ตำราชีวิต : กิจกรรมบำบัดกับผู้ป่วย Bipolar Disorder ระยะ Depression ในวัยรุ่น


(รูปภาพจาก : bipolarhelpers.com )

วันนี้เรื่องที่ดิฉันจะนำมาเล่าสู่กันฟังคือ "ตำราชีวิต" เล่มแรกของดิฉันค่ะ มีชื่ออย่างสวยหรูว่า "OT Intervention Bipolar Major Depression in adolescent" หรือ กิจกรรมบำบัดกับผู้ป่วย Bipolar ระยะ Depression ในวัยรุ่น นั้นเอง อย่างที่ทราบกันว่าโรค Bipolar disorder หรือโรคอารมณ์ 2 ขั้ว เป็นโรคทางจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าในปัจจุบันมีอัตราคนที่เป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นสูงมาก และสามารถเป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่นกันเลยทีเดียว ดังนั้น นี้จึงเป็นสิ่งที่จุดประกายอยากให้ดิฉันค้นคว้าเรื่องราวและวิธีการบำบัดรักษาโรคนี้ จนเกิดเป็นตำราชีวิตเล่มนี้ขึ้นมานั้นเองค่ะ :D

บทที่ 1 : PEOP interaction

เนื่องจากผู้รับบริการเป็นวัยรุ่น เราจึงสามารถอ้างอิงตามกรอบทางกิจกรรมบำบัด Person Environment Occupation Performance Model [PEOP] ได้ดังนี้

(ด้าน Social participation)

  • (P) Person : เป็น Bipolar Major Depression disorder , Adolescence
  • (E) Environment : ครอบครัว,สังคม
  • (O) Occupation : social participation ; เป็นสมาชิกในครอบครัว/ชุมชน
  • (P) Performance : สามารถพูดจาสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ , รับรู้อารมณ์ของผู้สื่อสาร

(ด้าน Education)

  • (P) Person : เป็น Bipolar Major Depression disorder , Adolescence
  • (E) environment : อาจารย์,เพื่อนร่วมห้อง,มหาวิทยาลัย
  • (O) occupation : Education ; เป็นนักศึกษา
  • (P) performance : สามารถมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการเรียนได้ ,สามารถควบคุมตนเองให้มีส่วนร่วมในการเรียนได้

(รูปภาพจาก : nursing.advanceweb.com)

บทที่ 2 : Evidence base practice (EBP) levels

  • Client's performance outcome measure : จากการศึกษางานวิจัยทั้งหมดนั้น ได้ผลที่ออกมาเพื่อนำมาปรับใช้ในการบำบัดรักษาผู้รับบริการที่เป็น Bipolar Major Depression ในวัยรุ่น เกี่ยวกับเรื่อง Social participation และ Education รวมถึงมีงานวิจัยที่อ้างอิงถึงแนวทางการแก้ปัญหา low Self-esteem , Short attention span , Low interpersonal skills ที่เป็นปัญหาหลักในผู้รับบริการ Bipolar Major Depression
  • Client's condition + framework : จากในงานวิจัยที่ศึกษามามี Framework ที่สามารถนำมาใช้กับคนไทยได้คือ Psychoeducation FoR. ซึ่งการให้ความรู้กับครอบครัวผู้รับบริการในเรื่องตัวโรคและการดูแล สนับสนุนทั้งทางกายและใจ ก็ได้มีหลายวิชาชีพที่นำมาใช้ ทั้งแพทย์,พยาบาล,นักจิตวิทยา รวมถึง นักกิจกรรมบำบัด ก็ใช้ Framwork นี้เป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดรักษาเช่นกัน
  • Client's contextualization : เนื่องจากผู้รับบริการเป็นวัยรุ่น ดังนั้นบริบทของผู้รับบริการคือ ครอบครัว,เพื่อน,สังคมวัยเรียน,โรงเรียน,อาจารย์
  • Client's occupation + Clinical reasoning + Needs : Occupation ใน Evidence ประกอบด้วย Social participation , Education
  • Non OT : จากงานวิจัยที่ศึกษา ในเรื่องการให้ Psychoeducation กับครอบครัวผู้รับบริการ เป็นงานวิจัยของนักจิตวิทยาและพยาบาลจิตเวช โดยทางกิจกรรมบำบัดนั้นเราสามารถนำมาปรับใช้ได้โดย การให้คำปรึกษาและความรู้ในเรื่องของ Bipolar Major depression กับครอบครัว ซึ่งจะประกอบไปด้วยการ ประเมินทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว ในเรื่องความต้องการของผู้รับบริการ การทำกิจวัตรประวัน ทัศนคติของครอบครัวต่อผู้รับบริการ , การให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรคและแนะนำวิธีการปฏิบัติตัว ,การเฝ้าสังเกตอาการเตือนในช่วงแรก , การจัดการกับพฤติกรรมที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย รวมถึงการฝึกทักษะทางสังคมและทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งจุดมุ่งหมายในการให้ Psychoeducation เพื่อช่วยส่งเสริมทักษะทางสังคมของผู้รับบริการ และ ให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยตัวเองอย่างอิสระที่สุด

(รูปภาพจาก : http://www.vikypedia.in/)

บทที่ 3 : Knowledge management (OT media)

นักกิจกรรมบำบัดจะมีการใช้สื่อทางกิจกรรมบำบัดเพื่อประกอบในการบำบัดรักษา โดยประกอบไปด้วย 5 อย่างคือ

  • 1.Therapeutic use of self : การใช้ตนเองเป็นสื่อในการบำบัดรักษาโดย นักกิจกรรมบำบัดจะแสดงบทบาททั้งการเป็นผู้สอนและผู้ช่วยให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงช่วยดึงความสามารถของผู้รับบริการเพื่อให้เขาสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง และนักกิจกรรมบำบัดยังต้อง active friendliness ในขณะทำกิจกรรม, มีการให้แรงเสริมเมื่อผู้รับบริการสามารถทำงานสำเร็จ (reinforcement อีกทั้งนักกิจกรรมบำบัดยังแสดงบทบาทต่างๆในการส่งเสริมทักษะความสามารถของผู้รับบริการ เช่น แสดงสถานการณ์ในการเข้าสังคมกับผู้รับบริการ โดยให้จำลองสถานการณ์มา มีนักกิจกรรมบำบัดแสดงเป็นผู้สื่อสารโต้ตอบด้วย เพื่อให้ผู้รับบริการรู้จักทักษะวิธีการเข้าสังคมผ่านการ Role play
  • 2.client relationship : ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับผู้รับบริการ โดยครอบครัวจะต้องมีการให้ความร่วมมือกับผู้บำบัดในการบำบัดฟื้นฟูและ support ผู้ป่วย เพื่อช่วยลดความเครียดจากอาการของผู้รับบริการที่มีต่อครอบครัว รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัดกับผู้รับบริการจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี ผู้บำบัดต้องมีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ผู้รับบริการ ไม่ตอกย้ำหรือซ้ำเติม รวมถึงรับฟังปัญหาและช่วยเขาคิดแก้ไขปัญหา แต่จะไม่ไปแก้ปัญหาให้เขาโดยตรง
  • 3.environment modification : การปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการทำกิจกรรม โดยในตัวโรค Bipolar Major Depression นี้ผู้รับบริการจะมีปัญหาในเรื่องความจำ ไม่มีสมาธิในการเรียน จึงควรมีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบต่อการเรียน ไม่มีสิ่งเร้ารบกวน รวมถึงจัดของให้เป็นหมวดหมู่ มีป้ายบอกชื่อสิ่งของ หรือมีรูปภาพช่วยบอกขึ้นตอนในการทำ
  • 4.Activity analysis : การนำกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจมาเป็นสื่อในการบำบัดรักษาและมีการวิเคราะห์กิจกรรมเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบในการทำกิจกรรมรวมถึงการปรับท้าทายความสามารถ (Grading) และปรับประยุกต์กิจกรรม (Adaptive activity) เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้รับบริการ เช่น การให้ผู้รับบริการทำแซนวิสสังขยา มีขั้นตอนการทำคือ หยิบขนมปังออกจากถุง ->ทาไส้สังขยาใส่ขนมปัง -> ประกบขนมปัง -> ตัดแบ่งครึ่ง แต่หากผู้รับบริการมีความสามารถที่เพิ่มขึ้น ก็อาจมีการปรับระดับความยากขึ้นโดยให้มีหลายไส้มากขึ้น,รูปร่างการตัดซับซ้อนมากขึ้น ฯลฯ หรือหากเขาไม่สามารถทำได้ เราอาจมีการปรับประยุกต์ใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยให้เขาทำได้ เช่น การติดลำดับเลขเพื่อช่วยในการจำขั้นตอนการทำ เป็นต้น
  • 5.Teaching and learning : กระบวนการสอนในผู้รับบริการทางจิตเวชจะเป็นกระบวนการที่ทำหลังจากการวางแผนการรักษาแล้ว โดยมีการให้ผู้รับบริการทำไปพร้อมๆกับนักกิจกรรมบำบัด หรือนักกิจกรรมอาจเป็น Model ให้ผู้รับบริการทำตาม โดยการสอนอาจเป็นแบบ Group activity หรือเป็นแบบเดี่ยวก็ได้ เช่นการสอนท่ากายบริหาร ,สาธิตขั้นตอนในการทำงาน รวมถึงการสอนทักษะในการเข้าสังคมด้วย

(รูปภาพจาก : www.audit.dmh.go.th)

บทที่ 4 : Knowledge Translation : กระบวนการทาง OT

1. สร้างสัมพันธภาพ : เริ่มแรกเราจะต้องมีการสร้างความสัมพันธภาพกับผู้รับบริการโดยเราจะต้องเข้าหาเขาแบบเข้าใจและเป็นมิตร ยิ้มแย้ม สร้างความรู้สึกผ่อนคลาย มีการสบตากับผู้รับบริการ ดำเนินบทสนทนาอย่างเป็นกันเอง เป็นผู้รับฟังแบบ Active listening คือแสดงความสนใจ รับฟัง และมีปฏิกิริยาตอบกลับในขณะที่ผู้รับบริการพูด ที่สำคัญคือควรมีท่าทีที่ผ่อนคลาย ใส่ใจต่อความสุขสบายของผู้รับบริการเพื่อให้เขารู้สึกไว้วางใจและปลอดภัย และยอมที่จะให้ข้อมูลเพื่อการรักษากับเรา

2. ตรวจประเมิน : เป็นการประเมินเพื่อหาปัญหา มีการแยกแยะปัญหาและชี้แจงปัญหาให้ผู้รับบริการได้ทราบตรงกัน เพื่อตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้รับบริการ โดยเลือกเอาปัญหาที่สำคัญขึ้นมาก่อน โดยการประเมินจะมีทั้งการสังเกต,สัมภาษณ์,ทดสอบ,การค้นจากแฟ้มประวัติ

  • การประเมินจากการสังเกตและสัมภาษณ์ :
    • -ประเมิน Social participation โดยใช้การสังเกตผู้รับบริการในระหว่างการทำกิจกรรมหรือการสัมภาษณ์ผู้ดูแลหรือผู้รับบริการ
    • -ประเมิน Education โดยการสัมภาษณ์ผู้รับบริการหรือผู้ดูแลถึงความสนใจในการเรียนและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
  • การประเมินจากการทดสอบ :
    • - มีการประเมินกิจกรรมยามว่าง (Leisure) ของผู้รับบริการโดยการใช้แบบสอบถามความสนใจในการทำกิจกรรม (Interest Checklist) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้รับบริการใช้เวลาให้เกิดความสมดุล ไม่ให้มีเวลาว่างมากเกินไป โดยการให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมยามว่างที่สนใจ
    • - การประเมินกิจวัตรประจำวัน (ADL) โดยจะใช้แบบประเมินกิจวัตรประจำวันซึ่งประเมินถึงระดับการให้คะแนนความสำคัญและความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิต
    • - ประเมิน Role โดยใช้การประเมินบทบาทของผู้รับบริการ โดยใช้แบบสอบถาม Role Checklist เพื่อประเมินดูบทบาทของผู้รับบริการในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงการให้คะแนนคุณค่าของแต่ละบทบาท
    • - การสอบถามตารางเวลาทำกิจกรรมในแต่ละวัน เพื่อดูช่วงเวลาและความสมดุลในการทำกิจกรรม
  • การค้นข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้รับบริการ เพื่อดูประวัติของผู้รับบริการ การวินิจฉัยโรค การส่งต่อการบำบัดรักษาจากทีมสหวิชาชีพ
  • การประเมิน Need assessment หรือ ประเมินความต้องการจำเป็นนั้นเป็นกระบวนการประเมินเพื่อทำให้เราทราบถึงสภาพปัญหาอย่างแท้จริงที่ผู้รับบริการหรือผู้ดูแลต้องการให้แก้ไข และนำมาใช้ในการวางแผนการรักษาต่อไป
  • การประเมินความสุข โดยการสอบถามผู้บำบัดก่อนและหลังการทำกิจกรรมการรักษา
  • การประเมินตนเองซ้ำหลังจากการให้กิจกรรมการรักษากับผู้รับบริการไป ว่าสิ่งที่เราทำ ดีหรือไม่ดีอย่างไร มีข้อบกพร่องตรงไหน และจะแก้ปัญหาอย่างไร มีวิธีการบำบัดอย่างอื่นที่นอกเหนือจากที่เราทำไหม รวมถึงมีการวางแผนการรักษาในขั้นต่อไปเมื่อเป้าประสงค์ที่วางไว้ขั้นแรกบรรลุแล้ว

3. OT Planning : การวางแผนการรักษาจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลโดยจะบำบัดตามปัญหาที่สามารถประเมินออกมาได้ โดยในผู้รับบริการที่เป็น Bipolar Major Depress มีปัญหาที่สำคัญคือ

  • ขาดการรู้คุณค่าในตนเอง (low Self-esteem)
  • ช่วงความสนใจต่ำ (Short attention span)
  • หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Low interpersonal skills)

โดยการวางแผนการบำบัดรักษา คือ

  • ปัญหา : ขาดการรู้คุณค่าในตนเอง (low Self-esteem)
  • แนวทางการบำบัด :
    • - การส่งเสริมการรับรู้คุณค่าในตัวเองของผู้รับบริการ โดยให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมตามความสนใจ เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการทำกิจกรรมและลดเวลาว่างที่มีมากเกินไปให้ชีวิตเกิดความสมดุลในการทำกิจกรรมเป็นการเพิ่มคุณค่าในตนเอง

- ป้องกันและให้ความรู้กับผู้รับบริการและครอบครัว สนับสนุนทั้งทางกายและทางใจ มีการการสังเกตอาการเตือนในช่วงแรกและจัดการพฤติกรรมเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการใช้ชีวิตในทางลบ

  • ปัญหา : ช่วงความสนใจต่ำ (Short attention span)
  • แนวทางการบำบัด :
    • มีการใช้กิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจมาเป็นกิจกรรมในการรักษา รวมถึงมีการใช้ตนเองเป็นสื่อในการบำบัด (Therapeutic use of self ) ในการใช้ Verbal command ในการกระตุ้นให้ผู้รับบริการทำกิจกรรม รวมถึงการให้แรงเสริมในการทำกิจกรรม
  • ปัญหา : หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Low interpersonal skills)
  • แนวทางการบำบัด :
    • - การส่งเสริม Social participation : เช่นการทำ Role play ในการสร้างสถานการณ์เพื่อให้ผู้รับบริการฝึกทักษะ Social skill โดยให้ผู้รับบริการฝึกการสร้างสัมพันธภาพและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

- ให้คำแนะนำในเรื่องตัวโรคและการดูแลทั้งกับตัวผู้รับบริการและครอบครัว ให้มีการสนับสนุนผู้รับบริการไม่ให้เขารู้สึกแปลกแยก และส่งเสริมการเข้าสังคม กระตุ้นให้ผู้รับบริการมีทักษะทางสังคม

4. Follow-up : การติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีการประเมินซ้ำเพื่อดูความก้าวหน้าในการรักษา หากไม่มีความก้าวหน้าก็ต้องมาปรับการรักษาหรือวางแผนการรักษาร่วมกันกับผู้รับบริการใหม่

(รูปภาพจาก : hr2.rmutr.ac.th)

บทที่ 5 : Implication + application

Implication : ความรู้ใหม่ที่ได้จากการทำตำราชีวิตในครั้งนี้คือการได้รับรู้ถึงผลการวิจัยว่าโรค Bipolar major Depression เป็นโรคที่มีอัตราการเป็นเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก โดยจากการสำรวจในประเทศบราซิลอัตราการเป็น Bipolar Major Depression สูงเป็นอันดับ 1 ทั้งในคนรวยและในคนจน (World Health Organization,2004) โดย

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะเกิดอาการซึมเศร้า ,กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ขาดความมั่นในในตนเอง แยกตัวจากสังคม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่างๆตามมา ทั้งมีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย,การติดยา,การใช้ชีวิตในทางลบ ซึ่งก็จะมีวิธีการบำบัดผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ทั้งการรักษาด้วยยา การปรับพฤติกรรม รวมถึงการบำบัดรักษาโดยการให้ Psychoeducation กับครอบครัว โดยประกอบไปด้วยการ ประเมินทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว , การให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรคและแนะนำวิธีการปฏิบัติตัว ,การเฝ้าสังเกตอาการเตือนในช่วงแรก , การจัดการกับพฤติกรรมที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย รวมถึงการฝึกทักษะทางสังคมและทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งจุดมุ่งหมายในการให้ Psychoeducation เพื่อ 1.ช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมของผู้รับบริการ 2 .ลดภาระการดูแลของครอบครัว

Application : ซึ่งดิฉันสามารถนำตำราชีวิตเล่มนี้ที่ทำเกี่ยวกับเรื่อง Bipolar Major Depression มาเป็นตำราเพื่ออ้างอิงในการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตเวชได้ โดยจะสามารถใช้ความรู้ในตำราเล่มนี้ได้ตั้งแต่การใช้เทคนิควิธีการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการที่เป็น Bipolar Major Depression รวมถึงการรู้จักใช้กระบวนการทางกิจกรรมบำบัดเพื่อประเมินแยกแยะปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น และวางแผนการบำบัดรักษาได้ อีกทั้งยังมีการใช้สื่อทางกิจกรรมบำบัดทั้ง 5 ตัวโดยประกอบด้วย Therapeutic use of self , Client relationship , environment modification , Activity analysis, และTeaching and learning เพื่อให้การบำบัดรักษาบรรลุตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้


เอกสารอ้างอิง

1.Andrea Fiorillo.Efficacy of psychoeducationan family intervention for bipolar I disorder: A controlled, multicentric , real-world study.Journal of Affective Disorders [internet].2015.[cite 2015 March 13];291-299. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.jad.2014.10.021

2.Modesto Leite Rolim-Neto.Bipolar disorder incidence between Children and adolescents: A brief communication.Journal of Affective Disorders [internet].2015.[cite 2015 February 6];171-174. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.jad.2014.09.045

3.Lars Vedel Kessing.Diagnostic stability in pediatric bipolar disorder. Journal of Affective Disorders[internet].2015.[cite 2015 March 13];417-421. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.jad.2014.10.037

4.D.bennabi*,B.Aouizerate.Risk factor for treatment resistance in unipolar sepression: A systematic review. Journal of Affective Disorders[internet].2015.[cite 2015 March 13];137-141.Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.jad.2014.09.020

5. Mark Zimmerman,William Ellison. Psychosocial morbidity associated with bipolar

disorder and borderline personality disorder in psychiatric out-patients: comparative study. The British Journal of Psychiatry[internet].2015.[cite 2015 March 24];1-5 .Available from http://bjp.rcpsych.org/content/early/2015/04/14/bj...

หมายเลขบันทึก: 589604เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2015 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 00:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท