ตำราชีวิตกับการค้นคว้า


Person Environment Occupation Performance Model


เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักกิจกรรมบำบัด ถึง PEOP (Person Environment Occupation Performance Model) ซึ่งโมเดลนี้เป็นหนึ่งในกรอบสำคัญที่นักกิจกรรมบำบัดจะต้องนำมาใช้ในการให้กิจกรรมการรักษา แน่นอนว่าในทุกๆการให้การรักษา กิจกรรมบำบัดย่อมต้องมีกรอบอ้างอิงเป็นแนวทางให้เลือกใช้เสมอในผู้รับบริการแต่ละประเภท แต่ละราย

หลังจากคาบเรียนวิชา PTOT 336 หลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับนักกิจกรรมบำบัด เราได้ถูกมอบหมายให้เขียนถึง PEOP ที่เข้าใจโดยใช้ความรู้เดิมที่มีในการเขียน ในคาบเรียนนั้นทำให้เราได้มอง PEOP เห็นชัดขึ้นมาเมื่อนำมาเชื่อมโยงกับความเป็นจริง ในอักษร 4 ตัวมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงกันอยู่ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล หน้าที่ กิจกรรมการดำเนินชีวิตของเขา และสิ่งแวดล้อมรายล้อม ซึ่งมี Guideline มาจาก environment-behaviour theories

PEOP แต่ละตัวมีอะไรบ้าง


P – Person หมายถึงตัวบุคคลนั้น ในที่นี้คือผู้รับบริการ ไม่ว่าจะเป็นความสนใจ พยาธิสภาพของโรค ความบกพร่องที่แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ลักษณะตัวบุคคล อายุ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม ลักษณะนิสัย หน้าที่ เป็นต้น

ซึ่งสำหรับตัว P นี้จะเป็นขาแรกเมื่อแยกออกมาทีละตัว เพราะเป็นทุกอย่างในตัวของผู้รับบริการซึ่งจะมองข้ามไปไม่ได้ทีเดียว


E – Environment สิ่งแวดล้อมภายนอกของผู้รับบริการ ไม่ว่าจะเป็นสังคมที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ทำงาน ครอบครัวของผู้รับบริการ รวมถึงภาวะความเจ็บป่วยของผู้รับบริการเองก็เป็นสิ่งแวดล้อมจากภายนอกที่ส่งผลให้ผู้รับบริการได้รับผลกระทบ

บางคนอาจมองข้ามสิ่งแวดล้อม แต่สิ่งแวดล้อมคือปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ เพราะมาจากสิ่งเร้า และสิ่งเร้าก็สามารถส่งผลกระทบได้โดยตรงกับผู้รับบริการ


O – Occupation หมายถึงกิจกรรมการดำเนินชีวิต ในทุกๆกิจกรรมที่ได้ทำในชีวิตประจำวัน

ADL – Activity of Daily Living กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอน อาบน้ำ ล้างหน้าแปรงฟัน เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ต้องทำในกรดำเนินชีวิต

IADL – Instrumental Activity of Daily Living กิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ต้องใช้อุปกรณ์ ที่เป็นกิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้เป็นกิจกรรมที่จำเป็นต้องปฏิบัติเสมอ เช่น การทำความสะอาดบ้าน การล้างรถ รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

Play – การเล่น ในหัวข้อนี้จะเน้นที่ผู้รับบริการเด็ก

Works – การทำงาน

Leisure – กิจกรรมยามว่างของผู้รับบริการคืออะไรบ้าง

Education – การเรียน การศึกษาของผู้รับบริการ

Social Participation – การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเป็นอย่างไร


และตัวสุดท้าย

P – Performance ความสามารถที่แสดงออกมาของผู้รับบริการ ไม่ว่าจะทางด้านจิตใจ ร่างกาย อารมณ์ ทักษะทางสังคม และความสามารถทางองค์ความรู้ ซึ่งผลของกิจกรรมที่ทำต้องวัดผลได้ เช่น การจัดการเฉพาะหน้า การต่อยอดความรู้เดิม ความเชื่อ การปฏิบัติ ทักษะทางการสื่อสาร เป็นต้น

ในท้ายสุดแล้วเมื่อเกิดเป็นความสามารถของผู้รับบริการ จะมีความเป็นอยู่ที่ดี Well-Beingคุณภาพชีวิตจะดีขึ้น Quality of Life ตามมา


Evidence Based Practice Levels

Evidence Based Practice Levels หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ เป็นสิ่งสำคัญที่นักกิจกรรมบำบัดจะต้องคอยหาข้อมูล แหล่งอ้างอิงต่างๆเสมอ เพื่อใช้เป็นแบบอย่างแนวทางสำหรับการให้การรักษา รวมถึงข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ซึ่ง Evidence Based Practice จะเป็น Slow Knowledge หมายถึงหลักฐานจำลอง ที่มีการใช้หลายๆครั้ง ต่างจาก Fast Knowledge คือความรู้ที่มาไว และไปไวเช่นกัน จะอยู่กับเราเพียงแค่ชั่วครู่ชั่วยาม การค้นคว้าให้ได้ประสิทธิภาพต้องเป็น Slow Knowledge ที่ค่อยเป็นค่อยไป แต่ครบ และจะอยู่กับเราไปตลอด มี 3 Steps

Slow 1 การสืบค้น หาข้อมูลสิ่งที่ต้องการด้วยตนเอง

Slow 2 จำเป็นอย่างยิ่งคือการถามผู้รู้ แลกเปลี่ยนความรู้ สอบถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ

Slow 3 จำเป็นที่สุด คือต้องมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เก็บรวบรวมเป็นตำราชีวิต เรียกว่า "หลักฐานเชิงประจักษ์"


หลักฐานสนับสนุนแนวปฏิบัติทางคลินิก

หลัักฐานระดับ 1 การทดลองเชิงทดลองแบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุมที่มีคุณภาพดีเยี่ยม หรือมีการทบทวนอย่างเป็นระบบ จากการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุมอย่างน้อย 1 ฉบับ

หลักฐานระดับ 2 การศึกษาเชิงทดลองแบบไม่สุ่ม และมีกลุ่มความควบคุม (Non-Randomized Controlled Trial) ที่มีคุณภาพดีเยี่ยมในประชากรต่างกลุ่ม และคณะผู้ศึกษาต่างคณะอย่างน้อย 2 ฉบับ

หลักฐานระดับ 3

- การศึกษาแบบพรรณนา หรือการศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุม ที่มีคุณภาพพอใช้

หลักฐานระดับ 4 ฉันทามติ ของผู้เชี่ยวชาญหรือรายงานอนุกรมผู้รับบริการจากการศึกษาในประชากรต่างกลุ่ม และคณะผู้ศึกษาต่างคณะ อย่างน้อย 2 ฉบับ


Evidence Based Practice ของ OT

- Client's Performance Outcome Measure

- Client's Conditions + Framework

- Client's Contextualization

- Client's Occupation + Clinical Reasoning + Needs


Knowledge Management

Knowledge Management (Listen Speak Read Write) การจัดการกับความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การเขียน การพูด และวิธีการที่จะทำให้ความรู้คงอยู่ตลอดไปคือ Slow Knowledge

Slow 1 การสืบค้น

Slow 2 การถามผู้รู้

Slow 3 การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็น การเขียน Short note, การทำ Mind Mapping


การใช้สื่อทางกิจกรรมบำบัด Media OT

Therapeutic use of self การใช้ตัวผู้บำบัดเป็นสื่อ

Client Relationship สัมพันธภาพระหว่างผู้รับบริการ และผู้บำบัด

Activity Analysis การวิเคราะห์กิจกรรม

Teaching and Learning การสอน และการเรียนรู้จากสิ่งที่สอน

Environment Modification การปรับสิ่งแวดล้อม


Knowledge Translation

Knowledge Translation (Critical & Creative Thinking) – OT Process

กระบวนการในการให้บริการของนักกิจกรรมบำบัด ทำเป็นขั้นตอนกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ได้ข้อมูล จนกระทั่งรวบรวมข้อมูลมาแปลผล

กระบวนการตรวจประเมินทางกิจกรรมบำบัด OT Process

1. การสร้างสัมพันธภาพ เริ่มต้นกระบวนการสร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้รับบริการไว้วางใจ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการรักษาต่อไป

2. การสัมภาษณ์ การสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้รับบริการ รวมถึงอาการสำคัญ

3. Needs Assessment การประเมินความต้องการของผู้รับบริการ

4. ตรวจแฟ้มประวัติ ดูประวัติ ข้อมูลการเจ็บป่วยหลังจากที่ถูกวินิจฉัยและ Diagnosis เพื่อส่งต่อให้นักกิจกรรมบำบัดได้ทำการรักษาต่อ

5. ดู Occupation ว่าด้านใดของผู้รับบริการที่บกพร่อง

6. การทดสอบ การให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมการรักษาเพื่อทดสอบความสามารถ และเพื่อประเมินให้ได้ปัญหาของเขา

7. การสังเกตความสามารถขณะทำกิจกรรม ประเมินความสามารถที่ทำได้จากการทำกิจกรรม สังเกตและบันทึกผลที่ได้

8. ประเมินความสุข

9. Role Competence

10. ประเมินผู้บำบัดเอง เพื่อที่จะได้ถามตัวเองว่าได้อะไรจากการที่ตนเองได้ทำการรักษาเขา

Implication and Application

Implication ความรู้นามธรรม เป็น Slow Knowledge

Application ความรู้เป็นรูปธรรม นำไปประยุกต์ใช้ต่อในอนาคต


เอกสารอ้างอิง :

- The Person-Environment-Occupation Model: A Transactive Approach to Occupational Performance

Canadian Journal of Occupational Therapy [Online] April 1996 63: [9-23].

- American Journal of Occupational Therapy [Online] October 1988, Vol. 42: [633-641].

- Canadian Journal of Occupational Therapy, Application of the Person-Environment-Occupation Model: A practical tool [Online] June 1999 vol. 66 no. 3: [122-133].

- Enabling the implementation of evidence based practice: a conceptual framework. A Kitson, G Harvey and B McCormack Qual Health Care 1998 7: [149-158]

- Annie McCluskey, Australian Occupational Therapy Journal, Occupational therapists report a low level of knowledge, skill and involvement in evidence- based practice (2003) 50, [3–12].

- Knowledge Management and Knowledge Management Systems: Conceptual Foundations and Research Issues Maryam Alavi and Dorothy E. Leidner MIS Quarterly Vol. 25, No. 1 (Mar., 2001), pp. 107-136

- The Knowledge Management Methodology Team, Decision Support Systems, A systems thinking framework for knowledge management Vol 31, Issue 1, May 2001, P 5–16

- Carole A. Estabrooks RN, PhD1,*, David S. Thompson BScN2, J. Jacque E. Lovely BA, BScN2 andAnne Hofmeyer RN, PhD , Journal of Continuing Education in the Health Professions, A guide to knowledge translation theory Volume 26, Issue 1, pages 25–36








คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 589592เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2015 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2015 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท