เด็กกับมือถือ "เข้าใจผิดหรือจำยอม"


ในชีวิตประจำวันเราคงได้สังเกตพบเด็กเล็กใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์เคลื่อนที่

ดูสื่อทางอินเทอร์เน็ตอย่างชินตา

ผู้ปกครองหลายคนยอมรับการใช้งานของลูกหลานเป็นเรื่องปกติ

บางท่านก็เข้าใจว่าจะส่งเสริมให้ลูกหลานฉลาดทันเพื่อน

ทั้งที่การศึกษาต่างสนับสนุนอย่างแข็งขันว่าสื่อส่งผลเสียต่อพัฒนาการ

การเรียนรู้และศักยภาพอื่นๆของเด็กเล็กในระยะยาว

แต่ผู้ปกครองบางท่านทั้งที่รู้ก็จนใจเพราะขัดใจเด็กไม่ได้และไม่มีทางออกหรือวิธีส่งเสริมเด็กอย่างอื่น

ผมขอโอกาสนี้คัดย่อบทความเรื่อง

สถานการณ์และแนวโน้มด้านสื่อของประเทศไทย ปี 2557 และในอีก 3 ปี (2558-2560) และ 7 ปี ข้างหน้า (สิ้นปี 2564)

โดย สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (Promotion of Healthy Lifestyle) สสส. (อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่)ความว่า


“การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นระบบดิจิตอล ทำให้ เกิดการหลอมรวมของสื่อ

ผู้ประกอบการสื่อมืออาชีพ ประชาชนสามารถเป็นทั้งผู้รับสาร และผู้ส่งสาร ให้ข้อมูล ร่วมผลิตกับสื่อได้โดยง่ายและรวดเร็ว

การสื่อสารไม่สามารถผูกขาด การตรวจสอบโดยหน่วยงานเดียวไม่มีประสิทธิผล”

“คนใช้เวลาเข้าอินเทอร์เน็ตมากขึ้น จำนวนชั่วโมงการเข้าอินเทอร์เน็ต ปี 2556 เท่ากับ 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่สูงขึ้น พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่”

“เด็กในปัจจุบันใช้เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตต่อวันเฉลี่ยสูงถึง 198 นาที สื่อโทรทัศน์วันละ 177 นาที

การใช้เวลาของเด็กที่ใช้ไปกับสื่อซึ่งสูงถึง 8 -9 ชั่วโมงใน 1 วัน”

“เด็กไทยแสวงหาความรู้เรื่องเพศศึกษาเองจากกลุ่มเพื่อน เว็บไซต์ หรือสื่อลามกชนิดต่างๆ

ซึ่งมักชักนำไปสู่ความเข้าใจและค่านิยมผิดๆ

เด็กถึงร้อยละ 29 ยอมรับว่าเคยถูกคุกคามทางเพศจากคนแปลกหน้าที่รู้จักผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์”

“สื่อเป็นธุรกิจในระบบทุนนิยมที่เชื่อมโยงกับธุรกิจโฆษณา ส่งผลต่อค่านิยมการทำศัลยกรรมและใช้ยาลดความอ้วนในเด็ก”

“เด็กและเยาวชนมีโอกาสเข้าถึงสื่อไม่ดีมากกว่าสื่อดี

อุปสรรคสำคัญที่สุด 3 อันดับแรกที่ทำให้เด็ก/เยาวชนไม่ได้นำสื่อไปใช้ให้เกิดประโยชน์

คือ พ่อแม่ไม่ส่งเสริม รองลงมาคือตัวเด็กเองไม่สนใจ และขาดการส่งเสริมจากภาครัฐ/ท้องถิ่น ตามลำดับ”


ขอบคุณภาพประกอบจาก 123rf.com

หมายเลขบันทึก: 605091เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2016 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2016 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผู้ปกครองเองก็น่าเห็นใจเพราะมีข้อจำกัดต่างมากมายในการเลี้ยงดูเด็ก

แต่ควรหาโอกาสทำกิจกรรมอื่นร่วมกับเด็กบ้าง

โดยเฉพาะเด็กเล็ก นิทานช่วยเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างน่าอัศจรรย์ที่เดี่ยว

จากบทความของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์เรื่อง

เล่านิทานกันดีกว่า..อย่าปล่อยให้ลูกติดทีวี ที่นี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท