ผิดได้แต่อย่าพลาด


เราเข้าใจคำว่าผิดกับคำว่าพลาดอย่างไร

  • ในชีวิตของเราเป็นชีวิตแห่งการเรียนรู้ ชีวิตแห่งการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดคงเดิมคงสภาพ
    แน่นอนว่าคำตอบของการเรียนรู้หรือทดลองจะมีเพียงแค่ 2 คำตอบเท่านั้น
    คือ รู้กับไม่รู้เท่านั้น อาจจะรู้หรืออาจจะไม่รู้นั้นไม่มี
  • ผมจึงชอบประโยคการเรียนรู้ของผมว่า ในโลกนี้ไม่มีคนโง่คนฉลาด
    มีแต่คนรู้ก่อนกับรู้ทีหลังเท่านั้น
  • เป็นเรื่องน่าแปลกที่คนประสบความสำเร็จมักจะเป็นคนที่โง่มาก่อนทั้งสิ้น
    แต่พวกเขาเหล่านั้นไม่เคยยอมรับความพ่ายแพ้ต่อความไม่รู้ของตนเอง
    กลับพัฒนาตนเอง พัฒนาความไม่รู้ให้เป็นคนที่รู้ก่อนเสมอ
  • เมื่อมีคนโง่คนฉลาดย่อมจะต้องมีคนผิดพลาด และคนที่ประสบผลสำเร็จ
    คำว่า ผิดพลาดนั้นมีการพูดถึงบ่อยครั้งมาก
    บ้างก็ว่าผิดแต่อย่าพลาด บ้างก็ว่าพลาดแต่อย่าผิด
    บ้างก็ว่าจงอย่าผิดและอย่าพลาด
  • ก่อนอื่น ผมขออธิบายให้ท่านผู้อ่านเข้าใจโดยจะยกตัวอย่างจากที่ผมสอนผมบรรยายนะครับ

  • ผมจะชอบถามคำถามง่ายๆเกี่ยวกับอาเซียนว่า เลขาธิการอาเซียนคนไทยคนแรกคือใคร
    นิสัยคนไทยทุกที่ที่ผมบรรยายคือ เงียบ การเงียบจึงถือเป็นการแสดงออกถึงความเป็นกลางระหว่างการไม่รู้และรู้
    และเมื่อเวลาผ่านไปไม่นานจะมีผู้อาจหาญตอบเบา ๆ ว่า ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
    ผมจะตอบกระแทกกลับไปว่า ผิด
    และถามชื่อผู้ตอบเพื่ออธิบายให้คนไทยได้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของตนเองเสียใหม่ว่า
    ที่เขาตอบผิด เขาตอบอยู่คนเดียว เปรียบได้กลับคนทั้งห้องนั่งเฉย แต่เขาทำงาน
    และเมื่อเขาทำผิด สิ่งที่คนไทยตอบแทนเขาคือ การหัวเราะเยาะ
    แท้จริงแล้ว เขาตอบผิดเพราะเขาทำงานใช่หรือไม่
    แต่คนนิ่งเฉยไม่ตอบกลับหัวเราะเยาะเขา
    เหตุใด เราไม่ปรบมือให้เขา เราทุกคนควรปรบมือในการทำงานของเขามากกว่า และทุกคนจะปรบมือให้กับผู้ตอบผิดคนนั้น
  • สังคมไทยจะหัวเราะเยาะคนที่ผิด แต่กลับนิ่งดูดายกับการทำงาน การพยายามพัฒนาตนเอง จริงไหมครับ
    การที่เขาตอบว่า ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เพราะเขารู้มาเท่านั้น
    แท้จริงเลขาธิการอาเซียนคนไทยคนแรกมีนามว่า นายแผน วรรณเมธี อดีตปลีดกระทรวงการต่างประเทศ
    ที่ผมตอบได้ ผมรู้ก่อนเท่านั้น ไม่ใช่เพราะผมฉลาดมากกว่าผู้เข้ารับการอบรม ผมแค่รู้ก่อนเท่านั้นเองดังนั้น
  • การที่มีคนตอบผิด เขาผิดเพราะเขาทำงาน เราจึงควรให้อภัยแก่เขา
    แต่ถ้าหากว่า เขายังผิดในเรื่องเดิมๆอยู่นั่นแสดงว่า เขาพลาดครับ
    เช่น ถ้ามีคนถามเขาด้วยคำถามเดิมว่า เลขาธิการอาเซียนคนไทยคนแรกคือใคร
    และเขายังคงตอบว่า ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณเป็นครั้งที่ 2 นั่นไม่เรียกว่า ผิด แล้วนะครับ
    แต่นั่นเรียกว่า พลาด ดังนั้น คำว่า พลาด คือ ผิดในเรื่องเดิม ๆ หรือโง่ในเรื่องที่เรารู้แล้วนั่นเอง
  • ส่วนคำกล่าวที่ว่า จงอย่าผิดและอย่าพลาด
    คำกล่าวนี้ ไม่น่าจะเป็นจริงสำหรับมนุษย์เดินดินกินข้าวแกงอย่างพวกเรา
    เพราะการจะไม่ผิดและไม่พลาดนั่นคือ อาการกริยาของคนที่ตายแล้วมากกว่า ไม่มีใครในโลกนี้ไม่เคยผิด
    แต่เมื่อผิดแล้วก็ควรจะได้บทเรียนการเรียนรู้มาเป็นอุทาหรณ์เตือนใจไม่ให้ผิดอีก
    เพราะหากว่าผิดอีก นั่นหมายถึงสิ่งที่เรียกว่า พลาด
    อาทิ กลุ่มตัวอย่างงานวิจัยเป็นนักศึกษาอายุ 17 ปี ทำแท้งมา 5 ครั้งจากการมีอะไรกับแฟน 5 คน แบบนี้ ไม่เรียกว่าผิด
    เพราะผิดมาทั้งหมด 5 ครั้ง แบบนี้เรียกว่า พลาด ประมาทกับชีวิต เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 605714เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2016 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2016 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาเยี่ยม คิดฮอด ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท