ตำราชีวิต : Animal assisted therapy in children with Autism Spectrum Disorder (ASD)


Animal assisted therapy in children with Autism Spectrum Disorder (ASD)

ออทิติป็ความบพร่องของพัฒนาการหลายด้านที่ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่มีการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนว่ามีความผิดปกติของสมองทั้งในส่วนของโครงสร้างและเซลล์สมอง ภาวะออทิติกพบความบกพร่องใน 3 ด้านใหญ่ คือทักษะสังคมและการมีฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นทักษะด้านการสื่อความหมาย และการมีพฤติกรรมซ้ำๆ

การใช้สัตว์มาช่วยในการบำบัด (animal-assisted therapy: AAT) เป็นการบำบัดโดยนำสัตว์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาเพื่อส่งเสริมการทำหน้าที่ด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และความรู้ความเข้าใจ การใช้สัตว์ช่วยบำบัดสามารถส่งเสริมทักษะในด้านต่างๆ รวมทั้งในเรื่องของพัฒนาการ เพิ่มการเห็นคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมทางบวก รวมถึงช่วยลดอาการสมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่ง และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีปัญหาด้านการ
สร้างสัมพันธภาพและปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นอย่างเช่นออทิสติก นั้นพบว่า การใช้สัตว์ช่วยบำบัดสามารถส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ พฤติกรรมทางสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย ตลอดจนช่วยลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น พฤติกรรมซ้ำ ๆ แยกตัว ขาดสมาธิ รวมทั้งพฤติกรรมนิ่งเฉยๆ

1. จากกรอบอ้างอิง The Person-Environment-Occupation Performace (PEOP)

Elephant therapy

P : เด็กและวัยรุ่นออทิสติกชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า มีภาวะออทิสติกสเปคตรัม

E : ใช้ช้างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เป็นสื่อในการฝึก โดยเหตุผลที่เป็นช้างเพราะช้างเป็นสัตว์ใหญ่ที่เฉลียวฉลาด จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ยาวนาน และใจดีอีกทั้งช้างเป็นสัตว์สังคมจึงมักอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มและดูแลซึ่งกันและกันเช่นเดียวกับมนุษย์ ช้างมีการเคลื่อนไหวร่างกายมาก ทำให้ดึงดูดความสนใจจากเด็กได้ดี

O : นำเด็กออทิสติกมาตรวจประเมินก่อนหลัง จากนั้นให้โปรแกรมการบำบัด เช่น กิจกรรมเตรียมความพร้อม โดยจะให้ข้อมูลช้าง ทำความคุ้นเคยกับช้าง เพื่อฝึกความยืดหยุ่นและปรับระดับความตื่นตัว จากนั้นจะเป็นกิจกรรมอาหารสมองคือ จะให้เด็กได้ขี่ช้าง เก็บขี้ช้าง อาบน้ำช้าง และให้อาหารช้างเป็นต้น ต่อมาจะเป็นกิจกรรมเพิ่มทักษะชีวิต เช่น กิจกรรมดูแลช้าง ไปรับ-ส่ง เลือกอาหารให้ช้าง กิจกรรมผ่อนคลาย และสุดท้ายจะเป็นกิจกรรมที่เพิ่มทักษะทางสังคมให้แก่เด็ก เช่น การเชียร์และเล่นเป็นทีม

P : ทําให้เด็กมีการพัฒนาทุกด้าน เช่น การสัมผัส จากที่ไม่กล้าสัมผัสก็จะกล้าขึ้น การทรงตัวดีขึ้น มีการสื่อสาร มีสมาธิ และให้ความร่วมมือทํากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เด็กมีพฤติกรรมการปรับตัวดีขึ้น พฤติกรรมการบูรณาการประสาทรับความรู้สึก ความสามารถในการควบคุมการทรงท่าและทรงตัวดีขึ้น พฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ลดลง

Hippotherapy

P : เด็กและวัยรุ่นออทิสติกชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า มีภาวะออทิสติกสเปคตรัม

E : ม้าที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เป็นสื่อในการฝึก

O : เริ่มจากให้เด็กคุ้นเคยกับม้าก่อน มีการประเมินก่อนหลังเข้าร่วมโปรแกรมฝึก ในส่วนของโปรแกรมฝึก เช่น กิจกรรมขี่หลังม้า กิจกรรมแปรงขนม้า ให้อาหารและอาบน้ำม้า หรือนั่งทำกิจกรรมฝึกบนหลังม้า เป็นต้น

P : พบว่า ลดภาวะกลัวการเคลื่อนไหวในแนวแรงดึงดูด เพิ่มสมาธิ พฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ลดลง ช่วยให้ผ่อนคลาย เพิ่มแรงจูงใจให้เด็กแสดงพฤติกรรมทางสังคมเพิ่มขึ้น การกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองมากขึ้น เพิ่มความสามารถควบคุมกา
ทรงท่าและความสามารถทรงตัว

Dog therapy

P : เด็กและวัยรุ่นออทิสติกชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า มีภาวะออทิสติกสเปคตรัม

E : สุนัขที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เป็นสื่อในการฝึก โดยเหตุผลที่ใช้สุนัขก็เพราะ สุนัขมีความคล่องตัวสูงโดยฉะเพราะสายพันธุ์ลาบราดอร์ หรือ โกลเด้นท์รีทรีฟเวอร์ อีกทั้งสุนัขยังสามารถตอบสนองต่อคนได้ดี

O : เริ่มจากสร้างความคุ้นเคยระหว่างสุนัขและเด็กก่อน โดยตัวอย่างกิจกรรมเช่น โยนของให้สุนัขวิ่งไป
คาบกลับมา การลูบคลํา หรือการแปรงขนสุนัขก็เป็นการออกกําลังกายแขนได้อย่างหนึ่ง

P : สามารถช่วยได้ทั้งเรื่องของร่างกายและจิตใจ โดยด้านร่างกายจะช้วยให้ได้เคลื่อนไหวออกกำลังกายแขน ขา ส่วนในเรื่องจิตใจ จะช่วยคลายเหงาและลดอาการซึมเศร้าได้

Dolphin therapy

P : เด็กและวัยรุ่นออทิสติกชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า มีภาวะออทิสติกสเปคตรัม

E : โลมาที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เป็นสื่อในการฝึกโดยเหตุผลที่เลือกโลมามาเป็นสัตว์ในการฝึกก็คือ โลมาเป็นสัตว์ที่เป็นมิตร มีเสน่ห์ มีสติปัญญามาก และแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ได้อย่างลึกซึ่ง อีกทั้งยังเป็นสัตว์ที่พยายามเข้าหามนุษย์ เสียงของโลมาเป็นเสียงหวีดแหลม
ความถี่สูงของโลมาช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางสมองและระบบประสาท

O : เริ่มด้วยให้เด็กทำความคุ้นเคยกับโลมาก่อน จากนั้นเด็กจะได้เรียนรู้ชีวิตโลมาในชั้นเรียนศิลปะ จากนั้นจะมีการกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับโลมาก่อนได้สัมผัสจริง มีการเล่นอย่างอิสระกับโลมาเพื่อฝึกการปรับตัวอีกทั้งขณะเล่นยังเป็นการรักษาสมดุลของร่างกายในน้ำได้ด้วย

P : โลมาสามารถสร้างแรงจูงใจให้แก่เด็ก เด็กมีพฤติกรรมที่มีเป้าหมายเพิ่มขึ้น พัฒนาความรู้ความเข้าใจตัวเอง ลดความตึงเครียดได้

Buffalo therapy

P : เด็กและวัยรุ่นออทิสติกชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า มีภาวะออทิสติกสเปคตรัม

E : กระบือที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เป็นสื่อในการฝึกเหตุผลที่ใช้กระบือในการฝึกคื ใกล้ชิดคนไทยมาก ว่านอนสอนง่าย เข้าใจภาษา ฉลาด ตัวใหญ่กระตุ้นความสนใจเด็กได้ดี

O : อบอุ่นร่างกาย นำเด็กมาทำความคุ้นเคยกับกระบือก่อน จากนั้นเมื่อคุ้นเคยกันก็จะสามารถจับนั่งขี่เพื่อชมสถานที่ต่างๆ จัดกิจกรรมบนหลังกระบือ ชวนเลิกคุย ทำศิลปะเกี่ยวกับกระบือ ให้อาหาร

P : สื่อสารได้เข้าใจขึ้น การพูดกล้าแสดงออก

2. Evidence base practise levels

  • Client's performance outcome measure : ผลที่ได้ออกมาจากการศึกษาวิจัยคือ การศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดรักษาด้วยสัตว์ชนิดต่างๆ ว่าให้ผลดีมากน้อยอย่างไร เด็กออทิสติกมีทักษะมากขึ้นก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการบำบัดรักษาหรือไม่ เพื่อนำไปเป็นตัวอย่างในการจัดกิจกรรมการบำบัดรักษาให้แก่เด็กออทิสติกให้มีชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
  • Client's condition + Framework : กรอบอ้างอิงที่เหมาะสมกับบริบทของคนไทยที่พบได้ในงานวิจัยได้แก่ กรอบอ้างอิงการบูรณาการด้านประสาทรับความรู้สึก (sensory integration frame of reference)เนื่องจากโดยปกติแล้วเด็กออทิสติกจะมีปัญหาเกี่ยวกับการบูรณาการประสาทรับความรู้สึก ส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย ระดับความตื่นตัว สมาธิ การควบคุมตนเอง และการตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดโปรแกรมการบำบัดรักษาจึงจำเป็นต้องส่งเสริมทักษะความสามารถด้านการรับความรู้สึกของเด็กออทิสติกเป็นสำคัญ นอกจากนี้บางงานวิจัยยังพบการใช้กรอบอ้างอิงด้านกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ (Human occupation frame or reference) โดยจะมีการมองเด็กเป็นระบบเปิดที่มีการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา และมนุษย์ยังมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรม ทำให้เกิดการทำงานของร่างกายในการทำกิจกรรมและพฤติกรรมการปรับตัวตามมา แนวคิดทั้งสองสามารถนำมาใช้กับคนไทยได้ เพราะเป็นกรอบอ้างอิงที่มองถึงภายในของมนุษย์ทั้งระบบร่างกายและจิตใจ สามารถนำมาปรับประยุกต์จัดกิจกรรมบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับเด็กไทยได้อย่างดีเช่น การนำช้างไทยและกระบือไทยมาช่วยบำบัด เนื่องจากเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย เป็นต้น
  • Client's contextualitation : การที่จะทำให้เด็กออทิสติกคนหนึ่งดีขึ้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยสิ่งรอบข้างหลายๆอย่าง เช่น ครอบครัวต้องให้ความสนับสนุนในการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง ต้องมีโปรแกรมการฝึกที่ถูกต้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ทีมงาน สถานที่ฝึก มีการควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัย และเป้นที่ยอมรับได้ของคนทั่วไป
  • Client's occupation : จากงานวิจัยพบว่าการนำสัตว์มาใช้บำบัดรักษาเด็กออทิสติกสามรถช่วยพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเด็กออทิสติกได้ คือ ด้านการทำกิจวัตรประจำวัน(activity daily living) เช่น การอาบน้ำช้าง ม้า กระบือ หรือการป้อนอาหารสัตว์ ก็เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กออทิสติกได้เรียนรู้การทำกิจวัตรประจำวันไปในตัว ด้านการเรียน (education) เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลของสัตว์ การวาดรูประบายสี การทำกิจกรรมบนหลังสัตว์ ก็เป็นการเรียนรู้ได้อย่างหนึ่ง ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น การทำกิจกรรมร่วมกับเด็กคนอื่นขณะอยู่บนหลังสัตว์ การพูดคุยกันระว่างผู้บำบัดและเด็ก เป็นต้น
  • Non-OT : บางโปรแกรมการฝึกจะมีนักวิชาชีพอื่นเป็นผู้ดูแล เช่น นักกายภาพบำบัดจะใช้ม้าเพื่อฝึกเด็กให้มีรูปแบบการทรงตัวหรือรูปแบบการเดินที่ดีขึ้น หรือนักแก้ไขการพูดจะเข้ามาประเมินภาษาของเด็กขณะทำกิจกรรม เป็นต้น แต่ถึงแม้จะไม่ใช่หน้าที่หลักของนักกิจกรรมบำบัดแต่นักกิจกรรมบำบัดก็ต้องคอยสังเกตความสามารถของเด็กโดยรวมเพราะพัฒนาการเหล่านี้ก็ย่อมส่งผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเด็กออทิสติกเช่นกัน

3. Knowlege managemant

- Therapuetic use of self

คือ การใช้ตัวผู้บำบัดเป็นสื่อในการรักษา ผู้บำบัดในที่นี้จะหมายถึงนักกิจกรรมบำบัด โดยหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัดในการนำสัตว์มาช่วยรักษาเด็กออทิสติกคือ เริ่มจากการตรวจประเมินเด็กแรกรับเพื่อค้นหาความสามารถและความบกพร่องก่อนเข้ารับการบำบัดรักษา และโปรแกรมเพื่อการบำบัดรักษานั้นถูกสร้างโดยคณะผู้วิจัยซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์ และนักกิจกรรมบำบัดร่วมกับผู้ชำนาญการเรื่องสัตว์ชนิดนั้นๆ ซึ่งจะร่วมกันวิเคราะห์และสังเคราะห์ชุดกิจกรรมขึ้นมา และเมื่อเด็กกำลังเข้าร่วมกิจกรรมอยู่นั้นนักกิจกรรมบำบัดจะคอยสังเกต กระตุ้นให้เด็กสนุกและมีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการบำบัดรักษาออกมาในทางที่ดี ตัวอย่างเช่น ขณะที่เด็กกำลังอาบน้ำให้ช้าง นักกิจกรรมบำบัดจะชวนพูดคุยให้มีปฏิสัมพันธ์ระว่างเด็กกับผู้บำบัดและเด็กกับช้างเพิ่มขึ้น อาจมีการจับมือเด็กถูกหลังช้างเพื่อให้เด็กได้รับความรู้สึกจากการสัมผัสที่ผิวหนังช้าง เป็นการส่งเสริมระบบบูรณาการประสาทความรู้สึกไปในตัว

- Client relationship

ก่อนเด็กจะเริ่มเข้าโปรแกรมการบำบัดรักษา นักกิจกรรมบำบัดจะต้องทำให้เด็กเกิดความคุ้นเคยกับตนเองก่อน เพื่อให้เด็กเกิดความไว้ใจและยอมปฏิบัติตามซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะเด็กเมื่อเด็กคุ้นเคยแล้วจะทำให้ขณะเข้าร่วมกิจกรรมเด็กเกิดความสนุก ไม่กังวล ไว้ใจ จนเกิดความสนุก ซึ่งจะเป็นผลดีต่อโปรแกรมการบำบัดรักษาต่อไป

- Activity analysis

นักกิจกรรมบำบัดจะมีส่วนร่วมในการคิดและวางแผนกิจกรรม โดยจะมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์กิจกรรมก่อนให้เด็กปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมฝึกระยะสั้นและโปรแกรมฝึกระยะยาวที่จะให้ผลต่างกัน ซึ่งจะต้องขึ้นกับเด็กเองด้วยว่าเหมาะสมกับโปรแกรมแบบใด ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีปัญหาด้านการบูรณาการระบบประสาทความรู้สึกชนิดการสัมผัส นักกิจกรรมบำบัดก็จะมีการให้ความรู้สึกนั้นแก่เด็กเช่น ให้เด็กออทิสติกได้ใช้มือถูหลังช้างขณะอาบน้ำ เพื่อให้รับจนกว่าเด็กจะเพียงพอ เป็นต้น

- Teaching learning process

นักกิจกรรมบำบัดจะเป็นผู้สอนทักษะใหม่ๆให้แก่เด็กออทิสติกเช่น ฝึกทำชุดกิจกรรมขณะเล่นกับช้าง สอนการอาบน้ำ แปรงขัน ให้อาหารสัตว์ต่างๆ เป็นต้น

- Environment modification

มีการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมขณะฝึก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆมากขึ้น เช่น ขณะขี่บนหลังกระบือจะมีการเดินพาชมบรรยากาศ แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติใหม่ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กออทิสติกมากขึ้น เพราะเด็กออทิสติกมักมีพฤติกรรมเช่น ไม่มองหน้า ไม่สบตา ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

4. Knowlege transalation

- การสร้างสัมพันธภาพ :นักกิจกรรมบำบัดจะต้องมีการสร้างสัมพันธภาพกับเด็กก่อนการฝึกกับสัตว์เพื่อให้เด็กเกิดความไว้ใจ รู้สึกปลอดภัยโดยจะต้องเข้าหาเด็กอย่างเป็นมิตร ยิ้มแย้ม พูดคุยกับเด็กจากนั้นจึงให้เด็กได้พบเจอกับสัตว์ที่ใช้ในการฝึกแต่เนื่องจากการนำสัตว์เข้ามาร่วมในโปรแกรมมีส่วนช่วยพัฒนาสัมพันธภาพและกระตุ้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมทั้งสัตว์และบุคคล ดังนั้นสัตว์จึงเป็นเสมือนสื่อกลางทางสังคมที่ช่วยเร่งเร้าให้กระบวนการสร้างสัมพันธภาพของเด็กกับบุคคลอื่นเป็นไปได้เร็วขึ้น อีกทั้งช่วงแรกของการบำบัดนั้นสัตว์จะช่วยลดความเครียด ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนานและเพลิดเพลินจนสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้

- การประเมิน :

Need assessment : ประเมินโดยการสอบถามเด็กและผู้ปกครองถึงความต้องการ เช่น ผู้ปกครองมีความต้องการอย่างไรเกี่ยวกับเด็ก เด็กมีความสนใจในสัตว์ชนิดไหน เป็นต้น เพื่อนำไปจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กมากที่สุด

สังเกต : สังเกตความสามารถขณะทำกิจกรรม เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมต่อไป

สัมภาษณ์ : เช่น มีการสอบถามความรู้สึกหลังเข้าร่วมโปรแกรมจากผู้ปกครองและเด็ก เพื่อทราบที่พฤติกรรมของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน เป็นต้น

ทดสอบ : การฝึกกับสัตว์แต่ละชนิดจะมีการใช้ตัวประเมินที่แตกต่างกันเล็กน้อย แต่หลักๆแล้วที่จะดูเกี่ยวกับเด็กออทิสติกก็คือ พฤติกรรมทางสังคม พฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ การบูรณาการระบบประสาทของร่างกาย ความสามารถพื้นฐาน การปรับตัวของเด็กออทิสติก ตัวอย่างแบบประเมินที่ใช้ Short sensory profile ,Balance Test Kit ,GI Profile for children,ประเมินความสามารถในการทรงตัว,ประเมินพฤติกรรมการปรับตัว เป็นต้น

ดูแฟ้ม : ดูประวัติ การวินิจฉัยโรค ข้อควรระวัง เพื่อจัดการรักษาให้เหมาะสมและป้องกันปัญหาอื่นๆที่จะตามมาขณะทำกิจกรรมการฝึก

ความสุข : สอบถามความสุขของเด็กก่อน ขณะทำกิจกรรม หลังเข้าร่วมโปรแกรม

Role componency : เป็นเด็ก ควรส่งเสริมทักาะที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ การเล่น ของเด็กให้เหมาะสมตามพัฒนาการที่ควรจะเป็นหรือไม่

การย้อนกลับมาประเมินตัวผู้บำบัดว่าผลของโปรแกรมการบำบัดเป็นอย่างไร เด็กมีความต้องการอะไรเพิ่มหรือไม่ หรือขาดให้ส่วนไหน เพื่อนำเป็นจัดกิจกรรมให้เหมาะสมต่อไป

- วางแผนทางกิจกรรมบำบัด ( OT planning ) :การวางแผนให้การบำบัดรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนว่าเหมาะสมกับสัตว์ชนิดไหน โปรแกรมเป็นแบบไหน หรือขึ้นกับความต้องการของผู้ปกครองที่ทำร่วมกับนักกิจกรรมบำบัด

จากกรอบอ้าอิง Domain & Process

  • Self care :เช่น กิจกรรมอาบน้ำช้างโดยใช้สบู่ช้าง ให้อาหารช้าง เก็บขี้ช้าง ดูแลช้าง ไปรับ-ส่ง เลือกซื้ออาหารให้ช้าง , กิจกรรมอาบน้ำม้า ให้อาหารม้า แปรงขนม้า ขี่ม้า ,แปรงขนสุนัขกิจกรรมเหล่านี้สามารถนำไปเชื่อมโยงกับกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเด็กได้และทำให้เด็กออทิสติกมีความก้าวร้าวลดลงได้ เกิดความรักความผูกพันและสามารถแสดงความรักต่อผู้อื่นได้มากขึ้น

(ที่มา : http://www.prcmu.cmu.ac.th/scoop_detail.php?sco_sub_id=811)

  • Leisure : เช่น กิจกรรมผ่อนคลาย เล่นน้ำกับโลมา ขี่หลังกระบือชมธรรมชาติ เป็นต้น โดยกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เด็กออทิสติกรู้สึกผ่อนคลาย สนุก สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น

Education :เช่น กิจกรรมเตรียมความพร้อมโดยจะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับช้าง กิจกรรมให้อาหารสมองผ่านระบบกายสัมผัส กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ และระบบการทรงตัว เพื่อให้สมองสามารถบูรณาการข้อมูลความรู้สึกที่ได้รับดีขึ้น ,กิจกรรมเรียนรู้ชีวิตโลมาในชั้นเรียนศิลปะ ,การเรียนรู้บนหลังม้าเป็นต้น โดยกิจกรรมเหล่านี้จะส่งเสริมด้านการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆให้แก่เด็กออทิสติก

Social participation :ตัวอย่าง กิจกรรมเพิ่มทักษะการเข้าสังคม เช่น การเชียร์และเล่นเป็นทีมขณะทำกิจกรรมชวนเด็กพูดคุยเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสาร การออกเสียง และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

- Follow up :การติดตามผลหลังเข้ารับโปรแกรมการบำบัดอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่แต่ละโปรแกรมกำหนด เพื่อตรวจประเมินความก้าวหน้าและปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละคน

5. Implication + Application

  • Implication (นามธรรม ความรู้ใหม่) : เกิดความรู้ใหม่เกี่ยวกับการใช้สัตว์สร้างสมาธิหรือลดปัญหาสมาธิสั้นในเด็กออทิสติก โดยกรณีของอาชาบำบัดหรือใช้ม้าเป็นสื่อในการบำบัด พบว่าสามารถลดอาการอยู่ไม่นิ่งของเด็กออทิสติกได้ เนื่องจากการจะทรงตัวอยู่บนหลังม้าจะต้องอาศัยสมาธิสูงมาก เพราะม้าเป็นสัตว์ฉลาดสามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้ขี่ได้ ซึ่งถ้าเด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียว ม้าจะก็แสดงออกมาเหมือนกัน และถ้าผู้ขี่มีความมั่นใจ ขี่ด้วยท่าที่สบายๆ ม้าก้จะผ่อนคลายและฟังคำสั่งเรา ดังนั้นเด็กออทิสติกจะได้เรียนรู้การมีวินัย รู้จักควบคุมทั้งร่างกายและอารมณ์ของตัวเอง ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวรร้าวหรือวอกแวกง่ายเหมือนเก่าเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
  • Application (นำไปประยุกต์ได้จริง ) : สำหรับตำราชีวิตนี้ทำให้ดิฉันเห็นภาพมากขึ้นในการนำสัตว์มาช่วยบำบัดรักษาเด็กออทิสติก ซึ่งเราสามารถใช้สิ่งรอบตัวเราเช่น สัตว์เลี้ยง มาบำบัดรักษาเด็กออทิสติกให้ดีขึ้นได้ เพื่อให้เด็กสามารถทำกิจวัตรประจำวัน การสื่อความหมาย และการเข้าสังคมได้ดีขึ้นการนำสัตว์เลี้ยงใกล้ตัวเช่น สุนัข มาบำบัดก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเพราะมนุษย์มีความใกล้ชิดกับสุนัข และสุนัขก็สามารถรับรู้ความรู้สึกของมนุษย์ได้ดีอีกด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วดิฉันมีความคุ้นเคยกับสุนัขเป็นอย่างดี เพราะเกิดและโตมาด้วยกันตลอด 20 ปี ทำให้ดิฉันค้นพบเช่นเดียวกับงานวิจัยต่างๆว่า สุนัขสามารถช่วยลดความตึงเครียด ช่วยให้ผ่อนคลาย มีความสุข สนุกเมื่อเล่นด้วย และซึ่งโดยปกติแล้วสุนัขมักจะชอบเล่นกับเด็กทำให้เมื่อเด็กออทิสติกเล่นกับสุนัขก็จะทำให้สุนัขเล่นตอบกลับ จึงทำให้ทั้งเด็กออทิสติกและสุนัขได้รับความรักแก่กัน ส่งผลให้เด็กออทิสติกมีความอ่อนโยนมากขึ้นได้ เห็นคุณค่าในตนเอง ลดพฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์บางอย่างลงได้ ดังนั้น เราจึงสามารถนำสัตว์ที่เหมาะสม และเข้าถึงได้ไม่ยากมาบำบัดรักษากับเด็กออทิสติกได้นั้นเอง

อกสารอ้างอิง

นันทณี เสถียรศักดิ์พงศ์*, สร้อยสุดา วิทยากร, เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี, ศศิธร สังข์อู๋, ประสพ ทิพย์ประเสริฐ,ยุรี เพชรอักษร, ไฉทยา ภิระบรรณ์, ดาราณี สาสัตย์ภาควิชากิจกรรมบำบัดคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,ผลการใช้โปรแกรมบำบัดด้วยช้างไทยต่อกระบวนการบูรณาการประสาทความรู้สึกในบุคคลออทิสติก,วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่,[online] 2553; Available from: URL: http://www.ams.cmu.ac.th/journal/attachments/article/401/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C(%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89)%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%B2%20%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3.pdf

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา.ช้างบําบัด.[Online] 2554; Available from: URL: http://www.happyhomeclinic.com/alt17-
elephanttherapy.htm

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา.โลมาบําบัด.[Online] 2552; Available from: URL:
http://www.happyhomeclinic.com/alt14-dolphintherapy.htm

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา.แมวบําบัด.[Online] 2552; Available from: URL:
http://www.happyhomeclinic.com/alt16-cattherapy.htm

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา.กระบือบําบัด.[Online] 2554; Available from: URL:
http://www.happyhomeclinic.com/alt18-buffalotherapy.htm

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา.สุนัขบําบัด.[Online] 2552; Available from: URL:
http://www.happyhomeclinic.com/alt12-dogtherapy.ht...

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. การบําบัดทางเลือก ในเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2550. Palika L. Your cat's mind: feline relationships the special love of therapy cats. [Online] 2006; Available from: URL: http://www.catsplay.com

หมายเลขบันทึก: 589601เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2015 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 00:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท