พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์สู่การเปลี่ยนแปลง ...เด็กสมาธิสั้น... สู่การฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคมไทย


โรคสมาธิสั้น (Attention deficit/ Hyperactivity disorder; ADHD)


ที่มาของรูป: http://lakeorioncc.com/adhd/

"โรคสมาธิสั้น" เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ส่งผลให้เกิดปัญหาพฤติกรรม โดยมีอาการหลักอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ อาการขาดสมาธิ, อาการซน และอาการหุนหันพลันแล่น ซึ่งจะต้องแสดงอาการมากกว่า 2 สถานที่ และพบมากในเด็กวัยเรียน

อาการ

  • อาการขาดสมาธิ (Inattention) คือ ขาดสมาธิ วอกแวกง่าย มักเหม่อลอย ทำงานช้า ทำงานไม่สำเร็จ ไม่ค่อยรอบคอบ และมักทำของหายบ่อยๆ
  • อาการซน (Hyperactivity) คือ อยู่ไม่นิ่ง จับโน่นจับนี่ตลอด นั่งนิ่งๆไม่ค่อยได้ ชอบปืนป่าย เล่นแรงๆ ชอบเล่นผาดโผน ชอบแกล้งคนอื่น พูดมากและชอบชวนคุย
  • อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) คือ ใจร้อน วู่วาม ทำอะไรไม่ค่อยคิดถึงผลล่วงหน้า ขาดความระมัดระวัง และชอบพูดแทรก

สาเหตุ

  • พันธุกรรม จากความผิดปกติของยีน พบว่า หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคสมาธิสั้น จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมากกว่า
  • ความผิดปกติของสารสื่อประสาท โดยพบว่า มี Dopamine ต่ำ ที่บริเวณ Synaptic clef และ Noradrenaline ทำงานลดลง
    *ทั้งนี้ "ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม" ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดอาการข้างต้นมากขึ้น เช่น การเลี้ยงดู เป็นต้น

ตาม "เกณฑ์การวินิจฉัย DSM 5" โรคสมาธิสั้นจะต้องแสดงอาการข้างต้น ก่อนอายุ 12 ปี และต้องแสดงอาการดังกล่าวนานกว่า 6 เดือน โดยต้องมีอาการ 6 ใน 9 ข้อ แต่สำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ (อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 17 ปี) ให้แสดงอาการ 5 ใน 9 ข้อก็เพียงพอ เพราะเมื่อโตขึ้น ทำให้มีวุฒิภาวะมากขึ้น จึงสามารถควบคุมตนเองได้บ้างในบางอาการ เช่น อาการซนอยู่ไม่นิ่ง เป็นต้น


ส่วนหนึ่งของเกณฑ์การวินิจฉัย (ขอขอบคุณเจ้าของภาพ)

เด็กสมาธิสั้นมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และโรคที่เป็นร่วมกับโรคสมาธิสั้นมากที่สุด คือ "โรคดื้อและต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder)"

พยากรณ์โรคสมาธิสั้น

30% ของเด็กสมาธิสั้น เมื่อโตขึ้นอาการจะหายไป

40% จะยังคงมีอาการอยู่ แต่ไม่รบกวนการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตมากนัก

แต่อีก 30% พบว่าอาการไม่ดีขึ้น ส่งผลให้ ไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน ขาดแรงจูงใจ ขาดความยับยั้งชั่งใจ ทำให้ติดยาเสพติดได้ มีบุคลิกภาพแบบ Antisocial และมีโอกาสกระทำความผิดทางกฎหมายได้

เด็กสมาธิสั้น มักพบในวัยเรียน จึงทำให้มีความยากลำบากในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะใน "กิจกรรมการเรียน" เช่น อยู่ไม่นิ่ง ไม่สนใจ ทำงานในห้องเรียนไม่ได้ เป็นต้น, "การเข้าสังคม" เช่น การเล่นแรงๆ แกล้งเพื่อนมากๆ เป็นต้น และ "การเล่นหรือกิจกรรมยามว่าง" เช่น การเล่นกับเพื่อน เป็นต้น


ที่มาของรูป: http://yaletownnaturopathic.com/a-naturopathic-app...

จากที่ข้างต้น โรคสมาธิสั้นส่งผลกระทบมากมายต่อเด็ก และมีโอกาสที่จะส่งผลต่อสังคมได้ ดังนั้นเราจึงควรให้เด็กได้รับการบำบัดรักษาให้เร็วที่สุด (Early intervention) โดยหนึ่งในกระบวนการบำบัดรักษาเด็กสมาธิสั้นนั้น ก็คือ “กิจกรรมบำบัด” ซึ่งมีกระบวนการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด ดังนี้

การประเมินทางกิจกรรมบำบัด ตามแบบจำลองทางกิจกรรมบำบัด PEOP model ดังนี้

P: Person (บุคคล)

E: Environment (สิ่งแวดล้อม)

O: Occupation (กิจกรรม)

P: Performance
(การแสดงความสามารถ)

- สัมภาษณ์ผู้รับบริการเกี่ยวกับชีวิตประจำวันทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนและความต้องการ

- สัมภาษณ์ความสนใจ โดยใช้ Interest checklist และแรงจูงใจ

- สังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรม

- ทดสอบการบูรณาการประสาทความรู้สึก โดยใช้ Sensory profile เนื่องจากโรคสมาธิสั้นมักมีปัญหาการบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมด้วย

- สิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนที่ส่งผลต่อเด็ก เช่น ตำแหน่งที่นั่งในห้องเรียน เป็นต้น

- สัมภาษณ์ผู้ปกครองและคุณครู เกี่ยวกับทัศนคติต่อโรคและเด็ก รวมถึงพฤติกรรมของเด็ก

- กิจกรรมการเรียนในโรงเรียน

- การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโรงเรียน

- ความสามารถในการเรียน

- ความสามารถในการมีส่วนร่วมในโรงเรียน โดยใช้ แบบประเมิน SFA

P + E + O + P = Well-being (สุขภาวะ)

-สัมภาษณ์ความพึงพอใจในการดำเนินชีวิต

-แบบประเมิน FACIT-Sp, แบบประเมินการฟื้นคืนสุขภาวะ


การวิเคราะห์ปัญหาเด็กสมาธิสั้น ดังนี้

P: Person (บุคคล)

E: Environment (สิ่งแวดล้อม)

O: Occupation (กิจกรรม)

P: Performance
(การแสดงความสามารถ)

- มีอาการขาดสมาธิ, ซน, หุนหันพลันแล่น

- การควบคุมตนเอง (Self-regulation)

- ขาดแรงจูงใจ (วัยรุ่น)

- สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ โรงเรียนและบ้าน

- สิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว, คุณครู และเพื่อน

- การเรียน

- การเข้าสังคม

- การเล่น/ กิจกรรมยามว่าง

- ไม่สามารเรียนในห้องเรียนได้เหมือนกับเด็กในวัยเดียวกัน

- มีความยากลำบากในการเข้าสังคม

P + E = Motivation (แรงจูงใจ)

สามารถส่งแรงจูงใจได้ โดยการปรับที่ตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม

-ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กครอบครัวและโรงเรียนให้ความร่วมมือ

-ฝึกการควบคุมตนเอง โดยการปรับพฤติกรรม

P + E + O = Abilities (ความสามารถ)

สามารถเพิ่มความสามารถได้ โดยการปรับที่ตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม รวมทั้งการปรับกิจกรรมการเรียนและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมโรงเรียน ให้สอดคล้องกับความสามารถ


การบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด

Therapeutic Relationship to recovery

Therapeutic Environment to empowerment

Therapeutic Use of self to empathy

Therapeutic Skill to active learning

การสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการเด็ก ในการพูดคุยให้ไว้ใจ และร่วมมือในการทำกิจกรรมการบำบัดรักษา

- พูดคุย ให้ความรู้กับครอบครัว คุณครู เพื่อให้มีทัศนคติที่ดีต่อเด็กและโรคที่เด็กเป็น เพื่อให้ช่วยเหลือเด็กร่วมกันอย่างเต็มที่

- จัดที่นั่งในห้องเรียน ให้เด็กนั่งตรงกลางห้อง เพื่อลดสิ่งเร้าทางสายตาจากหน้าต่างหรือประตู

- ให้นั่งข้างเพื่อนที่เรียบร้อย ไม่คยในห้องเรียน

- จัดหา Buddy ให้กับเด็ก เพื่อเป็นต้นแบบให้เด็กในการเข้าสังคม (Peer role model)

- ลดสิ่งเร้าที่บ้าน, ครอบครัวช่วยกระตุ้นให้เด็กสนใจ

- ใช้ตนเองเป็นสื่อ ในการพูดคุยและบำบัดรักษา

- เข้าใจและเห็นใจในตัวเด็กและโรคของเด็ก และบำบัดรักษาเด็กอย่างเต็มความสามารถ

- วิเคราะห์กิจกรรมการเรียน (Activity analysis) พิจรณาในการปรับความยากง่ายของกิจกรรมหรือวิธีการเรียนการสอน เพื่อจัดทำ IEP (Individual educational program)แผนการเรียนการสอนสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ซึ่งทำร่วมกับครอบครัว คุณครู และวิชาชีพอื่นๆ เช่น การสั่งงาน ให้สั่งช้าๆ ชัดๆ ทีละอย่าง/ ขั้นตอน เป็นต้น

- ปรับพฤติกรรม โดยการให้คำชมเด็กทันที เมื่อเด็กสามารถทำกิจกรรมได้สำเร็จ หากเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่หมาะสม ให้พูดคุยอย่างเข้าใจ ไม่ต่อว่าเด็ก

-เด็กที่ชอบเล่นแรงๆ ให้ครอบครัวชวนเด็กทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น การทำงานบ้าน เป็นต้น เพื่อให้เด็กออกแรงไปกับกิจกิจกรรมที่มีเป้าหมายแทน

- แนะนำครอบครัว ให้สนับสนุนเด็กในการทำกิจกรรมที่สนใจ เพื่อเพิ่มความมั่นใจและแรงจูงใจแก่ตัวเด็ก

- การจัดกลุ่มกิจกรรมตามระดับความรู้ความเข้าใจ 4-5 โดยทำกิจกรรมกลุ่มระดับ “อารมณ์ร่วมใจ (Cooperative group)” เพื่อให้เด็กได้มการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ฝึกการแสดงความคิด ช่วเหลือเพื่อน ถือเป็นการส่งเสริมทักษะทางสังคม

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถ้าหากเด็กสมาธิสั้นได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก ก็จะส่งผลให้เด็กมีความมั่นใจ มีแรงจูงใจ และมีความสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆได้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เด็กมีความสุข ความพึงพอใจในชีวิต และสามารถฟื้นคืนสุขภาวะในสังคมได้


ที่มาของรูปภาพ: http://www.huffingtonpost.co.uk/2015/05/19/happies...

ขอขอบคุณ

-นันทวัช สิทธิรักษ์. จิตเวช ศิริราช DSM-5. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์; 2558.
-วรรณภร สมุทรอัษฎงค์. โรคดื้อ (Oppositional Defiant Disorder) [เอกสารอิเล็กทรอนิกส์]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 6 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://taamkru.com/th/โรคดื้อ/
-สันต์ ใจยอดศิลป์,นพ. โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactive disorder – ADHD) [เอกสารอิเล็กทรอนิกส์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://phyathaihospital.com/home/health-expert/252...

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603351เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท