หลักการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลง “ผู้ใหญ่อารมณ์สองขั้ว” สู่การฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคมไทย (Bipolar)


สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่าโรคไบโพล่าหรืออารมณ์ 2 ขั้ว แต่วันนี้ดิฉันจะมาแชร์ประสบการณ์จากการเรียนและได้ค้นคว้าถึงโรคนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับตัวโรคกันก่อนเลยค่ะ


โรคไบโพล่า คือ. . .

โรคอารมณ์สองขั้วหรือที่รู้จักกันว่าโรคไบโพล่า (Bipolar) เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีลักษณ์เป็นคนสองบุคคลิก โดยสาเหตุของการเกิดเป็นได้จาก 3 ทางหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่

  • การทำงานที่ผิดปกติของสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกินไป และสารนอร์เอปิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไป
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม
  • ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม อารมณ์ ความเครียดต่าง ๆ แต่เป็นปัจจัยที่น้อยมาก

โดยอาการของโรคจะแบ่งเป็น 2 ระยะหลัก ๆ ได้แก่ระยะ Mania และ ระยะdepression

ในระยะ Mania ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ดีมากเกินกว่าปกติที่ควรจะเป็น และมักจะไม่มีเหตุผลหรือไม่สมเหตุสมผล อาจจะมีปัญหากระทบกระเทือนต่อหน้าที่การงาน อารมณ์ดีจนกระทั่งตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ช่วงที่มีอารมณ์ดีจะช่างพูดช่างคุย คุยได้ไม่หยุด และ ไม่ชอบให้ใครมาขัดจะเกิดอารมณ์หงุดหงิด แล้วถึงขั้นใช้อารมณ์ก้าวร้าว บางรายจะมีพลังเหลือล้นวันหนึ่งวันนอนแค่ 3 ชั่วโมง จะไม่ยอมนอน ชอบเที่ยวใช้จ่ายเงินมากกว่าปกติ

ในระยะ Depression จะมีอาการเหมือนโรคซึมเศร้า มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงถึง 15-20% ช่วงนี้จะมีปัญหาเบื่อหน่าย เศร้า อารมณ์อ่อนไหวง่าย ร้องไห้บ่อย ๆบางคนจะหงุดหงิด ขวางหูขวางตาไปหมด ทนเสียงดังไม่ได้ ไม่อยากให้ใครมาวุ่นวายอาการเบื่อเป็นมากจนแม้แต่อาหารการกินก็ไม่สนใจ บางคนน้ำหนักอาจลดอย่างรวดเร็ว เขาจะมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบไปหมด คิดว่าตัวเองเป็นภาระของคนอื่น ไม่มีใครสนใจตนเอง

สามารถติดตามเกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM-V ได้ที่นี่

http://rama4.mahidol.ac.th/ramamental/?q=generalknowledge/general/09042014-1105


การประเมินทางกิจกรรมบำบัด ตาม Model PEOP

= สัมภาษณ์ผู้รับบริการและญาติถึงอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช็คดูอาการของผู้รับบริการตามเกณฑ์ การวินิจฉัย ให้ผู้รับบริการทำแบบประเมินต่าง ๆ เช่น แบบประเมินความเครียด แบบประเมินอาการซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต เพื่อตรวจสอบดูว่าอาการต่าง ๆ ส่งผลต่อสภาพจิตใจมากน่อยแค่ไหน

Environment = ตรวจสอบสิ่งแวดล้อม สภาพบ้านหรือที่ที่ผู้รับบริการใช้ชีวิตอยู่บ่อยที่สุด เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมา อะไรบ้างที่ส่งผลกระทบต่อผู้รับบริการทั้งทางกายและจิตใจ

Occupation = ใช้แบบประเมิน interest checklist เพื่อสิ่งที่ผู้รับบริการสนใจ, ประเมินดูกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่าง ๆ ว่าตั้งแต่ป่วยส่งผลต่อกิจกรรมการดำเนินชีวิตอะไรบ้าง

Performance = ประเมินดูความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตตั้งแต่ก่อนมีอาการและหลังมีอาการจากตัวโรค

Well-being = สามารถประเมินได้จากความเหมาะสม (Fit) กันระหว่าง 4 ด้านข้างต้น ถ้าหากเหมาะสมกันก็จะเกิด Well-being ได้หรืออาจใช้แบบประเมิน Well-being self-assessment เพื่อตรวจสอบด้วยแบบประเมินมาตราฐาน


การวิเคราะห์ทางกิจกรรมบำบัดและการฟื้นฟู ตาม Model PEOP

เมื่อเราได้วิเคราะห์ผู้รับบริหารตาม PEOP จะเห็นว่า หลาย ๆ อย่างมีผลต่อตัวผู้รับบริการ ในขั้นแรกเราควรสร้าง แรงจูงใจ (Motivation) โดยการสร้างแรงจูงใจนั้นเป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม(Person+Environment) กล่าวคือตัวบุลคลต้องยอมรับและข้าใจในตัวโรคที่เป็น ครอบครัวหรือคนใกล้ชิดเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อผู้รับบริการ ต้องเข้าใจและให้กำลังใจกัน ช่วยกันจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้รับบริการ เมื่อผู้รับบริการเริ่มกลับมามีแรงจูงใจ เข้าใจตนเอง หลังจากนั้นเราต้องมุ่งที่จะพัฒนาทักษะ ความสามารถ (Ability) ซึ่งความสามาถนั้นจะเกิดขึ้นได้จาก 3 อย่างประกอบกัน คือ Person+Environment,Occupation การที่เราจะเพิ่มความสามาถของผู้รับบริการได้นั้น เราควรเริ่มจากกิจกรรมที่เขาชอบ หากิจกรรมที่สนใจและเมื่อเขาสามารถทำสำเร็จเขาจะมี self-esteem ที่มากขึ้น ความสามารถทักษะต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ กลับคืนมา

ในส่วนของการใช้ทักษะเราต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เต็มใจและจริงใจที่จะช่วยแก้ปัญหา ตั้งใจฟังปัญหาของเขา บางครั้งนักกิจกรรมบำบัดก็ไม่สามารถเข้าใจปัญหาได้ทั้งหมด เราอาจมีการจัด Peer support คือให้ผู้รับบริการได้แชร์ความรู้สึก ประสบการณ์กับผู้ที่เคยเป็นโรคและสามารถผ่านมันไปได้ ซึ่งการพูดคุยแบบนี้จะทำให้เกิดพลังการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก หรืออาจมีการจัดกลุ่มพลวัติ อาจเป็นการแสดงละครเพื่อให้ผู้รับบริากรได้รู้วิธีในการปรับตัวต่าง ๆ การเข้าสังคม การแก้ปัญหา ซึ่งการจักกลุ่มพลวัติมุ่งเน้นเพื่อพัฒนาความสามารทาง EQ และส่งเสริมความสามรถทาง PQ, IQ

โรคไบโพล่าไม่ใช่โรคที่น่ากลัวถ้าผู้รับบริการ (ผู้ป่วย) เข้าใจในตัวโรค ทานยาอย่างสม่ำเสมอ ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้อง และที่สำคัญที่สุดถ้าผู้รับบริการและครอบครัวจับมือกันอย่างมั่นคงก็จะสามารถก้าวผ่านปัญหาต่าง ๆ ไปได้ด้วยความเข้าใจและมีสุขภาวะที่ดี


อ้างอิง

Andrea Fiorillo.Efficacy of psychoeducationan family intervention for bipolar I disorder: A controlled, multicentric , real-world study.Journal of Affective Disorders [internet].2016.[cite 2016 March 6];291-299. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.jad.2014.10.021

กมลเนตร วรรณเสวก, กลุ่มโรคอารมณืสองขั้วและกลุ่มโรคซึมเศร้า : นันทวัช สิทธิรักษ์. จิตเวช ศิริราช DSM-5. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์; 2558.หน้า 379-407

บล็อค gotoknow ธัญญารัตน์ บรรณวงศิลป์. ตำราชีวิต : กิจกรรมบำบัดกับผู้ป่วย Bipolar Disorder [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 6 มี.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/589604

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603354เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2016 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท