คุณยายบ้านฉัน


ประวัติทั่วไป

ชื่อ นางบุญชื่น เครือจันทร์ อายุ 84 ปี เพศ หญิง

ผู้ดูแลคือ นางระบาย เครือจันทร์ เบอร์โทรศัพท์ 084-7284968

ปัจจุบัน อยู่บ้านเลขที่ 24 ม.3 ตำบล สินปุน อำเภอ เขาพนม จังหวัด กระบี่

ใน ปี พ.ศ. 2550 มีอาการอ่อนแรงแขนและขาขวา กลืนลำบาก พูดไม่ชัด แพทย์วินิจฉัย เป็น Ischemic stroke รับการรักษาทางยา และ กายภาพบำบัด ผู้ป่วยเดินได้โดยใช้ One point cane

ข้อควรระวัง Falling ,Recurrent stroke

ประวัติส่วนตัว จบการศึกษาระดับชั้น ป.4 มีบทบาทเป็นแม่

สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการ คือ

  • 1.อยากเดินได้ในบ้านโดยไม่เสี่ยงต่อการหกล้ม
  • 2.สามารถออกไปนอกบ้านได้โดยไม่เป็นภาระของผู้อื่น

จากการประเมินกำลังกล้ามเนื้อ ให้เกรด 5 ทั้งรยางค์แขนซ้ายและขวา ไม่มีการบวม อุณหภูมิและความตึงของกล้ามเนื้ออยู่ในระดับปกติ คุณภาพของการเคลื่อนไหวดี และการประเมินช่วงการเคลื่อนไหว สามารถเคลื่อนไหวได้สุดช่วงในทุกๆข้อต่อของรยางค์แขนทั้งซ้ายและขวา (Shoulder, elbow, wrist, hand, neck) ยกเว้นส่วนของคอ ที่ -10 ทุกทิศทางการเคลื่อนไหว เมื่อทำ Passive ROM มาการปวดคอ

การทำงานร่วมกันของมือทั้งสองข้างและการควบคุมการทรงท่าดี การทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กด้านขวาดีแต่ด้านซ้ายไม่ค่อยคล่องแคล่ว จากการประเมินการทรงตัวขณะทำกิจกรรมในท่านั่งสามารถเอื้อมคว้าของข้ามผ่านลำตัวได้ และในท่ายืนเมื่อเอาเครื่องช่วยเดินออกไม่สามารถต้านแรงผู้บำบัดได้

การเคลื่อนย้ายตัวไปยังที่ต่างๆ เช่น ห้องน้ำ ห้องอาหาร เตียงนอน และสามารถเคลื่อนไหวไปทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเอง เช่น เดินไปออกกำลังกาย ชมต้นไม้ในสวน โดยใช้ One point cane ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง เช่น อาบน้ำแต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้าแบบสวม ติดกระดุม รับประทานอาหาร ดื่มน้ำ ได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ รวมถึงสามารถจัดการกับการเงิน ใช้โทรศัพท์ได้ ส่วนการเตรียมอาหาร การซักเสื้อผ้า การทำความสะอาดและการจัดเตรียมยา อาจจะต้องได้รับการช่วยเหลือบ้าง แต่ไม่สามารถออกไปซื้อของและเดินทางไปยังที่ต่างๆในชุมชนได้

การสื่อสาร การได้ยิน อารมณ์และจิตดี มีปัญหาสายตาเพียงเล็กน้อย Stereognosis ตอบถูก 3 ใน 5 การรับความรู้สึกทั้ง Temperature, light touch, two-point discrimination (intact)

จากข้อมูลข้างต้น ผู้บำบัด แนะนำให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนจาก one point cane เป็น tri pod cane เพื่อความปลอดภัยในการเคลื่อนไหว และป้องการหกล้ม

จากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุได้สรุปวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อผู้สูงอายุมีดังนี้

  • 1.ด้านกิจกรรมทางร่างกาย(Physical activity) ผู้สูงอายุออกกำลังกาย โดยฝึกเดินโดยใช้ราวจับ พื้นเป็นทรายละเอียด ในเวลาตอนเช้าของทุกๆวัน
  • 2.ด้านการรับประทานอาหาร ผู้สูงอายุรับประทานเนื้อปลาและข้าวกล้องในทุกๆมื้อ รวมถึงทานโปรตีนเสริม ผักและผลไม้ที่ไม่มีรสหวานมาก เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร และดื่มน้ำประมาณ 5-6 แก้วต่อวัน
  • 3.ความเชื่อความศรัทธา ผู้สูงอายุศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก่อนที่จะป่วยในทุกๆเทศกาลวันสำคัญผู้สูงอายุจะเตรียมอาหารที่ทำเองอย่างพิถีพิถัน รวมถึงการเตรียมดอกไม้ด้วยตนเอง

ทฤษฎีที่อธิบายการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุท่านนี้ คือ

  • 1.การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย [Biological Theory] ผู้สูงอายุมีความเสื่อมทางด้านร่างกายลง เนื่องจากเป็นไปตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น มีปัญหาการทรงท่า และมีความเสี่ยงต่อการล้ม มีภาวะต้อกระจกซึ่งส่งผลต่อการมอง
  • 2.ทฤษฎีกิจกรรม [Activity Theory] ส่วนใหญ่กิจกรรมที่ผู้สูงอายุทำจะเน้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายในตอนเช้า เดินชมต้นไม้ในสวน รวมถึงการทำอาหารโดยสอนลูกหลานทำขนมไทย
  • 3.ทฤษฎีบุคลิกภาพ/จิตสังคม [Psychosocial development] ของ Erikson อธิบายถึงการพัฒนาของคนทั้ง 8 ขั้น โดยผู้ที่มีอายุ 60ปีขึ้นไปหรือในวัยสูงอายุ จะมีพัฒนาการ 2 แบบ คือ สิ้นหวังท้อแท้ และพึงพอใจในชีวิต (Despair & Integrity) ซึ่งผู้สูงอายุพึงพอใจในชีวิต และมีความสุขกับการที่มีลูกหลานคอยดูแล เป็นที่ปรึกษาและเฝ้ามองลูกหลานประสบความสำเร็จในชีวิต

อ้างอิงตามกรอบทางกิจกรรมบำบัด Person Environment Occupation Performance Model [PEOP] ได้ดังนี้

P=Person

  • –คุณยายอายุ 85 ปี เป็นชอบขนม ทำอาหารไปถวายพระที่วัด ใส่ใจการดูแลตนเอง
  • –ในปี 2550 วินิจฉัย เป็น Ischemic stroke

E = Environment

  • -อาศัยอยู่บ้านชั้นเดียว มีบันได สูงด้านหลัง

O = Occupation

  • –ผู้สูงอายุไม่ได้ทำงาน แต่ก็จะทำกิจกรรมอื่นๆแทน เช่น ดูโทรทัศน์ สวดมนต์

P = Performance

  • –ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ รวมถึงการทำกิจวัตรประจำวันขั้นสูงบางอย่างได้


ตริตาภรณ์ ชูนาวา นศ.กบ.

วันเดือนปีที่ประเมิน 12 เมษายน 2558

หมายเลขบันทึก: 589596เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2015 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2015 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท