เล่าต่อจากการฟังเสวนา "แรงบันดาลใจความเป็นครู"


คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดกิจกรรม เสวนาเรื่องแรงบันดาลใจความเป็นครู ซึ่งในช่วงแรก มีประเด็นเชิงปรัชญา ดังนี้

๓ สิ่งที่ต้องระลึกอยู่เสมอ เมื่อเป็นครู

○ ความแตกต่าง (กายภาพ->จิตภาพ) คือ ความไม่เท่าเทียมกันของผู้เรียน

○ ความเป็นพหุปัญญา (multiple intelligent) มองนักเรียนให้มองอย่างผลได้ ได้แก่ ส้ม กล้วย มะละกอ แอปเปิ้ล

○ ไม่เปรียบเทียบ ไม่ตัดสิน "จงมองเขาแบบเขาเป็นเขา" "จะทำอย่างไรให้เพื่อเสริมเขาเหมือนที่เขาเป็น"


หลักที่ควรใคร่ครวญ

○ ธรรมชาติของเด็กมีความอยากรู้อยากเห็น

○ เด็กถูกครอบงำโดยมายาคติ

○ ระบบการศึกษา เเละครูเป็นคนผูกเชือก ดึงเด็กไว้เอง และครเองมีเชือกในใจอยู่

○ การฝึกให้เชื่องทำใหลดความฝัน อยากรู้อยากเห็น ความเป็นธรรมชาติของเด็ก

○ Pygmallion effect เราเชื่อแบบใด เราจะเลือก จะทำแบบนั้น เราเชื่อเด็กของเราอย่างไร เราจะปฏิบัติแบบนั้น เช่น ครจะทำตัวดีเมื่อสอนเด็กห้องเก่ง

○ ความเป็นตำรา ทฤษฎี ครอบงำความเป็นครู ทำให้ทิ้งการกระตุ้นปัญญา

○ small c : Small Creative thinking ต้องสร้างความสร้างสรรค์

ต้องเป็นห้องเรียนตั้งคำถาม พยายามสร้าง Bic c

○ คำตอบเด็กไม่ค่อยอยากรู้ แต่คำถาม เด็กจะอยากรู้

○ 1+1 ไม่เท่ากับ 2

○ ตอนเด็กเราเป็นนักเรียนแบบใด ตอนโตให้เป็นครูแบบนั้น

○ ปัญญาภายนอก -> ปัญญาภายใน

○ การศึกษาต้องทำให้โลกภายในสงบ


หลักการเชื่อมโลกภายนอกและภายใน

○ ถือคนเป็นตัวตั้ง

○ คิดอย่างเป็นกลาง เชื่อมโลกทั้งใบ

○ พัฒนาจิตวิญญาณด้วยฐานวิทยาศาสตร์

○ ทำชุมชนให้เข้มแข็ง การศึกษาต้องกลับบ้าน

○ มองให้ไกลกว่าความรู้ (จินตนาการสำคัญกว่าความรู้)


"ค้นหาวิธีการสอนที่สร้างพลัง"



หมายเลขบันทึก: 604112เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2016 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2016 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท