พื้นที่ภัยแล้ง...พื้นที่น้ำท่วม หวัง การจัดการแบบบูรณาการ


ถ้ารัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส.ส. นักวิชาการ ร่วมใจกัน อีสานจะไม่แล้ง ด้วยการบริหารจัดการ “น้ำ”

เรามีน้ำหลากมามากมายในช่วงหน้าฝน/มรสุม จนต้องประกาศพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม (ได้เงินมาอุดหนุนเร่งด่วนตลอดปีตลอดชาติ) แล้วน้ำเหล่านั้นก็หายไปในพริบตาเมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง

เรามีต้นน้ำ แม่น้ำ ลำคอลง ลำห้วย อ่างเก็บน้ำ และเขื่อน มากมาย แต่น้ำก็ไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค จนต้องประกาศพื้นที่ภัยแล้งกันทุกปี (แล้งตลอดปีตลอดชาติเช่นกัน)

เรามีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญมากมาย ทั้งนักวิชาการและวิชาชีพที่จะช่วยบริหารจัดการ “น้ำ” ได้อย่างยั่งยืน แต่สุดท้ายแล้ว พวกเราก็ ขาดแคลนน้ำ

พื้นที่ภาคอีสานมี “ตาน้ำ” ใต้ดิน แม้แต่ขอนแก่น ก็มีบ่อน้ำใต้ดินที่มีน้ำพุพุ่งขึ้นแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่ขอนแก่นก็ยังขาดแคลนน้ำ .....

เห็นข่าวนี้ http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=95... แล้วรู้สึกดีใจว่า อย่างน้อยก็มีการผันน้ำจาก “น้ำโขง” / “แม่ของ” มาใช้ วานก่อนเห็นข่าวว่า “จีน” เปิดประตูน้ำจากเขื่อนกั้นแม่น้ำล้านช้าง (แม่น้ำโขงตอนบน)


คำพูดติดตลกของอาจารย์ที่ มข. เคยพูดให้ฟังว่า รัฐบาลแถบทะเลทราย เคยมาช่วยวิจัยและให้คำแนะนำว่าจะช่วยภัยแล้งที่อีสานอย่างไร นักวิจัยมาพบว่า อีสานไม่ได้ขาดน้ำ เพระาเวลาหน้าฝน ก็เกิดน้ำท่วมมากมายเกือบเต็มพื้นที่ แต่ไม่จัดการน้ำ นักวิจัยเลยกลับประเทศ เพราะประเทศเขาแล้งกว่ามีแต่ทะเลทราย เขาบริหารจัดการได้

ลงมาแล้ว

การบริหารจัดการ จึงเป็นเรื่องสำคัญ….เอาใจช่วยครับ

คำสำคัญ (Tags): #การจัดการน้ำ
หมายเลขบันทึก: 603630เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2016 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2016 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สำคัญมากเลยครับ

ไม่เฉพาะอีสานภาคกลางก็เป็น

ที่กาญจนบุรีมีเขื่อนเยอะมาก

เราส่งน้ำไปช่วยคนกรุงเทพฯ สุพรรณ นครปฐม แต่คนกาญจนบุรีที่อำเภอห้วยกระเจา เลาขวัญขาดน้ำ

ระบบการจัดการมีปัญหาจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท