พลังการเรียนรู้สร้างสรรค์สู่การเปลี่ยนแปลง "ผู้ป่วยจิตเภท"สู่การฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคมไทย


โรคจิตเภทเป็นโรคทางจิตที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งเมื่อเป็นแล้วจะส่งผลต่อทุกหน้าที่ มีหลายปัจจัยเป็นสาเหตุ ลักษณะอาการก็มีหลายอย่างและมักเป็นเรื้อรัง ดังนั้นการรักษาและการฟื้นฟูโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นวันนี้จะมาเสนอกระบวนการฟื้นฟูทาง"กิจกรรมบำบัด"ต่อผู้ป่วยจิตเวชค่ะ

จิตเภท (Schizophrenia)

คือ ความผิดปกติของ ความคิด การรับรู้และพฤติกรรมอาการเป็นติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน โดยไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย ยาหรือสารเสพติดและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สุขอนามัย สังคมและการงาน


ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค

  • ปัจจัยด้านชีวภาพ
    • พันธุกรรม บุคคลที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคจิตเภทมีโอกาสเป็นได้มากกว่าคนทั่วไป
    • สารชีวเคมีในสมอง มีสารสื่อประสาท dopamine serotonin norepinephrine ทำงานมากเกินไป
    • ประสาทกายวิภาค มี ventricle แลละ sulci โตกว่าปกติ ทำให้มี cortical atrophy โดยเฉพาะบริเวณ limbic และ thalamus
    • ประสาทสรีรวิทยา การไหลเวียนของเลือดที่สมองและ glucose metabolism ลดลงในบริเวณสมองส่วนหน้า

ปัจจัยด้านครอบครัว

    • ครอบครัวที่มีการแสดงอารมณ์ต่อกันสูง
    • ครอบครัวตำหนิวิพากษ์วิจารณ์
    • ครอบครัวเกลียดชังไม่เป็นมิตร
    • ครอบครัวจู้จี้ยุ่งเกี่ยวมากเกินไป
  • ปัจจัยด้านสังคม
    • มักพบในผู้ป่วยในสังคมที่มีเศรษฐานะต่ำ เกิดจากสภาพทางสังคมที่กดดันทำให้ป่วยเป็นโรคจิตเภทเพิ่มขึ้น


กลุ่มอาการของโรค

Positive symptom

Negative symptom Cognitive change Emotional change
  • หลงผิด(delusion)
  • ไม่แสดงอารมณ์(affective flattening)
  • สมาธิแย่ลง
  • ไม่สบายใจ(dysphoria)
  • ประสาทหลอน(hallucination)
  • พูดน้อยหรือไม่พูด(alogia)
  • ปัญหาด้านความจำ
  • ภาวะซึมเศร้า
  • พูดผิดปกติ(disorganized speech)
  • ไม่มีแรงจูงใจเฉื่อยชา(avolition)
  • ตีความไม่ได้
  • พฤติกรรมผิดปกติ(disorganized behavior)
  • ภาวะสิ้นยินดี(anhedonia)
  • คิดเป็นเหตุผลไม่ได้
  • ไม่เข้าสังคม
  • สูญเสียการวางแผน การตัดสินใจ การจัดการ(executive function)


ผลกระทบสู่กิจกรรมการดำเนินชีวิต

Occupation(กิจกรรมการดำเนินชีวิตที่กระทบ)

Occupational performance (ความสามารถในการทำกิจกรรมที่กระทบ)
  • ADL&IADL (กิจวัตรประจำวัน)
  • Process skills (ทักษะการคิดจัดการ)
  • Leisure (กิจกรรมยามว่าง)
  • Communication skills (ทักษะการสื่อสาร)
  • Work (การทำงาน)
  • Social participation (การทีส่วนร่วมทางสังคม)
  • Rest & sleep (การพักผ่อนและการนอนหลับ)


การประเมินทางกิจกรรมบำบัด

Person Environment

Occupation

Performance

Well being
  • สัมภาษณ์ผู้รับบริการและญสติ เพื่อซักประวัติ ถามความต้องการและความรู้สึก
  • Home assessment
  • kohlman evaluation of living skills
  • Group dynamics based recovery model assessment
  • Facit-sp
  • สังเกตดู การรับความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้รับบริการ
  • SAFER Tool
  • Volitional assessment in OT group
  • Allen cognitive level
  • Assessment of motor and process skill(AMPS)
  • Role checklist
  • Interest checklist
  • Routine task inventory
  • ความสนใจในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

ในPerson จะเน้นประเมินในด้านระดับความรู้ความเข้าใจ การดูบทบาท พฤติกรรมและความสนใจของผู้รับบริการและประวัติทั่วไป

ด้านEnvironment เน้นประเมินความปลอดภัยในบ้าน ความเสี่ยงในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เกิดจาดสิ่งแวดล้อม เช่น มีทางต่างระดับสูงมาก มีวัตถุอันตราย เช่น มีด เลื่อย อยู่ในที่ที่หยิบง่าย เป็นต้น

ด้านOccupationก็เน้นการประเมินดูความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

Performance ของผู้รับบริการจะประเมินผ่านการทำกิจกรรมกลุ่มเนื่องจากกิจกรรมกลุ่มทำให้เห็นความสามารถของผู้รับบริการที่หลากหลาย

well being จะประเมินสุขภาวะทุกด้านของผู้รับบริการ


กระบวนการออกแบบโปรแกรมการรักษาทางกิจกรรมบำบัให้เกิดแรงจูงใจและความสามารถ

Person
Environment

Occupation
Performance

  • schizophrenia
  • CBT
  • ฝึกทำกิจวัตรประจำวัน
  • สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
  • เข้าใจยอมรับในอาการโรค
  • Peer group
  • ทำกิจกรรมยามว่างที่ชอบ

ฝึกทำซ้ำๆทำเป็นประจำจะทำให้เกิดเป็น Ability
  • เข้าใจตัวเอง
  • ครอบครัวยอมรับเข้าใจช่วยเหลือ
  • ฝึกทักษะการทำงาน
  • สิ่งที่อยากทำ สิ่งที่ชอบ
  • สิ่งแวดล้อมทางกายภาพเอื้ออำนวยในการทำกิจกรรม
  • ฝึกการเข้าสังคม
  • รู้ถึงความสามารถของตน

  • หน่วยงานโรงพยาบาลที่ให้การฟื้นฟู
  • เห็นคุณค่าในตนเอง
  • สังคมให้การสนับสนุน


P + E =อยากทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต(มีแรงจูงใจแล้ว)



Therapeutic relationship

Therapeutic environment



Therapeutic use of self to empathy

Therapeutic skills


  • เข้าหาผู้รับบริการทางด้านหน้า

  • จัดห้องฝึกให้ความรู้สึกเหมือนบ้าน
  • เข้าใจว่าอาการที่เป็นมาจากการดำเนินของโรค
  • วิเคราะห์ขั้นตอนและองค์ประกอบต่างๆในการทำกิจกรรม
  • ทักทายพูดคุยด้วยสายตาเป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส
  • อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ต่างๆออกแบบคำนึกถึงความปลอกภัย
  • รับรู้เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของผู้รับบริการ
  • ประเมินดู cognitive levels
  • ชวนพูดคุย สร้างให้บรรยากาศอบอุ่นสบายๆ
  • เป็นห้องโล่งกว้าง ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ต่างๆในห้องเยอะ(ป้องกันประสาทหลอน)
  • ให้โอกาสเป็นผู้เลือกสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับกับความสามารถของผู้รับบริการ
  • เลือกใช้คำพูดให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละบุคคล
  • นำของมีคมหรือของที่เป็นอันตรายออกไป
  • ยอมรับฟังความต้องการและความคิดเห็นของผู้รับบริการ
  • เลือกคุยในหัวข้อที่ผู้รับบริการชอบหรือสบายใจที่จะพูดก่อน
  • อากาศถ่ายเท แสงสว่างเพียงพอ
  • มองว่าผู้รับบริการเป็นบุคคลซึ่งมีคุณค่าและมีความสามารถส่วนบุคคล
  • หาวิธีสอนการทำกิจกรรมที่เหมาะกับ cognitive levels
  • ถ้าผู้รับบริการมีอาการบวก ช่วยยืนยันว่าสิ่งที่คิดมันไม่จริง(ให้ไปดูเอง)
  • สถานที่สงบ คนไม่พลุกพล่าน(อาการบวก)
  • ถ้าผู้รับบริการมีอาการลบ พูดกระตุ้นหรือชวนทำกิจกรรม
  • ให้มีเพื่อนมาทำกิจกรรมร่วมกันหรือพาออกไปที่สาธารณะ(อาการลบ)
  • ทำกลุ่มกับเพื่อน 2-3 คน ก่อนแล้วค่อยเข้ากลุ่มใหญ่
  • เริ่มจากกลุ่มคู่ขนานก่อนแล้วค่อยเพิ่มระดับ
  • กลุ่มผู้รับบริการจิตเภทอาจเน้นในการเคลื่อนไหวร่างกาย รับรู้ส่วนต่างๆของร่างกาย (PQ)

    ตัวอย่างกิจกรรม

    กิจกรรมสำหรับผู้รับบริการที่มีระดับ cognitive 2-3 ควรจัดเป็น กลุ่มงานคู่ขนาน เน้นกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเต้นตามเพลงประกอบจังหวะ การจับสำรวจร่างกายตนเอง(เช่น การสัมผัสรับรู้ถึงการเต้นของหัวใจ)

    กิจกรรมสำหรับผู้รับบริการที่มีระดับ cognitive 4-5 ควรจัดเป็น กลุ่มร่วมกันคิดร่วมกันทำ เน้นกืจกรรมที่มีเป้าหมาย เช่น การแสดงละครร่วมกัน การเล่นดนตรีร่วมกัน ช่วยกันทำอาหาร เป็นต้น


    อ้างอิง

    กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ.โรคจิตเภทและโรคจิตชนิดอื่น.ใน : นันทวัช สิทธิรักษ์,บรรณาธิการ.จิตเวช ศิริราช DSM5.พิมพ์ครั้วที่1.กรุงเทพ : ประยูรสาส์นไทย ; 2558.หน้า 365-372

    อ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง,องอาจ เชียงแขก,ปัณธิตา จักรโนวรรณ, อินทิรา อะตะมะ,อำพร โปสจา,บรรณาธิการ.การพัฒนาแบบประเมินทางกิจกรรมบำบัดด้านสุขภาพจิตและจิตเวช. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข; 2555.

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603352เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2016 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท