พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์ สู่การเปลี่ยนแปลง “เด็กและวัยรุ่น กลัวการเข้าสังคม ส่งผลถึงภาวะการปรับตัวผิดปกติ ” สู้การฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคมไทย


ในวันนี้ดิฉันก็จะมาเล่าถึง การบำบัดฟื้นฟู อาการกลัวการเข้าสังคม และส่งผล กระทบให้เกิดการปรับตัวผิดปกตินะคะ ก่อนอื่นขออธิบายลักษณะของโรคให้ทุกคนได้เข้าใจกันก่อน

โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) อาการวิตกกังวลว่าตัวเองจะเผลอทำอะไรเปิ่น ๆ เชย ๆ หรือทำพลาดให้ต้องอับอาย กลัวถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนรอบข้าง ซึ่งดูเหมือนอาการของคนตื่นเต้นกับบางอย่าง แบบปกติทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) จะประหม่ามาก และไม่สามารถบังคับตัวเองให้ไม่กลัวการเข้าสังคมได้ อาการของโรคจะก้ำกึ่งอยู่ระหว่างความขี้อาย อาการประหม่า และกลัวขายหน้าตามสถานการณ์น่าตื่นเต้นทั่วไปใครๆก็เป็น เลยทำให้ผู้ป่วยหลายคนที่ป่วยเป็นโรคกลัวสังคมไม่รู้ตัว จะเกิดขึ้นกับทุกช่วงอายุ เพศหญิงหรือเพศชาย มีโอกาสเป็นโรคนี้เท่า ๆ กัน มักเด่นชัดในช่วงวัยเด็กจนถึงช่วงวัยรุ่น เป็นเพราะช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่เริ่มต้องเข้าสังคมมากขึ้น ส่วนมากจะขาดความมั่นใจในตัวเอง และคิดว่าตัวเองมีปมด้อยที่น่าอับอาย ซึ่งเป็นความคิดที่ลดคุณค่าของตัวเองลงโดยไม่รู้ตัว จนเกิดความกลัวการเข้าสังคมในที่สุด

อาการแสดงทางอารมณ์และความคิด

1. รู้สึกประหม่าทุกครั้งที่ต้องพูดกับบุคคลอื่นหรืออยู่ต่อหน้าคนอื่นก็พูดไม่ออก

2. วิตกกังวลอย่างมาก ว่าคนอื่นจะวิพากษ์วิจารณ์และคิดอย่างไร กับตัวเอง

3. เครียดล่วงหน้าเป็นวันหรือสัปดาห์ เมื่อรู้ว่าต้องปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน

4. กลัวว่าตัวเองจะแสดงอาการหน้าขายหน้าออกไป

5. กลัวคนอื่นจะจับสังเกตได้ว่ากำลังรู้สึกประหม่าอยู่

ภาวการณ์ปรับตัวผิดปกติ(Adjustment disorder) มีสาเหตุชัดเจนจากภาวะความกดดัน ก่อ ให้เกิดความเครียด จนไม่สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมเกิดอาการทางคลินิกตามมา โดยมีอาการนานไม่เกิน 6 เดือน จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางจิตเวชที่เป็นแบบ non-psychotic ซึ่งสามารถหายเป็นปกติได้โดยที่อาการทางจิตเวชมักจะเกิดภายในเวลา 3 เดือนหลังจากมีภาวะความกดดันมากระทบ

ลักษณะอาการทางคลินิก

อาการทางคลินิกของภาวะความผิดปกตินี้มีได้หลายแบบ DSM V ได้จำแนกออกเป็น 6 กลุ่มย่อย

1. Adjustment disorder with anxiety อาการเด่น คือ วิตกกังวลหงุดหงิด ตึงเครียด และตื่นเต้น

2. Adjustment disorder with depressed mood อาการที่เด่น เป็นอารมณ์เศร้า เสียใจและรู้สึกผิดหวัง

3. Adjustment disorder with disturbance of conduct อาการเด่นได้แก่ มีความประพฤติที่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น

4. Adjustment disorder with mixed disturbance of emotions and conduct อาการ ที่เด่นเป็นอาการต่างๆ ทางอารมณ์เช่น อารมณ์เศร้า วิตกกังวล และแปรปรวนของพฤติกรรม

5. Adjustment disorder with mixed anxiety and depress mood อาการเด่นเป็นอาการร่วมกันของอารมณ์เศร้าและอาการวิตกกังวล

6. Adjustment disorder unspecified คือความผิดปกติต่างๆซึ่งเป็นปฏิกิริยาในการปรับตัวที่ไม่เหมาะสมต่อ psychosocial stressors ซึ่งมิได้จัดเป็น adjustment disorder อย่างเฉพาะเจาะจง

สาเหตุโดยตรงของโรคนี้ คือ ภาวะความกดดัน ลักษณะความกดดันจากภาวะจิตสังคมที่พบบ่อยๆ ได้แก่ ปัญหาที่เกิดจากหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นต้น โดยระดับของการตอบสนองต่อความกดดันของเราไม่ได้สัมพันธ์ตรงไปตรงมากับระดับความรุนแรงของความกดดันแต่จะเป็นความสัมพันธ์ร่วมกันของปัจจัยต่อไปนี้

1. Stressors คือ ลักษณะของความกดดันที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหา

2. Situational context คือ ภาวะแวดล้อมขณะนั้นของผู้ป่วย

3. Intrapersonal factors คือ เหตุปัจจัยในตัวผู้ป่วยเอง

ซึ่ง Social Phobia and Adjustment disorder จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตดังต่อไปนี้

ผลกระทบกับชีวิตการงาน(Work) และการเรียน(Education)

1.ไม่กล้าไปสัมภาษณ์งาน ไม่กล้าแสดงออกในที่ประชุม หรือหน้าชั้นเรียน

2. มีปัญหากับการติดต่อประสานงานกับหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน

3. ลังเลที่จะตัดสินใจรับตำแหน่ง หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

4.ไม่มีความสุขและประสิทธิภาพในการทำงาน และการเรียนถดถอย

ผลกระทบต่อกิจกรรมเกี่ยวกับสังคม (Social participation) และทักษะด้านการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ (Communication/Interaction skills)

1. มีปัญหาในการสานสัมพันธ์ รูปแบบเพื่อนหรือคนรัก คบไม่ได้นาน

2.ไม่กล้าเปิดใจรับใครเข้ามา

3.ไม่กล้าแชร์ความคิดเห็นร่วมกับบุคคลอื่น

ผลกระทบกับชีวิตประจำวัน

เสียโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำให้ไม่ได้พัฒนาตนเองอย่างที่ควรพลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิต ขังตัวเองอยู่ในโลกส่วนตัว กลายเป็นคนโลกแคบได้

การประเมิน

Person ประเมินจากการสัมภาษณ์ และการสังเกตพฤติกรรมของผู้รับบริการ เช่น ชอบปลีกตัวหลบอยู่คนเดียวบ่อยๆ มีอาการเครียด วิตกกังวล กลัวการเผชิญหน้ากับบุคคลอื่น และแบบประเมินความเครียด โดยใช้แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต

Environment ประเมินจากการสัมภาษณ์ สิ่งแวดล้อมแบบใดที่ส่งผลให้ผู้รับบริการไม่เกิดความกังวล และเกิดความกังวล เพื่อนำมาใช้ปรับสิ่งแวดล้อมในการบำบัดรักษา

Occupation ประเมินจากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ หรือบุคคลใกล้ชิด กิจกรรมใดที่ผู้รับบริการทำแล้วเกิดความเครียดวิตกกังวลขึ้น และสอบถามถึงความต้องการของผู้รับบริการ

Performance ประเมินโดยสังเกต สัมภาษณ์ ถึงทักษะการจัดการความเครียด ทักษะการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม และการนำทักษะไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

Well-being สอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ หากผู้รับบริการมีความพึงพอใจ มีความสุข ไม่เกิดความกังวลหรือความเครียดเมื่อต้องเข้าสังคม ก็จะทำให้เกิดสุขภาวะที่ดีขึ้นได้ และ ใช้แบบประเมิน Well-being self-assessment เป็นแบบประเมินตนเองถึงการมีสุขภาวะที่ดี

การวิเคราะห์ PEOP และการบำบัดฟื้นฟู


จากตาราง เป็นการวิเคราะห์ตาม PEOP ซึ่งในการสร้าง แรงจูงใจ (Motivation) จะต้องอาศัยทั้ง Person + Environment โดยมีการสร้างความมั่นใจ (self-confident) ให้ผู้รับบริการ ในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น โดยการซ้อมทำหน้ากระจก หรือเป็นการ role play กับผู้บำบัดก่อน และสอนวิธีการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น เช่น ฝึกสมาธิ การฝึกผ่อนคลาย การฝึกหายใจเพื่อลดความตื่นเต้น การจัดสิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้รับบริการได้ทำในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย เช่น ญาติพี่น้อง , เพื่อนๆในห้องเรียน เมื่อผู้รับบริการเกิดความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น จะเป็นแรงจูงใจในการกล้าเผชิญหน้าและปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในสังคม นอกจากนี้การเพิ่มความสามารถ (Ability) จะต้องอาศัยทั้ง Person + Environment + Occupation จากการที่สร้างแรงจูงใจแล้ว ก็จะมีการใช้หลักการ Behavior Therapy ให้ผู้รับบริการได้เผชิญหน้ากับความกลัว หากผู้รับบริการเปิดใจยอมรับและกล้าเผชิญความกลัว โดยอาจจะเริ่มทีละเล็กทีละน้อย ความกลัวดังกล่าวก็จะเริ่มลดลงไป กล่าวคือ หากผู้รับบริการกล้าพูดคุยสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นรวมกับการจัดการความเครียดได้ ความกลัวความกังวลก็จะลดลงจนไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ

กิจกรรมการรักษาที่ให้จะเน้นเป็นกิจกรรมกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารให้กับผู้รับบริการ เนื่องจากใน ใน Cognitive levels 4 นั้นต้องมีการฝึกการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการจัดกลุ่มแบบ cooperative group สมาชิกทุกคนมีการทำงานร่วมกัน และมีการรักษาความสัมพันธภาพที่ดีต่อสมาชิกกลุ่มด้วย เป็นกลุ่มที่พัฒนาทักษะทางสังคม เช่น การเป็นผู้นำ การตัดสินในลงมือทำ การสื่อสารซึ่งกันและกัน นอกจากนั้น ยังมีการ

Graded up บุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นบุคคลที่ไม่คุ้นเคย อาจจะเป็นผู้ป่วยคนอื่นๆ

Graded down บุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นบุคคลที่คุ้นเคย เช่น ญาติ พี่น้อง เพื่อนๆในชั้นเรียน

สุดท้ายนี้ดิฉันอยากจะบอกว่า โรคกลัวการเข้าสังคม ส่งผลถึงภาวะการปรับตัวผิดปกติ นั้นไม่ได้น่ากลัวเพียงแค่เราต้องรู้จักการจักการกับอารมณ์ของตนเอง รู้จักและเข้าใจในตนเองอยู่เสมอ ดิฉันของให้ทุกท่านมีสุขภาวะที่ดีเพื่อชีวีเป็นสุขนะคะ

ขอบคุณค่ะ



Reference :

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมภพ เรืองตระกูล และคณะ. คู่มือจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เรือนแก้ว; 2536.

นันทวัช สิทธิรักษ์. จิตเวช ศิริราช DSM-5. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ:ประยูรสาส์นไทย; 2558.

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603350เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท