พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์ สู่การเปลี่ยนแปลง เด็กและวัยรุ่นที่เกเร สู่การฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคมไทย


สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลค่ะ หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าเด็กและวัยรุ่นที่เกเรจะฟื้นคืนสู่สุขภาวะสังคมไทยได้อย่างไร ก่อนอื่นเราจะมาทำความรู้จักกับ โรคเกเร/ความประพฤติผิดปกติ(Conduct Disorder: CD) ก่อนว่าคืออะไร
โรคเกเร/ความประพฤติผิดปกติ (Conduct Disorder: CD) เด็กจะมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรงคล้ายอันธพาล มีการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อื่นหรือฝ่าฝืนกฎระเบียบของสังคมอย่างสม่ำเสมอ โดยจะมีอาการแสดง2ด้าน คือ
1. ด้านอารมณ์
จะมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ความอดทนต่ำ ไม่รู้สึกละอาย/รู้สึกผิดต่อสิ่งที่ได้ทำลงไป มักมีความวิตกกังวลภายในใจ ลึกๆแล้วไม่มีความมั่นใจในตนเอง ในบางรายอาจมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย
2.ด้านพฤติกรรม
ก้าวร้าวรุนแรง มักมีเรื่องทะเลาะวิวาท ข่มขู่ผู้อื่น มีพฤติกรรมลักขโมย พูดโกหก ทำลายทรัพย์สิน หนีเรียน/หนีออกจากบ้าน ใช้สารเสพติด บางรายอาจมีพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม
เกณฑ์การวินิจฉัยปัจจุบันพิจารณาตาม DSM-V ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมเพื่อศึกษาพฤติกรรมที่เฉพาะมากขึ้นในแต่ละด้าน ปัญหาอารมณ์และพฤติกรรมกระทบถึงความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นสูง,การเรียน,การทำกิจกรรมยามว่าง,การนอนหลับรวมไปถึงการมีส่วนร่วมทางสังคมที่กระทบอย่างมาก
วิธีการบำบัดรักษาสามารถทำได้ด้วยหลายทางร่วมกัน เช่น การทานยาร่วมกันการปรับพฤติกรรม ซึ่งบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดคือการทำให้เด็กสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติร่วมกันกับบุคคลอื่นในสังคม
การปรับที่ตัวเด็ก เริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์อันดีและไว้วางใจระหว่างผู้บำบัดและเด็ก,ใช้เทคนิคการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการให้แรงเสริมที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมและความคิดที่เหมาะสมถูกต้องตามกฎระเบียบของสังคม
การปรับที่ผู้ปกครอง ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น,สาเหตุและแนวทางการบำบัดรักษา โดยส่วนร่วมที่จะปรับพฤติกรรมของเด็กที่ผู้ปกครองสามารถทำได้เช่น การปรับวิธีการลงโทษจะต้องไม่ลงโทษด้วยอารมณ์ อธิบายถึงสาเหตุว่าทำไมถึงลงโทษและการวางเงื่อนไขที่ชัดเจนก่อนการจะเกิดพฤติกรรมที่นำไปสู่การลงโทษ กิจกรรมที่เสริมสร้างการใช้เวลาร่วมกันของครอบครัวจะช่วยให้มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
การปรับที่สิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสให้เด็กได้เจอสังคมใหม่ๆ ห่างจากสถานที่/แหล่งมั่วสุมที่อาจก่อให้เกิดการใช้สารเสพติด,สุราหรือบุหรี่ สิ่งแวดล้อมควรมีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
ตัวอย่างกิจกรรม เช่น สอบถามถึงความสนใจหรือความสามารถที่เด็กมีเกี่ยวกับกีฬาหรือกิจกรรมยามว่างที่ชอบ แล้วจึงชักชวนให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่สนใจเหล่านั้นอีกครั้ง สิ่งที่เลือกมาจากความสนใจจะทำให้เกิดแรงจูงใจเพื่อทำสิ่งๆนั้น กิจกรรมสามารถเป็นได้ทั้งกลุ่มหรือเดี่ยวขณะที่ทำกิจกรรมหากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมการใช้วิธีปรับพฤติกรรมเข้ามาช่วยจะทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ที่มากกว่าเพียงแค่การบรรยายให้ฟัง
หรืออาจจะเป็นกิจกรรมจิตอาสาต่างๆเพื่อให้เด็กได้ใช้ทักษะความสามารถที่มีอยู่ทำบางสิ่งบางอย่างให้ผู้อื่น กิจกรรมนี้ช่วยเพิ่มการตระหนักรู้ในความสามารถของตนเอง(Self-efficacy)และรู้ถึงคุณค่าของตนเอง(Self-esteem)
สิ่งที่สำคัญในการจะฟื้นฟูเด็กเพื่อกลับสู่การดำเนินชีวิตตามปกตินั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเด็กไม่ว่าจะเป็นนักกิจกรรมบำบัด,คุณครู,ผู้ปกครองและที่สำคัญคือตัวเด็กเอง ดิฉันหวังว่าเด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์เหล่านี้จะได้กลับมาใช้ชีวิตร่วมกันกับเพื่อนในโรงเรียน ในสังคม เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆร่วมกัน

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603349เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท