning ระหว่างห้องเรียนกลับทาง หรือ Flipped Classroom กับห้องเรียนสนุกสนานแบบ Studio Classroom ซึ่งอาจารย์ต้องปรับเพิ่มบทบาทเป็น Active Learning Actor

ผมขอบพระคุณพี่ไอ๊ซ พี่ณัฐ อ.เดียร์ และอ.ป๊อป ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมกัลยาณมิตรและวิทยากรโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยร่วมกับฝ่ายการศึกษาม.มหิดล ในวันที่ 2-4 พ.ค.ที่ผ่านมา

จากสถิติ 2012 มหาวิทยาลัยในประเทศไทย 150 สถาบัน ดูแลนศ. 1 ล้านคน จบออกมาเป็นบัณฑิต 3-5 ล้านคนที่คงเป็นมนุษย์เงินเดือน แต่ยังมีอีก 32 ล้านคนที่ไม่มีวุฒิการศึกษาและประกอบอาชีพอิสระที่ไม่ตรงกับวุฒิการศึกษาที่จบออกมา ทำให้แผนอุดมศึกษาปี 2551-2565 เน้นการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพที่ตรงต่อความต้องการและทัศนคติแห่งการพัฒนาตนเองให้เกิดศักยภาพทางการเรียนรู้มากขึ้น...การเรียนรู้ที่เปิดกว้างและนำมาสะสมชั่วโมงเทียบเท่าหน่วยกิตและประเมินผลสู่การสำเร็จวุฒิการศึกษาที่ตรงใจผู้เรียนและผู้จ้างงานต่อไปในปัจจุบัน

ตัวอย่าง MOOC ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ Coursera และ edX ประเทศมาเลเซียก็ประกาศนำร่องก่อนใครในอาเซียน ประเทศญี่ปุ่นกับไต้หวันก็ได้ริเริ่มไปแล้วในเอเซีย ส่วนประเทศไทยก็เพิ่มเริ่มพัฒนามากขึ้นในทุกระดับการศึกษา คลิกที่นี่

ความสำเร็จของ Online Course เหล่านี้ เช่น ใช้คลิป 3-5 นาทีเป็นเรื่องเล่า การนำเสนอข่าว การใช้ Metaphor/Analogy (สัญลักษณ์หรือคำสำคัญ) การแสดงละคร การใช้ภาษาท่าทาย สอนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย การมีบทพูดที่สั้นกระชับ การสาธิตที่มีลีลาผ่อนคลาย การมีช่องทางสื่อสารออนไลน์ลูกเล่นหลากหลายแบบ Problem-Based Learning (PBL) และต่อเนื่อง มีเวลาให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองอย่างยืดหยุ่นพร้อมฝึกทักษะการทำงานด้วยความรับผิดชอบ พร้อมมีการสร้างคำถามและการประเมินผลที่สนุกสนาน มีการนัดหมายมาพบกันในชั้นเรียนเพื่อสัมมนาจนถึงการฝึกทักษะปฏิบัติที่สำคัญ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีกระบวนการทำงานเป็นทีมระหว่างอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชานั้นๆ ผู้เชี่ยวชาญหัวข้อต่างๆ นักเทคโนโลยีสื่อการศึกษา ฯลฯ ด้วย ADDIE MODEL และศึกษาตัวอย่าง Online Course ที่ดีที่สุดบนโลกนี้ได้ที่นี่

นอกจากนี้ยังมีสื่อการเรียนรู้ที่ Clear Open & Present เปิดกว้าง ชัดเจน และปรับปรุงจนเป็นปัจจุบัน เรียกว่า OER หรือ Open Educational Resources ทำให้ผู้เรียนูรู้สืบค้นปัญญาได้อย่างแท้จริง เช่น Merlow ซึ่งอาจารย์นำมาแปลและใช้ในห้องเรียนโดยไม่ต้องกังวลลิขสิทธิ์ ... หนังสือที่อาจารย์น่าจะสนใจอ่านเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นครูแห่งศตวรรษใหม่ เช่น Teaching in a Digital Age โดยดาว์นโหลดฟรีที่นี่

หมายเลขบันทึก: 605987เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2016 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2016 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

น่าสนใจมากๆค่ะจะตามไปศึกษาในลิงค์นะคะ

ขอบพระคุณมากครับอ.เพ็ญศรี และ อ.ต้น

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋ พี่อ.ดร.ธวัชชัย อ.วินัย และดร.เมธา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท