Promession นวัตกรรมการจัดการศพยุคใหม่


นวัตกรรมการจัดการศพที่ทันสมัย

Promession_Introduction of method



Promession คือ นวัตกรรมการจัดการศพยุคใหม่
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายธรรมชาติ
มาจากแนวคิดในการอนุรักษ์ศพหลังความตายในรูปแบบสารอินทรีย์
ที่ทำให้การฝังเถ้ากระดูกกลายเป็นธาตุสารอาหารให้กับพืชได้

Promession เป็นเรื่องธรรมชาติ ธรรมดา
ด้วยวิธีการขจัดของเสียหรืออีกนัยหนึ่งคือทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์
เพื่อให้ชีวิตที่งดงามได้เกิดใหม่อีกครั้งหลังความตาย

Promession มาจากภาษาอิตาลี promessa หรือ promise
Susanne Wiigh-Mäsak ใช้เวลาทบทวน
และคิดแนวคิดในเรื่องนี้เป็นเวลากว่า 20 ปี
ก่อนนำมาเผยแพร่และนำไปใช้งานจริงในหลายประเทศ
โดยเธอได้ตั้ง Promessa Organic AB ในปี 1997
เพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวนี้

Susanne Wiigh-Mäsak เป็นนักชีววิทยาชาว Swedish
ที่มีจิตใจและวิธีคิดแบบนักวิทยาศาสตร์
และมีจิตนาการเหมือนกับศิลปิน
แนวคิดดังกล่าวมาจากประสพการณ์
การทำธุรกิจพืชสวน/เกษตรกรรมของเธอ

เธอตั้งขอสงสัยว่า ทำไมไม่ใช้ศพคนมาทำเป็นดิน/ปุ๋ย
เพื่อให้ชีวิตใหม่เกิดขึ้นหลังการตายของแต่ละคน
แมัว่าแนวคิดนี้จะเป็นเรื่องธรรมชาติ ธรรมดา
แต่ผู้คนจำนวนมากยังมีอคติมากในเรื่องนี้เช่นกัน
เพราะยังทำใจไม่ได้หรือยอมรับไม่ได้ในเรื่องแบบนี้

กระบวนการดังกล่าวของ Susanne
จึงค่อนข้างอ่อนโยนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมือนเปรียบเทียบกับ
การเผาศพหรือฝังศพในแบบเดิม ๆ
ซึ่งต้องสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก
แต่จากกระบวนการดังกล่าวนี้จะแปรรูปศพให้เป็น
สารอินทรีย์ที่ถูกสุขลักษณณะ
ใช้เวลาเพียง 6-12 เดือนก็จะกลายเป็น
ปุ๋ยธรรมชาติของพืชคล้ายความทรงจำที่ยังมีชีวิต
สำหรับครอบครัวและเพื่อนพ้องน้องพี่ของคนตาย



Susanne Wiigh-Mäsak


กระบวนการของ promession ค่อนข้างเรียบง่ายและได้ผลดียิ่ง
ใช้เนื้อที่เพียง 99 ตารางเมตร ในการติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องจักร

1. ศพจะถูกแช่แข็งที่ความเย็นติดลบ -18 ° C ราวหนึ่งถึงสองวัน

2. นำศพไปทำกระบวนการ Cryogenic freezing :
liquid nitrogen (ไนโตรเจนเหลว) ที่ความเย็นติดลบ -196 ° C
เพื่อทำให้ศพเย็นจนแข็งกลายสภาพเหมือนก้อนผลึก

3. นำศพที่เป็นก้อนผลึกเข้าเครื่องเขย่าในเวลาเพียงไม่กี่นาที
ศพจะแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเต็มไปหมด

4. รวบรวมนำศพที่เป็นเศษละเอียดนี้เข้าเตาแบบ Freeze Drying
ที่จะจัดการของเหลวในศพให้ระเหิดกลายเป็นไอน้ำ
เพื่อระเหิดน้ำไปทั้งหมดแล้วจนเหลือแต่ส่วนที่แข็ง/แห้งไม่มีหยดน้ำแล้ว
มวลศพมนุษย์จะมีส่วนที่เป็นน้ำ/ของเหลวประมาณร้อยละ 70
เมื่อระเหิดเสร็จแล้วจะเหลือเถ้ากระดูกราวร้อยละ 30
หรือน้ำหนักศพ 70 กิโลกรัมทำด้วยกระบวนการนี้จะเหลือราว 20 กิโลกรัมเศษ

ข้อมูลเพิ่มเติม Freeze drying / การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง http://goo.gl/Cg6h0l

5. นำเถ้ากระดูกเข้าเครื่องคัดแยกโลหะหนักออกก่อน เช่น เหล็กดามกระดูก วัสดุอุดฟัน เป็นต้น
จากนั้นนำเถ้ากระดูกใส่โลงที่ย่อยสลายได้ง่ายไปบรรจุโลงศพแบบย่อยสลายได้

เพื่อนำโลงศพไปฝังในพื้นดินไม่เกินกว่า 30-50 เซ็นติเมตร
ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่ครอบครัวประสงค์จะดำเนินการต่อไป
โลงศพพร้อมกับเถ้ากระดูกนี้จะย่อยสลายได้หมดในเวลา 6-12 เดือน
ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติและประเภทพืชที่ปลูก
โดยจะกลายเป็นปุ๋ยให้กับพืชหรือต้นไม้ต่อไป
เป็นสัญญลักษณ์ของการงอกงาม
และชีวิตใหม่หลังความตายต่อไป



ตั้งแต่ปี 2004 เธอได้ทำการทดลองโดยเริ่มจากศพหมู วัว
ด้วยการสนับสนุนของ AGA Gas
http://www.aga.se/en/index.html
อย่างไรก็ตามบุคคลภายนอกควรติดต่อทำข้อตกลงกับ Promessa
เพื่อสอบถาม/สั่งวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับ promession ในการจัดการศพมนุษย์

Susanne Wiigh-Mäsak ได้รับความสนใจในการทำเรื่องนี้และได้รับการติดต่อมากกว่า 60 ประเทศแล้ว
เช่น เวียตนาม อังกฤษ แอฟริกาใต้ เนเธอแลนด์ แคนนาดา และ สหรัฐอเมริกา
ในเกาหลีใต้เทคโนโลยีนี้ได้รับการยอมรับว่าใช้งานได้ถูกต้องตามกฎหมาย
ส่วนในหลายประเทศในบางรัฐยังติดขัดในข้อกฎหมายอยู่บ้างเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม Susanne Wiigh-Mäsak
ยังต้องทำงานร่วมกับกลุ่ม NGO ต่าง ๆ ในหลายประเทศ
และคนที่มีจิตอาสาที่จะสนับสนุน/บริจาคให้กับ Promessa
เพื่อความยั่งยืนของสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
และการขับเคลื่อนให้ Promession ได้รับการยอมรับ
และสามารถนำไปใช้งานได้จริงในอีกหลายประเทศ

ในการทำโพลของ Ny Teknik ใน Sweden
Promession ได้รับการยอมรับมากที่สุดว่า
เป็นหนึ่งใน 70 ธุรกิจนวัตกรรมใน Sweden



ประเทศที่ติดต่อและสนใจ Promession



เรียบเรียง/ที่มา

http://goo.gl/3QxQNo
http://goo.gl/jWmR6R
http://goo.gl/MnWX5V


หลวงพ่อปัญญาเทศน์เรื่อง ให้ไปลอยอังคารในทะเล
แทนการใส่บัวหรือเก็บไว้ที่วัดวาอาราม
ตัด­เสียงมาเฉพาะท่อนเรื่องนี้ความยาว 6.33 นาที

ทุกชีวิตเป็นเช่นนั้นเอง

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603341เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท