มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ( Quantitative Easing​ )


Quantitative Easing

มาตรการ QE หรือ Quantitative Easing

เรียกอีกอย่างว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ คือนโยบายทางการเงิน แบบนึง โดยหลักการจะเป็นการนำเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะเข้าไปซื้อสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน และจะให้สถาบันทางการเงิน ปล่อยกู้ให้ภาคเอกชนต่อไป เพื่อกระตุ้นให้ ประชาชนในประเทศ มีการใช้จ่ายมากขึ้น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่นำมาตรการ QE มาใช้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตกต่ำซบเซาและเกิดภาวะเงินฝืดใน ค.ศ. 2001 จากการที่นโยบายการเงินไม่สามารถกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยในทองตลาดจะลดลงเข้าใกล้ 0 ก็ตาม ดังนั้นมาตรการ QE จึงถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและภาคการเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ที่มีต่อผู้ประกอบการในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นดำเนินมาตรการนี้โดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากกว่าที่จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับศูนย์ ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเข้าซื้อคืนหลักทรัพย์และทรัพย์สินต่าง ๆ

ต่อมาภายหลังจากการเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินระหว่าง ค.ศ. 2007-2011 ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสหภาพยุโรป ได้นำมาตรการนี้มาใช้อีกครั้ง โดยเฉพาะการดำเนินมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกาที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจถึง 3 ครั้ง คือ QE1, QE2 และ QE3 ในระยะเวลา 2-4 ปี (ค.ศ. 2008-2012) ส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกาให้มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น รวมทั้งส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าสู่ประเทศในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจดีในเวลาต่อมาซึ่งก็รวมทั้งประเทศไทยด้วย

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย

เมื่อมีการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก จะทำให้เงินเหล่านั้นทะลักเข้าไปลงทุนเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมันและอาหาร ทำให้สินค้าปรับตัวขึ้น กำลังซื้อของประชาชนลดลง อาจมีการไหลเข้าของเงินทุนของต่างชาติอย่างมหาศาล จะส่งผลต่อค่าเงินของประเทศที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทำให้มีการเก็งกำไรค่าเงินที่ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงิน การส่งออกได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ช่วงนี้เราจึงได้เห็นข่าวผู้ที่มีส่วนรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ อย่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) เฝ้ามองและเตรียมออกมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน เพราะถ้าหาก GDP ของประเทศไทยเราซึ่งส่วนใหญ่มาจากการส่งออก (Export) ซึ่งมีทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตร เงินบาทแข็ง 1 บาท GDP จะหายไปประมาณ 0.7% ส่วนจะมีมาตรการอะไรออกมาบ้างนั้นก็ต้องเฝ้าดูกันต่อไป ปรับตัวกันไปตามอัตถภาพ


ที่มารูปภาพ : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1...

ที่มาข้อมูล : http://guru.sanook.com/8266/

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603256เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2016 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2016 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท