กองทุนรวมและบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจ


กองทุนรวม

เป็นการรวบรวมเงินทุนจากนักลงทุนทั่วไป คนละเล็กคนละน้อย เพื่อรวมเป็นเงินก้อนขนาดใหญ่ แล้วนำเงินที่รวบรวมนั้นไปลงทุนตามที่ได้ตกลงกับนักลงทุน กองทุนที่รวบรวมเงินที่ได้นี้จะได้รับการบริหารจัดการจากบริษัทจัดการกองทุนซึ่งมีหน้าที่ลงทุนแทนนักลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุน และมีการจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์เพิ่มขึ้นมาอีกซึ่งกฎหมายจะกำหนดเอาไว้ เพื่อคอยดูแลเงินกองทุนนั้นแทนนักลงทุนที่นำเงินมาลงทุน ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนล้ม ผู้ดูแลผลประโยชน์ก็จะชดเชยให้กับนักลงทุน หรือบริษัทจัดการกองทุนไม่ได้ทำตามหนังสือชี้ชวนผู้ดูแลผลประโยชน์ก็จะเอาผิดบริษัทจัดการกองทุนแทนผู้ถือหน่วยลงทุนได้เช่นกัน

  • กองทุนปิด (Close-end Mutual Fund) เป็นกองทุนที่ขายหน่วยลงทุนให้กับนักลงทุนเป็นจำนวนจำกัดขนาด และเวลาในการไถ่ถอนหรือขายคืนให้กับบริษัทจัดการกองทุนจะกำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนก่อนจำหน่ายไว้แล้ว
  • กองทุนเปิด (Open-end Mutual Fund) เป็นกองทุนที่ขายหน่วยลงทุนให้นักลงทุนเป็นไม่จำกัดขนาดและเวลาในการไถ่ถอน คือนักลงทุนสามารถที่จะซื้อหรือจะขายเมื่อไหร่ก็ได้และระยะเวลาของหน่วยลงทุนจะไม่มีกำหนด โดยไม่ต้องจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ สามารถซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์นั้นๆได้เลย

บทบาทของกองทุนรวมที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ

กองทุนรวมเปรียบเสมือนเครื่องมือในการรวบรวมเงินออมจากนักลงทุน นำไปกระจายเข้าสู่ระบบแก่ผู้ที่ต้องการทุนหรือหน่วยธุรกิจ เมื่อนำไปลงทุน ซึ่งการลงทุนนี้เป็นส่วนสำคัญในทางเศรษฐศาสตร์ โดยเป็นตัวแปรหนึ่งในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ (GDP) การลงทุนที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลให้มีการจ้างงานเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจทำให้มีการกระจายรายได้ หน่วยธุรกิจที่ลงทุนจะช่วยในการกระจายทรัพยากรทีมีจำกัดไปสู่ระบบเศรษฐกิจอีกด้วย ฉะนั้นกองทุนรวมจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจโดยตรง เพราะเงินที่นำเข้าสู่ระบบผ่านกองทุนรวมนี้ จะทำให้เกิด การลงทุน การจ้างงาน และ การบริโภคที่สูงขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง


ที่มาข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1

ที่มาของรูปภาพ : https://www.google.co.th/searchกองทุนรวม

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603261เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2016 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2016 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท