ขึ้นค่าแรงไป แล้วโดนโจมตีค่าเงิน ก็ได้ค่าแรง มูลค่าเท่าเดิม ค่าเงิน(อัตราแลกเปลียน) สำคัญ กว่าค่าแรง


ขึ้นค่าแรงไป แล้วโดนโจมตีค่าเงิน ก็ได้ค่าแรง มูลค่าเท่าเดิม ค่าเงิน(อัตราแลกเปลียน) สำคัญ กว่าค่าแรง


แต่เดิมวันแรงงาน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า “เมย์เดย์” เป็นวันเริ่มต้นการเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ ที่เกษตรกรในประเทศแถบยุโรปจะหยุดงาน เพื่อจัดพิธีเฉลิมฉลองและบวงสรวงเทพเจ้าแห่งการเกษตรต่อมาไม่นานเมื่อเศรษฐกิจหลักของประเทศพัฒนา เปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม ประเพณีวันหยุดประจำปีจึงถูกยกเลิก ขณะที่แรงงานมนุษย์ถูกมองเสมือนเครื่องจักรประเภทหนึ่ง ที่ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 10-16 ชั่วโมง ในสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่ ด้วยเหตุนี้ประชาชนในสหราชอาณาจักรจึงเริ่มเรียกร้องการปรับปรุงเวลา และเงื่อนไขการทำงาน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “วันแปดชั่วโมง” หรือ “Eight-hour day” ในปี พ.ศ. 2360

วันแรงงานเดิมสันนิษฐานว่าคล้ายกับวันแรกนาของไทย

ตอนน้ำท่วมยังจำได้ว่า บริษัทรถยนต์ไปใช้สถานที่ลุ่มชุ่มน้ำราคาถูกแถวอยุธยา ทำโรงงานผลิตรถยนต์ ทั้งยังได้แรงงานราคาถูกจิตใจดี จากภาคเกษตรไปมากด้วย เพียงเพราะต้องการเงินต้องการ GDP ของประเทศให้เติบโตไม่รู้จะไปแข่งกับใคร ประเทศไทยเราสมบูรณ์มีพอกินพอใช้ จะเอาเงินไปไหนทำให้ความสุขลดลง สังคมเกษตรเปลียนเป็นสังคมโรงงาน

http://lifestyle.campus-star.com/knowledge/22168.h...
2รัฐใหญ่สหรัฐขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ปรับเป็น 15 ดอลล์ต่อชม. สูงสุดในประเทศ

ผู้ว่าการสองรัฐใหญ่ของสหรัฐอย่างแคลิฟอร์เนียและนิวยอร์ก ลงนามกฎหมายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 15 ดอลลาร์ หรือราว 512 บาทต่อชั่วโมง หวังเพิ่มรายได้ให้กับแรงงานหลายล้านคน

ความเคลื่อนไหวนี้จะทำให้รัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐนิวยอร์กมีค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุดในสหรัฐและยังเทียบเท่ากับอัตราสูงสุดของประเทศร่ำรวยบางประเทศของโลก อย่างไรก็ตาม ทั้งสองรัฐจะทยอยปรับขึ้นค่าแรงเพื่อให้เวลาภาคธุรกิจปรับตัว

USA นิวยอร์ค แคลิฟอเนีย ชั่วโมงละ 512 บาท วันละ 8 ชั่วโมง ตกวันละ 6096 บาทเอง
จะต้องขอขึ้นค่าแรงกันอีกกี่ชาติถึงจะได้วันละ 6,000 บาท

http://www.dailynews.co.th/foreign/389917

สมมุติฐานของผู้เขียน
อัตราแลกเปลี่ยน

25 บาท ต่อดอลล่าร์ มีป่าชุุ่มชื้น ข้าวเปลือกเกวียนละ 1 บาท (ทอง)
40 บาท ต่อดอลล่าร์ ป่าหมดเหลือแต่ภูเขา ส่งออกได้มากมาย ข้าวเปลือกราคา 3 เกวียน 1 บาท (ทอง)
100 บาท ต่อดอลล่าร์ ภูเขากลายเป็นที่ราบ เพราะส่งออกได้ดีขึ้นมากมาย GNP สูงสุด ๆ อะไร ๆ ของประเทศไทยก็ขายได้ รวยกันไม่รู้เรื่อง ทรัพยากรของลูกหลานหมดไปไม่เหลือหรอ ความหลากหลายทางชีวภาพ(ฺ Biodiversity) ไม่เหลือหรอ โดนซื้อไปในราคาถูก ๆ ตามตำราเศรษฐศาสตร์ที่พร่ำสอนมา

ไม่แน่ใจว่า อีก 10 ปีข้างหน้า ค่าเงินจะเป็น 10 บาทต่อดอลล่าร์ หรือ 100 บาทต่อดอลล่าร์
ถ้า 10 บาท ต่อดอลล่าร์ ค่าแรง 300 บาท เท่ากับ 30 เหรียญต่อวัน
ถ้า 100 บาท ต่อดอลล่าร์ ค่าแรง 300 บาท เท่ากับ 3 เหรียญต่อวัน


ประมงขายอาหารขายปลา สร้างอาหารให้ชาวโลกโดนติดตาม ว่ามีแรงงานทาส ค้ามนุษย์ คงเพราะไปจับปลาน่านน้ำสากลมาขายมาก เพราะคนไทยจับปลาเก่งไม่น้อยหน้าชาติไดในโลก

ปิโตรเลียม ทอง เหมืองแร่ ยางพารา ฯลฯ ไม่เห็นติดตามว่ามีแรงงานทาส ค้ามนุษย์เลย แปลกดี ก็เค้ามาซื้อเราไปถูก ๆ ถ้ายังไม่ถูกก็โจมตีค่าเงินให้เป็นสัก 200 บาทต่อดอลล่าร์ เค้าก็มาซื้อทรัพยากรของคนไทยได้ถูกโขเลย ค่าแรงสัก 500 บาท ต่อวันก็ไม่มีผล เพราะเท่ากับ 2.5 เหรียญต่อวัน


ตกลงไทยเป็นแรงงานทาสกันทั้งประเทศรึเปล่านี่ ค่าแรงไม่พอใช้ เงินเดือนใช้หนี่้ โอทีซื้อข้าวกิน ตามค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ

เปลียนกลับมาทำการเกษตรอุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูปเพื่อความมั่นคงทางอาหารของชาวโลกกันดีกว่า
อาหารความยืดหยุ่นต่ำ (price elasticity of demand) เมื่อหิวยังไงก็ต้องกิน ราคาเท่าไรก็กินเพื่อให้หายหิว

คนในโลกโดยรวม เกิดกันมากมาย อาหารไม่พอ ราคาอาหารจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ

ราคาอาหารจะสูงขึ้น เปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมอาหาร

ผู้ซื้อจะต้องใช้การบริหารจัดการด้าน demand chain จากผู้ซื้อจะมีความสำคัญยิ่งขึ้น

สรุป

จะประท้วงขึ้นค่าแรงกันไปทั้งชาติ ค่าแรงขั้นต่ำต่อวันก็คงไม่เท่านิวยอร์ค คือ 6,096 บาทต่อวัน สู้มาจัดการอัตราการแลกเปลี่ยนให้เหลือสัก 20 บาทต่อดอลล่าร์ แล้วเปลี่ยนมาทำอุตสาหกรรมเกษตรอาหารเตรียมไว้น่ะจะดีกว่า ได้เพิ่มทั้งแรงงานภาคอุตสาหกรรม แรงงานภาคเกษตร แรงงานภาคบริการค่าจ้างขั้นต่ำน่ะ ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นภาพลวงตา คิดดูถ้าได้ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ สัก 1,000 บาท ต่อวัน อัตราแลกเปลี่ยน 100 บาทต่อเหรียญ ก็เท่ากับ วันละ 10 เหรียญต่อวัน เท่ากับ 300 บาทต่อวัน 30 บาทต่อ 1 เหรียญ ก็ 10 เหรียญต่อวันเช่นเดียวกัน


พีระพงศ์ วาระเสน
วันแรงงาน
1 พฤษภาคม 2559







คำสำคัญ (Tags): #ค่าแรง
หมายเลขบันทึก: 605708เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2016 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท