แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจีนและแนวทางการปรับตัวของธุรกิจไทย



ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทย-จีน

2.1 ด้านการค้า

การค้าระหว่างไทยกับจีนได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ภายในปี 2554
การค้าทวิภาคีมีมูลค่า 64,737 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 22.3 โดยแยกเป็นจีนส่งออกมาไทยมูลค่า 25,697 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากไทยมูลค่า 39,040 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับจีน 13,343 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จีนเป็นตลาดส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกชนิดของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อไป โดยเฉพาะสินค้าประเภทวัตถุดิบ พลังงาน เคมีภัณฑ์ และสินค้าเกษตร

2.2 การลงทุน

การลงทุนระหว่างไทยกับจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ตั้งแต่ปี 2554 จีนกลายเป็นประเทศที่มีการลงทุนในไทยมากที่สุดอันดับที่ 2 รองลงจากญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่แล้วลงทุนที่วงการพลังงาน อาืืทิ เอทอนอล พลังงานแสนอาทิตย์ พลังงานลมเป็นต้น มูลค่าการลงทุนในไทยของจีนมีประมาณ 811 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนสะสมของจีนในไทย(2548-2554)มีมูลค่าประมาณ 2,738 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในปี 2554 การลงทุนของไทยในจีนมีมูลค่า 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร ป่าไม้ อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร เป็นต้น การลงทุนสะสมของไทยในจีน(2548-2554)มีมูลค่า 3,419 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศเป้าหมายที่นักลงทุนจีนให้ความสนใจเป็นอันดับแรกอันเนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และความคล้ายคลึงของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมระหว่างกัน ซึ่งไทยมีความได้เปรียบและจุดเด่นในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในอันที่จะทำหน้าที่เป็นประตูสำหรับจีนไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

2.3 การท่องเที่ยว

คนจีนมีรายได้สูงขึ้น และรัฐบาลจีนเริ่มที่จะอนุญาตให้คนจีนเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น โดยประเทศไทยมีที่ตั้งที่เหมาะสมในการรองรับการหลั่งไหลของคนจีนที่จะไปท่องเที่ยวต่างประเทศ

ตลาดนักท่องเที่ยวจีนเป็นตลาดที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทย เมื่อปี 2554(ม.ค.-พ.ย.) มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปประเทศไทยประมาณ 1,571,294 คน และภายในครึ่งปีแรกปี 2555 มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปไทยประมาณ 1,124,234 คน ซึ่งครองสัดส่วนร้อยละ 10.7 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทย นักท่องเที่ยวจากจีนไปไทยมากที่สุด ส่วนนักท่องเที่ยวไทยมาจีน(ม.ค.-ก.ย.2554)จำนวน 452,800 คน

ไทยกับจีนมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ และเชื้อชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ประชาชนของทั้งสองประเทศมีความเข้าใจพื้นฐานที่ดีระหว่างกัน ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวไทยมีความสะดวดสบายสำหรับนักท่องเที่ยวจีน

การดำเนินงานเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน


ในปี 2553 เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนได้มีผลบังคับใช้ซึ่งเกิดการหลั่งไหลและเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อด้านการค้า การลงทุน การเดินทาง การคมนาคมต่าง ๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน กับไทยด้วยการอย่างของสินค้าจากจีนสู่ไทยและต่อไปยังภูมิภาคอาเซียน



ปัจจุบันจีนได้สร้างเส้นทางเชื่อมโยงไทย และตอนใต้ของจีนโดยการคมนาคมประกอบด้วย

  1. การเดินทางทางบกด้วยเส้นทาง R3A ระหว่างเชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อหาร-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,104 กม.) เส้นทาง R3B ระหว่างแม่สาย-เชียงตุง-เมืองลา-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,053 กม.) และเส้นทาง R9 ที่ขนส่งผ่านทางบกตลอดเส้นทาง ลำเลียงผลไม้จากประเทศไทย (จังหวัดมุกดาหาร) – ผ่านประเทศลาว (สะหวันนะเขต-แดนสะหวัน) – ประเทศเวียดนาม (ลาวบ๋าว-ฮาติน-เถื่อนฮว่า-ฮานอย-หลั่งเซิน) เข้าสู่ด่านโหย่วอี้กวน (ผิงเสียง) เขตปกครองตนเองกวางสี ประเทศจีน และขนส่งถึงตลาดซินฟาตี้ กรุงปักกิ่ง (รวม 2,031 กม.)
  2. การเดินทางทางน้ำ ระหว่างจิ่งหง-กวนเหล่ย-เชียงแสน (รวม 344 กม.)
  3. การเดินทางทางอากาศ ระหว่างกรุงเทพฯ-คุนหมิงและกรุงเทพฯ-จิ่งหง
  4. การเดินทางทางรถไฟ

ไทยสามารถใช้ข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปี 2553 เช่น การส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านคมนาคม การเป็นแหล่งป้อนพลังงานให้กับจีน เช่น ท่อส่งน้ำมัน วัตถุเชื้อเพลิง การเป็นศูนย์กลางด้าน logistic และการบริการ เป็นต้น



เขตเศรษฐกิจทั้ง 3 เขตข้างต้นเป็น powerhouse ของการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีน โดยเป็นแหล่งรวมตัวกันของนักลงทุนต่างชาติ มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูง และรวดเร็วกว่าเขตอื่นของประเทศหลายเท่าตัว จึงทำให้ความเจริญทางเศรษฐกิจของจีนกระจุกตัวในเขตดังกล่าว หรือบริเวณใกล้เคียง



บริษัทจีนที่มีศักยภาพที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจ (State Owned Enterprises: SOEs)

หมายเลขบันทึก: 605825เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2016 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2016 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท