สักการะพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนผาเมือง ณ เมืองบางขลัง สุโขทัย


พระบรมราชานุสาวรีย์ ๒ พ่อขุน ณ เมืองบางขลัง แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของสุโขทัย

ชาวไทยทุกคนต่างตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของบูรพมหากษัตริย์ที่ได้ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยทำให้พวกเราได้หยัดยืนบนผืนแผ่นดินไทยอย่างมีความสุขตราบเท่าทุกวันนี้เมื่อกองทัพไทยได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ๗ กษัตริย์มหาราชแห่งสยาม ณ อุทยานราชภักดิ์ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ สวยงาม โดดเด่นเป็นสง่า สร้างความเลื่อมใส ศรัทธา ความประทับใจให้แก่ผู้พบเห็น จึงได้เห็นผู้คนหลั่งไหลไปเคารพ สักการบูชา อย่างไม่ขาดสาย กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของประเทศไทย ที่ใครๆ ต่างถวิลหา <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" /> <?xml:namespace prefix = o /> <?xml:namespace prefix = o />

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเราจะพบเห็นอนุสาวรีย์

อนุสรณ์สถานและรูปเคารพเป็นจำนวนมาก หลายแห่งผิดรูปแบบ ไม่ได้สัดส่วน

สถานที่ตั้งไม่เหมาะสม

ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นมานานแล้ว นายอารักษ์ สังหิตกุล

ในสมัยที่เป็นอธิบดีกรมศิลปากร (มติชน

๒๕ มิ.ย. ๒๕๕๐) เผยว่า

มีเป็นจำนวนมากทั้งที่ไม่ขออนุญาตและที่จัดสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต ยังพบว่ามีการสร้างผิดแบบ

ผิดจากหลักโครงสร้างสรีระจริงของมนุษย์

ไม่ได้สัดส่วน และจัดสร้างในสถานที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันกรมศิลปากรก็ยังไม่มีอำนาจไปเอาผิด

สอดคล้องกับงานวิจัยของพักตร์สุภางค์เหลืองธีรกุล (เมษายน ๒๕๕๖) เรื่อง

“ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ อนุสาวรีย์

อนุสรณ์สถานและรูปเคารพ” (ทุน สนง.เลขาธิการวุฒิสภา) พบว่า

มีเพียงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ

และการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นกฎหมายฉบับเดียวที่กำหนดหลักเกณฑ์

การพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต

พิจารณารายละเอียดอื่นๆ

หากผู้สร้างไม่ขออนุญาตก็สร้างได้ เนื่องจากระเบียบดังกล่าวไม่มีสภาพบังคับแก่ผู้ที่ฝ่าฝืน

กรมศิลปากรจึงได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติอนุสาวรีย์แห่งชาติ อนุสาวรีย์

อนุสรณ์สถานและรูปเคารพ พ.ศ..... ต่อรัฐสภา

แต่เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาแล้วยังเห็นว่าไม่มีความจำเป็นในการตราขึ้นมา

สามารถนำกฎหมายอื่นมาปรับใช้แทนได้

พักตร์สุภางค์จึงได้ศึกษากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

พบว่าพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ไม่สามารถนำมาบังคับได้เพราะไม่เข้าลักษณะของโบราณสถาน

โบราณวัตถุ

ไม่ผิดกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒

“ผู้ใดหมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท

หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษ...” หรือมาตรา ๒๐๖

“ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด

อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้นต้องระวางโทษ...”

เนื่องจากหลักของกฎหมายอาญาของผู้กระทำความผิดนั้นต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือโดยประมาทที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด

ซึ่งการสร้างอนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน รูปเคารพของผู้คนทั่วไปส่วนมากเกิดจากศรัทธา

ความเชื่อ และความเลื่อมใส มิได้เกิดจากเจตนาอาฆาตมาดร้าย

ไม่สามารถนำพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร

พ.ศ.๒๕๒๒ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับได้

เพราะเป็นเพียงกฎหมายที่ใช้ควบคุมการก่อสร้างให้มีขนาด

หลักเกณฑ์และวิธีการตามความเหมาะสม

เพื่อให้อาคารมั่นคง แข็งแรง

ปลอดภัยสำหรับใช้สอยอาคารเท่านั้น

ความเป็นมาของการสร้างอนุสาวรีย์

ในอดีตนั้น เมื่อคนไทยเกิดความประทับใจบุคคลหรือวีรกรรมของบุคคล

มักสร้างอนุสาวรีย์เป็นสิ่งก่อสร้างอันเนื่องในพระพุทธศาสนา เช่น การก่อสร้างพระสถูปที่อำเภอดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี

เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการทำสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระมหาอุปราชา

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการติดต่อกับประเทศทางตะวันตกมากขึ้น

ในด้านประติมากรรมไทยเริ่มยอมรับแบบแผนอย่างชาติตะวันตก

เห็นได้จากการที่ รัชกาลที่ ๕

ให้สร้างพระบรมรูป รัชกาลที่ ๑-๔ ขนาดเท่าพระองค์จริง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕

พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกที่สร้างในที่สาธารณะ

และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปสักการะบูชาได้ คือ

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หรือรู้จักกันดีว่า “พระบรมรูปทรงม้า”

การปั้นหล่อรูปเหมือนหรืออนุสาวรีย์เริ่มแพร่หลายในประเทศไทยสมัย ร.๖

โดยมี ศ.ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้บุกเบิกวางรากประติมากรรมในประเทศไทย

ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนศิลปะ

ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้เลื่อนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ประกอบกับแนวความคิดในสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไป

เกิดการยอมรับว่า

การสร้างอนุสาวรีย์เป็นเครื่องเตือนใจให้น้อมรำลึกถึงคุณงามความดีของบุคคล

ความนิยมในการสร้างอนุสาวรีย์จึงแพร่หลายขึ้น (

http://guru.sanook.com/2064/)

การสร้างอนุสาวรีย์ที่ถูกต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.๒๕๒๐

ซึ่งยังคงใช้มาถึงปัจจุบัน ต้องส่งเรื่องไปที่กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ซึ่งมีคณะกรรมการพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติและการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ เป็นผู้รับผิดชอบอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

ส่วนการจำลองพระพุทธรูปสำคัญและพระบรมรูปของพระบรมราชจักรีวงศ์จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาต

โดยเสนอผ่านกรม

พระบรมราชานุสาวรีย์

๒ พ่อขุน ณ เมืองบางขลัง

</strong>

เทศบาลตำบลเมืองบางขลังได้ดำเนินการขออนุญาตตามขั้นตอน

ตั้งแต่วันที่ ๑ ธ.ค. ๒๕๕๒

กรมศิลปากรได้แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติฯ

ถึงการอนุมัติ

แก้ไข ปรับปรุงตามลำดับ

สรุป ดังนี้ (มติที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๗ วันที่ ๑๔ มี.ค. ๒๕๕๗)

ตามที่ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย

ได้ขออนุญาตสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนผาเมือง

สำเนาหนังสือ จ.สุโขทัยเห็นชอบโครงการฯ พร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วยนั้น

สำนักช่างสิบหมู่ขอความอนุเคราะห์สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

ตรวจสอบพระราชประวัติ ผลการตรวจสอบ ดังนี้

๑.

การจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนผาเมือง ณ

บริเวณเมืองบางขลัง มีความเหมาะสมทางด้านประวัติศาสตร์

เนื่องจากมีหลักฐานปรากฏอยู่ในศิลาจารึกวัดศรีชุม และศิลาจารึกนครชุม

ซึ่งสรุปได้จากหลักฐานทั้ง ๒ แห่ง

เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเมืองบางขลัง และวีรกรรมของพ่อขุนผาเมือง

เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ที่นำพลมารวมกันที่เมืองบางขลัง

หรือบางขลัง หรือ บางฉลัง แล้วเข้าตีได้เมืองสุโขทัยคืนจากขอมสบาดโขลญลำพง

จากนั้นพ่อขุนผาเมืองยกเมืองสุโขทัย พร้อมทั้งพระนาม ศรีอินทรบดินทราทิตย์

รวมทั้งพระแสงขรรค์ชัยศรีให้พ่อขุนบางกลางหาว ถือเป็นการสถาปนาอำนาจของราชวงศ์พระร่วงที่เมืองสุโขทัย

ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย

๒. สถานที่ก่อสร้าง ณ เมืองบางขลัง

เป็นสถานที่ที่เหมาะสมตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์

๓. การเรียกนามอนุสาวรีย์ควรใช้ว่า

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง

ซึ่งในเรื่องดังกล่าว คณะกรรมการพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติฯ

ได้พิจารณามาตามลำดับและมีมติสรุปได้ ดังนี้

เห็นชอบในหลักการ

ให้อำเภอสวรรคโลกจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง,

เห็นชอบสถานที่ก่อสร้างบริเวณด้านหน้าที่ทำการ อบต.เมืองบางขลัง อ.สวรรคโลก

จ.สุโขทัย ,

เห็นชอบให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประดิษฐานคู่พระอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง

ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งพระองค์จริง, เห็นชอบประวัติและผลงานประติมากร (นายกิตติชัย

ตรีรัตน์วิชชา), เห็นชอบต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง,

เห็นชอบร่างคำจารึกฯ ที่คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ตรวจสอบแก้ไขแล้ว, เห็นชอบแท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

ที่ทาง ทต.เมืองบางขลัง ได้ปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้แทนกรรมการฯ

กรมศิลปากร ที่ วธ ๐๔๑๔/๓๒๒๕ ลง ๒๒

ส.ค. ๒๕๕๗ แจ้ง ทต.เมืองบางขลัง ความว่า กรมศิลปากรโดยผู้แทนกรรมการฯ

ที่ได้รับมอบหมายได้ตรวจการปั้นขยายพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง

โดยมีข้อแก้ไขบางประการ ซึ่งประติมากรได้แก้ไขตามคำแนะนำถูกต้องทุกประการแล้ว

เห็นสมควรให้ดำเนินการต่อไปได้

เทศบาลตำบลเมืองบางขลัง ร่วมกับจังหวัดสุโขทัยและกองทัพภาคที่

</strong>

อัญเชิญจากโรงหล่อ จ.นครปฐม มาประดิษฐาน ณ เทศบาลตำบลเมืองบางขลัง เมื่อ

๑๙-๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ อย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ พิธีพราหมณ์โดยพราหมณ์ชื่อดัง

ทศพล เรืองบุณย์ มีรถนำขบวนของตำรวจท้องที่นำส่งต่อกันในแต่ละอำเภอ ตามด้วยรถตำรวจ

สภ.เมืองบางขลัง, รถตำรวจทางหลวง, รถทหารถือรถชาติ ๑๔ นาย, รถทหารถือเครื่องสูง ๑๔

นาย, รถอัญเชิญสองพ่อขุน ทหารถือฉัตร ๔ นาย, รถทหารถือธงชาติ ๑๔ นาย, รถพยาบาล

รพ.สวรรคโลก, รถตู้ตำรวจ สภ.เมืองบางขลัง, ปิดขบวนด้วยรถตำรวจท้องที่แต่ละอำเภอ

๑๙พ.ย.๒๕๕๘

-

</strong>

๐๗.๓๐

น.

นายปิติ แก้วสลับสี

ผู้ว่าราชการ จ.สุโขทัย ทำพิธีสักการะรับเข้าสู่ จ.สุโขทัย ณ ที่ว่าการ อ.กงไกรลาศ

(อ.แรกของ จ.สุโขทัย)

ล้างพระบาท

ถวายพวงมาลัย กองเกียรติยศตำรวจภูธรกงไกรลาศ, ขบวนอัญเชิญเดินทางจากที่ว่าการอำเภอกงไกรลาศ

ผ่านอำเภอเมืองสุโขทัย

- ถึงวัดพระพายหลวงหยุดทำพิธีบวงสรวง

(สันนิษฐานกันว่าเป็นราชวังเดิมของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)

ดร.พรรณสิริกุลนาถศิริ นายก อบจ.สุโขทัย ประธาน ล้างพระบาท

ถวายพวงมาลัย กองเกียรติยศตำรวจตระเวนชายแดน, ขบวนผ่านอำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก

-

ถึงอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยหยุดทำพิธีบวงสรวง

(สันนิษฐานว่าเป็นราชวังเดิมของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)

พล.ต.ทรงวุฒิ จิตตานนท์

ประธาน ล้างพระบาท ถวายพวงมาลัย กองเกียรติยศตำรวจภูธรศรีสัชนาลัย , ปลายทาง ทต.เมืองบางขลัง

นายสมบัติ จันทรสมบัติ นายอำเภอสวรรคโลกทำพิธีรับ ล้างพระบาท ถวายพวงมาลัย ช่วงเย็น

เจริญพระพุทธมนต์น้อมบูชา

๒๐พ.ย.๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐

น.พิธีพราหมณ์ / พุทธ โดย

พล.ท.บรรเจิด ฉางปูนทอง แม่ทัพน้อยที่ ๓และนายปิติ แก้วสลับสี ผู้ว่าราชการจังหวัด

ร่วมเป็นประธานบวงสรวง ล้างพระบาท ถวายพวงมาลัย อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน

เวลา ๑๘.๓๐

น. พิธีเทวาภิเษกที่เข้ม ขลัง ศักดิ์สิทธิ์

บัดนี้ พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนผาเมือง

สองวีระบุรุษผู้สร้างชาติไทย ขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง สูง ๒.๙๐ เมตร หนัก ๑,๓๐๐

กิโลกรัม ที่ได้รับการเห็นชอบให้สร้างอย่างถูกต้องจากคณะกรรมการพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติฯ

ภายใต้การควบดุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากกรมศิลปากร

ได้ประดิษฐานคู่กันอย่างสมพระเกียรติ สง่า

สวยงาน ณ ด้านหน้าเทศบาลตำบลเมืองบางขลัง ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ทั้งสองพระองค์ประดิษฐานคู่กัน

การเดินทางมาเคารพ สักการะสะดวก

สบาย เพราะอยู่ติดถนนลาดยาง และอยู่กึ่งกลางระหว่างถนนสายเมืองเก่าสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย

อยู่ห่างสนามบินสุโขทัย ประมาณ ๓๙

กิโลเมตร

ถือได้ว่าเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้แก่

จ.สุโขทัย และประเทศไทยสืบไป.



ความเห็น (1)

ได้รับหนังสือแจ้งว่า “อนุญาตให้จัดสร้างได้” จากกรมศิลปากรหรือไม่/เห็นมีแต่หนังสือเห็นชอบหลักการเท่านั้น

ได้รับหนังสือแจ้งว่า “อนุญาตให้จัดสร้างได้” จากกรมศิลปากรหรือไม่/เห็นมีแต่หนังสือเห็นชอบหลักการเท่านั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท