ปราชญ์/ผู้นำชุมชนในภาคตะวันตก : ศึกษาเกษตรอินทรีย์บ้านหนองฉิม (ครั้งที่8) กลุ่มที่3 หมู่เรียน 57/42


นิ้วล็อค เป็นอาการที่เราได้ยินกันมาเนิ่นนานตั้งแต่เด็กๆ โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นกับบรรดาแม่บ้านทั้งหลายที่ไปจับจ่ายซื้อของในตลาด แล้วเดินกลับบ้านพร้อมกับถุงหิ้วพลาสติกที่บรรจุของหนักๆไว้เต็มอัตรา โดยใช้นิ้วมือเกี่ยวถุงเหล่านั้นไว้ พอเวลาผ่านไปไม่นานนิ้วของเธอก็เริ่มบวมเปล่งจนกลายเป็นอาการนิ้วล็อคในที่สุด อย่างไรก็ตาม คุณเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมแม่บ้านเหล่านั้นถึงเป็นนิ้วล็อคกัน

นิ้วล็อค รักษาอย่างไร
การรักษาโรคนิ้วล็อคมีด้วยกันหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะแนะนำให้คนไข้ใช้มือให้น้อยลง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มือเสียใหม่ หลีกเลี่ยงการนวดหรือดัดนิ้วแรงๆ และอาจมีการรับประทานยาแก้อักเสบร่วมด้วย ไปจนถึงการรักษาด้วยการใช้ยาจำพวกสเตียรอยด์ฉีดเข้าตรงเอ็นบริเวณนั้น
ทั้งนี้ หากอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์อาจจะพิจารณารักษาด้วยวิธีการผ่าตัดนิ้วล็อค โดยกรีดโพรงเอ็นที่หุ้มอยู่ให้เปิดออก ใช้เวลาไม่นาน ไม่กี่วันอาการนิ้วล็อกจะหายเป็นปกติ กระนั้นก็ดี การรักษาด้วยการผ่าตัดอาจก่อให้เกิดพังผืดขึ้นในภายหลังและมีโอกาสกลับมาเป็นโรคนิ้วล็อคได้อีกครั้ง นอกจากวิธีดังกล่าวแล้ว ยังสามารถรักษาโดยแพทย์ทางเลือกด้วย อย่างเช่น วิธีการฝังเข็ม เป็นต้น

แต่คุณลุงมีวิธีที่ดีกว่านั้น

คุณลุงใช้เชือกพลาสติกที่ใช้ทักกระเป๋ามาที่อุปกรณ์รักษานิ้วที่ล็อค

คุณลุงเป็นคนมีความสามารถประดิษฐของที่เหลือใช้ให้มีประโยชน์มากมาย

วีธีการใช้ที่่อุปกรณ์นี่คือ

นำนิ้วเข้าไปสอดในเชือกพลาสติกแล้วก็ดึง มันช่วยดึงนิ้วทำให้นิ้วไม่ล็อค เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องเจ็บตัวอีกด้วย

ทำได้ง่าย ทำได้ด้วยตัวเอง ประหยัดเงินอีกด้วย


หมายเลขบันทึก: 605401เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2016 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2016 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท