Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

จิตตปัญญาศึกษา : การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21


จิตตปัญญาศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลาย เป็นกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformational Learning) เป็นการบูรณาการการศึกษาร่วมกับประสบการณ์ของบุคคล ช่วยยกระดับคุณค่าความดีงาม เสริมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีความสุข และทำให้เกิดความฉลาดในด้านต่าง ๆ

จิตตปัญญาศึกษา เน้นการพัฒนาความคิด จิตใจ อารมณ์ภายในตนเองอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ในตนเอง รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น รู้คุณค่าของสิ่งต่างๆ โดยปราศจากอคติ ทำให้เกิดความรักความเมตตา อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ สร้างจิอาสา มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และสามารถประยุกต์เชื่อมโยงกับศาสตร์ต่างๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างสมดุลและมีคุณค่า ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพภายในของมนุษย์

จิตตปัญญาศึกษา เป็นทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติ ที่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในระดับต่างๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร และการเปลี่ยนแปลงภายในสังคม โดยที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานอย่างลึกซึ้ง โดยจิตตปัญญาศึกษาเป็นแนวคิดและแนวปฏิบัติ ส่วนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเป้าหมาย โดยเป็นการขยายจิตสำนึกโดยผ่านกระบวนการเปลี่ยนมุมมองในเรื่องราวต่างๆ ทำให้สัมผัสได้ถึงความรู้สึกใต้จิตสำนึก บนฐานคิด “กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้” และ “กระบวนการหาคำตอบสำคัญกว่าคำตอบ” โดยใช้ฐานคิด “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” เพื่อรองรับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับในโลก เพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์ พัฒนาพหุปัญญารอบด้าน

จิตตปัญญาศึกษา เป็นการศึกษาที่สำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อโยงจิตตปัญญาศึกษาสู่ transformative education เพื่อพัฒนามนุษย์

Contemplative education is a philosophy of higher education that infuses learning with the experience of awareness, insight and compassion for oneself and others through the erudite academic practices of meditation. Contemplative education is both concept and practice that purposes to transformative learning in various level such as self transformation, organizational transformation and social transformation. Transformative learning leads to basic change deeply. Contemplative education helps students know themselves more deeply and engage constructively with others. The goal is not to nurture the solitary contemplative only; it is also to cultivate those act as preparation for compassionate and transformative work in the world. More specifically, the value of contemplative education is measured in students’ ability to put their wisdom and insight into practice through creative, helpful and effective action. Conclusion, Contemplative education is concept and practice that goal to transformative learning.


กำหนดการจิตตปัญญาศึกษา 4 วัน 3 คืน


วันที่ 1

07.30 - 08.30 น.ลงทะเบียน

08.30 - 09.00 น.นำเสนอภาพรวม เปิดวงการเรียนรู้ เปิดใจค้นหาเป้าหมาย

09.00 – 10.00 น.ภาวนา/เช็คอิน ฐานราก

10.00 – 10.15 น.พักรับประทานอาหารว่าง

10.15 – 12.00 น. กิจกรรมพลังกลุ่มและความไว้วางใจ ถอดบทเรียน 1

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น.กิจกรรมพลังกลุ่มและความไว้วางใจ ถอดบทเรียน 2

14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.30 น.ภาวนาฐานกาย/โยคะสมาธิ

17.00 น.เช็คเอาท์/ปิดการอบรม

17.00 – 18.00 น. พักรับประทานอาหารเย็น

18.00 – 21.00 น.สุนทรียะสนทนา สะท้อน แลกเปลี่ยน/ สวดมนต์ ไหว้พระ โยคะสมาธิ ก่อนนอน

วันที่ 2

07.30 - 08.30 น.ลงทะเบียน

08.30 - 09.00 น.ภาวนา/เช็คอิน

09.00 – 10.00 น.กรอบความคิด กรอบความเชื่อ ถอดบทเรียน 1

10.00 – 10.15 น.พักรับประทานอาหารว่าง

10.15 – 12.00 น. กรอบความคิด กรอบความเชื่อ ถอดบทเรียน 1

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น.เรียนรู้กิจกรรมบุคลิกภาพเชิงลึก “กงล้อสี่ทิศ” ถอดบทเรียน 1

14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.30 น.เรียนรู้กิจกรรมบุคลิกภาพเชิงลึก “กงล้อสี่ทิศ” ถอดบทเรียน 2

17.00 น.เช็คเอาท์/ปิดการอบรม

17.00 – 18.00 น. พักรับประทานอาหารเย็น

18.00 – 21.00 น.สุนทรียะสนทนา สะท้อน แลกเปลี่ยน/ สวดมนต์ ไหว้พระ โยคะสมาธิ ก่อนนอน

วันที่ 3

07.30 - 08.30 น.ลงทะเบียน

08.30 - 09.00 น.ภาวนา/เช็คอิน

09.00 – 10.00 น.ภาวนา/สภาพอากาศภายในใจ

10.00 – 10.15 น.พักรับประทานอาหารว่าง

10.15 – 12.00 น. ภาวนากับกิจกรรมศิลปะ ถอดบทเรียน 1

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น.ภาวนากับกิจกรรมศิลปะ ถอดบทเรียน 2

14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.30 น.ภาวนาฐานใจ

17.00 น.เช็คเอาท์/ปิดการอบรม

18.00 – 21.00 น.สุนทรียะสนทนา สะท้อน แลกเปลี่ยน/ สวดมนต์ ไหว้พระ โยคะสมาธิ ก่อนนอน

วันที่ 4

07.30 - 08.30 น.ลงทะเบียน

08.30 - 09.00 น.ภาวนา/เช็คอิน

09.00 – 10.00 น.เปิดใจ เปิดเรื่อง บอกเล่า ของรักของหวง

10.00 – 10.15 น.พักรับประทานอาหารว่าง

10.15 – 12.00 น. รู้เค้า รู้เรา รบ 100 ครั้ง ชนะ 100 ครั้ง ถอดบทเรียน 1

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น.รู้เค้า รู้เรา รบ 100 ครั้ง ชนะ 100 ครั้ง ถอดบทเรียน 2

14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.30 น.ภาวนาฐานใจ/เมตตาสมาธิ

17.00 น.เช็คเอาท์/ปิดการอบรม


จัดโดย หน่วยบริการวิชาการธรรมสุทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

หมายเลขบันทึก: 603634เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2016 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท