ตำราชีวิต ผู้ป่วย Post Stroke กับ Occupational engagement


บทที่ 1 PEOP Interaction

P = Person

  • ผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง
  • ป่วยมาเป็นเวลามากกว่า 5 ปี
  • ความรู้ความเข้าใจดี (cognitive)
  • สามารถเข้าห้องน้ำได้ด้วยตนเอง (toilet independent)
  • จากงานวิจัย พบว่า ผู้รับบริการสามารถออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ได้มากขึ้นและมีภาวะซึมเศร้าลดน้อยลง หลังจากให้เข้าร่วมการฝึก

E = Environment

ปัจจัยภายนอกของตัวบุคคล

  • การปรับสิ่งแวดล้อมในที่ที่ผู้รับบริการอยู่ เช่น บ้าน อุปกรณ์ช่วย เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ
  • จากงานวิจัย พบว่า การปรับสิ่งแวดล้อมทำให้ผู้รับบริการสามารถใช้ชีวิตภายในบ้านและออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านได้สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

O = Occupation

  • กิจกรรมที่ให้สำหรับผู้รับบริการหลังการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น การออกกำลังกาย (exercise and physical activity) กิจกรรมนันทนาการ การออกแผนออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน
  • จากงานวิจัย พบว่า การออกกำลังกายในผู้ป่วย Post stroke จะช่วยลดความล้าเพื่อให้สามารถกลับไปทำกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันได้ ซึ่งความล้าเหล่านี้จะขัดขวางความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและขั้นสูง การเข้าสังคม การนอนหลับ รวมการกลับไปทำงานนอกจากนี้ผู้รับบริการที่ล้าจะขาดแรงใจในการทำกิจกรรมด้วย
P = Perfoemance
  • หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้รับบริการมีทักษะทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้น สามารถเข้าร่วมกิจกรรมนอกบ้านร่วมกับผู้อื่นได้ตามความต้องการ

บทที่ 2 Evidence Based Practice Levels

การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน

  • Life participation post stroke เป็นงานวิจัยที่ทำขึ้น ในกลุ่มควบคุมของผู้ป่วย post stroke เป็นหลักฐานที่อธิบายถึงกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะทางสังคมและอาการซึมเศร้าของในผู้ป่วย post stroke จัดเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือระดับ 3 (level of evidence C) ซึ่งเป็นหลักฐานการศึกษาในกลุ่มควบคุม (Control clinical)
  • Becoming based เป็นงานวิจัยที่รวบรวมข้อมูลมาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบริบทและสิ่งแวดล้อมส่งต่อความสามารถในการประกอบกิจกรรม หลักฐานนี้จัดเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือระดับ 2( level of evidence B) เป็นหลักฐานที่ได้จากงานวิจัยที่เป็นการศึกษาย้อนหลัง (case controlled and cohort studies)
  • Post stroke fatigue เป็นงานวิจัยที่ทำขึ้น ในกลุ่มควบคุมของผู้ป่วย post stroke เป็นหลักฐานที่อธิบายถึงการออกกำลังกายในผู้ป่วย Post stroke จะช่วยลดความล้าเพื่อให้สามารถกลับไปทำกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันได้ จัดเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือระดับ 3 (level of evidence C) ซึ่งเป็นหลักฐานการศึกษาในกลุ่มควบคุม (Control clinical)

บทที่ 3 การจัดการความรู้ Knowledge Management

สื่อทางกิจกรรมบำบัด Media of Occupational Therapy

  • Therapeutic use of self การใช้ตัวผู้บำบัดเป็นสื่ออย่างหนึ่งในการรักษา เช่น การเริ่มสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ เพื่อให้การบำบัดรักษาเป็นไปในทิศทางที่ง่าย โดยก่อนที่ผู้รับบริการจะไปสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ให้ผู้รับบริการเริ่มสร้างสัมพันธภาพกับผู้บำบัด เพื่อเป็นการเรียนรู้นำไปสู่การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นในสังคม
  • Therapeutic Relationship การสัมพันธภาพระหว่างผู้รับบริการและผู้บำบัด โดยผู้บำบัดสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้กับผู้รับบริการ คอยให้คำปรึกษา สนับสนุนช่วยเหลือ และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
  • Activity analysis การวิเคราะห์กิจกรรมให้เหมาะกับผู้รับบริการแต่ละราย ก่อนที่จะนำไปใช้จริง ซึ่งการวิเคราะห์กิจกรรมประกอบด้วย ขั้นตอน ทักษะที่ใช้ รวมถึงการปรับกิจกรรมให้ยากหรือง่ายตามความสามารถของผู้รับบริการและการปรับให้เหมาะกับบริการและสิ่งแวดล้อมที่ผู้รับบริการได้ลงมือทำจริงๆ
  • Teaching and Learning process เป็นการส่งเสริมความสามารถผ่านการถ่ายทอด โดยใช้การอธิบาย สาธิต แนะนำ วิธีการ โดยวิธีที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์ กิจกรรม ความสามารถของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจ และ ทำกิจกรรมออกมาได้สำเร็จตามเป้าประสงค์ที่วางไว้
  • Environment modification การปรับสภาพแวดล้อมทำเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตได้ตามความต้องการโดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุดโดยคำนึงถึงความปลอดภัย การปรับสิ่งแวดล้อม เช่น ปรับบ้านให้เหมาะสมต่อพยาธิสภาพของผู้รับบริการ มีการเพิ่มราวจับในห้อง เพิ่มทางลาดเพื่อให้รถเข็นผ่านได้สะดวก เป็นต้น รวมถึงการแนะนำอุปกรณ์ช่วยที่เหมาะสม

บทที่ 4 Knowledge Translation

Occupational Therapy process

1.สัมภาษณ์

  • การสัมภาษณ์เป็นหนึ่งในวิธีการที่ให้ได้มาซึ่งข้อมูลของผู้รับบริการ ผู้บำบัดจะสอบถามข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์และนำมาใช้ต่อในทางกิจกรรมบำบัด จากตัวผู้รับบริการเองหรือผู้ดูแล โดยการสัมภาษณ์ที่ดีจะต้องเป็นผู้ฟังอย่างตั้งใจ

2.ทดสอบ

เป็นการลองให้เด็กทำทักษะหนึ่งๆเพื่อค้นหาระดับความสามารถของเด็กว่ามีมากน้อยแค่ไหน สิ่งที่ควรทดสอบสำหรับเด็กออทิสติกก็จะอ้างอิงตามพัฒนาการในด้านต่างๆที่ควรจะเป็น

3.สังเกต

สังเกตลักษณะภายนอกต่างๆของผู้รับบริการตั้งแต่แรกเจอ รวมถึงสังเกตขณะทำกิจกรรม

4.ดูแฟ้มเวชระเบียน

การดูแฟ้มประวัติเพื่อดูการวินิจฉัยโรค รวมถึงประวัติการรักษาจากทีมสหวิชาชีพต่างๆ แล้วนำมาเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการบำบัดต่อไป

5.สร้างสัมพันธภาพ

เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพื่อให้ผู้รับบริการไว้ใจ และให้ความร่วมมือในการประเมิน วางแผนการรักษา ตลอดจนการรักษาต่อไป

6.สังเกตความสามารถขณะทำกิจกรรม

การสังเกตขณะทำกิจกรรมจะเห็นความสามารถที่แท้จริงของผู้รับบริการ ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้บำบัดสามารถเก็บรายละเอียดเพื่อนำมาปรับและวางแผนการรักษาต่อไป

7.ดูความสุข

ความสุขของผู้รับบริการทั้งขณะทำกิจกรรมและทั่วไป เป็นสิ่งที่ผู้บำบัดควรให้ความสำคัญ เพราะสามารถเลือกกิจกรรมที่ผู้รับบริการทำแล้วมีความสุขนำมาปรับประยุกต์เพื่อการรักษาต่อได้

8.ดูความต้องการ

ความต้องการต้องมองถึงความต้องการของตัวผู้รับบริการ ญาติ และผู้บำบัด รวมถึงความสามารถเพื่อนำวางแผนปรับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวผู้รับบริการมากที่สุด

9.ดูบทบาท

ในการวางแผนเพื่อทำกิจกรรมการรักษาผู้บำบัดต้องมองถึงบทบาทของผู้รับบริการ เพื่อให้สามารถวางแผนได้ตรงตามบทบาทที่ผู้รับบริการเป็นอยู่ ในผู้รับบริการบางคนอาจมีหลายบทบาท แต่บทบาทเสียไปเนื่องจากถูกจำกัดจากพยาธิสภาพของโรค

10.ประเมินตนเอง ว่าตนได้เรียนรู้อะไรจากเคสนี้บ้าง

ทางเลือกในการให้การบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด เลือกให้เหมาะกับความสามารถและความต้องการของผู้รับบริการ


บทที่ 5 Implication and Application

Implication

จากการศึกษาสามารถนำไปใช้ได้ในผู้ป่วย stroke โดยอาจให้เป็นโปรแกรมการรักษาร่วมกับทีมสหวิชาชีพ หรือ ให้เป็น home program สำหรับผู้ป่วยได้

Application

จากการศึกษาทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ ในผู้ป่วย post stroke ที่ป่วยมาเป็นเวลามากกว่า 5 ปีมีความรู้ความเข้าใจดี (cognitive) สามารถออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ได้มากขึ้นและมีภาวะซึมเศร้าลดน้อยลง หลังจากให้เข้าร่วมการฝึก โดยการฝึกที่ใช้จะเป็น การออกกำลังกาย (exercise and physical activity) กิจกรรมนันทนาการ การวางแผนออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน พบว่า การออกกำลังกายในผู้ป่วย Post stroke จะช่วยลดความล้าเพื่อให้สามารถกลับไปทำกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันได้ ซึ่งความล้าเหล่านี้จะขัดขวางความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและขั้นสูง การเข้าสังคม การนอนหลับ รวมการกลับไปทำงานนอกจากนี้ผู้ป่วยที่ล้าจะขาดแรงใจในการทำกิจกรรมด้วย


โดย

นศ.กบ. ตริตาภรณ์ ชูนาวา

5523007

หมายเลขบันทึก: 589600เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2015 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2015 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท