​ดินแดนใต้สายลม



โลกเรานี้กว้างมากถ้ามองคนในโลกตัวเล็กกระจิ๊ดริด ผู้เขียนกำลังพาท่านกระโจนไปดูแผ่นดินแห่งหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่ซอกมุมหนึ่งของโลก แผ่นดินนี้แบ่งเป็น 4 ยุคคือ

1 . ยุคหินเก่า ( Paleolithic Age ) มีอายุประมาณ 5 แสนปี – 1 หมื่นปี ในยุคนี้ นายแพทย์ ยูกิน ดูบัวส์ ( Eugine Dubois ) ชาวฮอแลนด์ ได้สำรวจพบโครงกระดูกคนโบราณ เมื่อ พ.ศ. 2434 ที่ลุ่มแม่น้ำโซโล ตำบลตรีนิล กลางเกาะชวา ถือว่าเป็นกระดูกคนเก่าแก่ที่สุดคือ คนชวา ( Java Man ) สูง 5 ฟุตครึ่ง มันสมองเล็ก รู้จักใช้หินมาทำเป็นเครื่องมือ มีชีวิตอยู่ในยุคน้ำแข็ง

2 . ยุคหินกลาง ( Mesolithic Age ) มีอายุประมาณ 1 หมื่นปี-2500 ปี ) ในยุคนี้เป็นการพบหลายชนเผ่าอพยพตั้งถิ่นอยู่อาศัยตามถ้ำ เพิงผา ตามเกาะแก่งต่าง ๆ เช่น ชนเผ่าเซมัง ชนเผ่าซาไก ชนเผ่าจากุน เป็นต้น คนในยุคนี้พัฒนาตนขึ้นมาอีกละดับดูจากเครื่องมือที่ใช้มีการขุดเรือแคนูเป็นพาหนะ ในถ้ำผีแมน แม่ฮ่องสอน พบขวานหินมีอายุราว 8600 ปีมาแล้ว

3 . ยุคหินใหม่ ( Neolithic Age ) มีอายุประมาณ 2500 ปี-1500 ปี ยุคนี้ได้พัฒนาเครื่องใช้เอากระดูกมาทำเป็นหัวลูกศร หัวหอก ทำเครื่องใช้ ปลูกผัก เลี้ยงหมู ควาย มีความเชื่อวิญญาณแล้ว

4 . ยุคสำริด ( Metal Age ) มีอายุประมาณ 1500 ปีมาจนถึงปัจจุบัน ยุคนี้มีความเคลื่อนย้ายถิ่นของชนเผ่ามากขึ้นมีการปะทะกันของชนเผ่าชาวน้ำกับชนเผ่าชาวเขาและกลุ่มชนเผ่าจากแผ่นดินจีนล่องมาตามสายน้ำทุกสายเช่นแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขง พบกลองมโหระทึกที่ดองซอนในเวียดนาม

การไหลบ่าของคลื่นชนเผ่าต่าง ๆ ได้ไหลลงไปอยู่ตามเกาะแก่งต่าง ๆ และชายฝั่งทะเลจนกลายมาเป็นเผ่าพันธุ์ผู้คนในยุคปัจจุบันอาศัยอยู่ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่กับส่วนที่เป็นเกาะแก่งต่าง ๆ และมี 4 ช่องแคบคือ ช่องแคบมะละกา ( มาเลเซีย-สุมาตรา ) ช่องแคบซุนดา ( ชวา-สุมาตรา ) ช่องแคบลอมบอก ( ลอมบอก-บาหลี ) และช่องแคบมากัสซาร์ ( หมู่เกาะมากัสซาร์ )

สำหรับภาษาของคนบนแผ่นดินนี้มีตระกูลภาษาใหญ่ ๆ อยู่ 3 ภาษาคือ

  • ภาษามลายู – โพลินิเชียน ( Malayo Polynesian ) มีใช้อยู่ในกลุ่มประเทศตอนใต้ปลายแหลมของไทย
  • ภาษาออสโตร- เอเชียติก ( Austro-Asiatic ) มีใชอยู่ในมอญ เขมร เวียดนาม
  • ภาษาทิเบโต-ไชนิส ( Tibeto-Chinese ) มีใช้อยู่ในไทย ลาว พม่า

ดินแดนแถบนี้มีมนต์ขลังเพราะมีกระแสลมมรสุมเวียนมาบรรจบกัน เป็นดินแดนใต้สายลมที่วิเศษมากอาจจะเป็นเพราะมีเกาะแก่งมากหรือไม่ และเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปออสเตรเลียโดยนักเดินเรือชาวยุโรปได้ตั้งชื่อว่า ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia ) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

ดินแดนอุษาคเนย์ แต่สำหรับผู้เขียนชอบที่จะเรียกถิ่นแถบนี้ว่า ดินแดนใต้สายลม

ในบางช่วงมุมคิดผู้เขียนเข้าใจว่าไม่แปลกเลยที่ผู้คนในดินแดนใต้สายลมจะกลายมาเป็นกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีอำนาจในการต่อรองสูงกับกลุ่มประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย เพราะผู้คนในดินแดนแถบนี้ล้วนมาจากชนเผ่าเดียวกันและใช้ตระกูลภาษาใหญ่ ๆ 3 ภาษา และสิ่งน่าคิดต่อยอดคือดินแดนใต้สายลมนี้ถือว่าเป็นแสงแรกแห่งอารยธรรมมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบเคียงกับอารยธรรมหลัก 4 แห่งคือ เมโสโปเตเมีย อียิปต์ สินธุ และฮวงโห เสียด้วยซ้ำ จะบอกให้นะ.

............................

ขอบคุณข้อมูลที่ผู้เขียนใช้เรียบเรียงโปรดอ่านเพิ่มเติมที่บรรณานุกรมนี้

เริงวุติ มิตรสุริยะ.2557 . “อุษาคเนย์” ประวัติศาสตร์อาเซียน ฉบับ

ประชาชน. กรุงเทพ ฯ : ยิปซี .

หมายเลขบันทึก: 605407เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2016 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2016 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท