ตลาดนัดความรู้ สคร.9 นครราชสีมา ปีงบประมาณ 2559 (29 ธ.ค.2558)


การประชุมเชิงปฏิบัติการตลาดนัดความรู้ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา (ภายใต้โครงการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ปี 2559) มีวัตถุประสงค์การประชุมเพื่อให้บุคลากรได้นำประสบการณ์จากการทำงานที่สำเร็จมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนาต่อยอดการดำเนินงาน และพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะทำงานจัดการความรู้ (KM Team) บุคลากรสคร.9 และหน่วยงานเครือข่าย ได้แก่ สสอ.ปะคำ และรพ.สต.หนองระเวียง รพ.สต.หนองขาม อำเภอพิมาย รวมทั้งสิ้น 89 คน (สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 70 คน) โดยมีกิจกรรมดังนี้

1. พิธีเปิดการประชุมฯ กล่าวรายงานโดยแพทย์หญิงผลิน กมลวัทน์ รองผู้อำนวยการ สคร.9 นครราชสีมา กล่าวเปิดการประชุมโดยนายแพทย์ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผู้อำนวยการ สคร.9 นครราชสีมา และบรรยายพิเศษเรื่อง “ทิศทางการจัดการความรู้” มีประเด็นสำคัญดังนี้






3. การนำเสนอนิทรรศการและผลงานการจัดการความรู้ ของกลุ่มงานในสังกัด สคร.9 และหน่วยงานเครือข่าย รวมจำนวน 18 เรื่อง ดังนี้

บูธ 3 เรื่อง ได้แก่
1. การจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก การกำจัดแมลงนำโรคแบบผสมผสาน IVM โดย รพ.สต.หนองขาม และรพ.สต.หนองระเวียง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
2. SRRT PAKHAM. We are the team. We are the network. โดย สสอ.ปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
3. การจัดการความรู้ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา โดย คณะทำงานจัดการความรู้ (KM Team) สคร.9 นครราชสีมา

โปสเตอร์การจัดการความรู้ 15 เรื่อง ได้แก่
4. การจัดการภาระงานโรคเอดส์ที่หลากหลายกับทรัพยากรบุคคลที่จำกัด โดย กลุ่มพัฒนาภาคีเครือข่าย สคร.9
5. เส้นทางการก้าวสู่มาตรฐาน TCI ของวารสารวิชาการ สคร.9 นครราชสีมา โดย กลุ่มพัฒนาวิชาการ สคร.9
6. เครื่องมือเล่าเรื่อง พันธุ์ใหม่ โดย กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สคร.9
7. ถอดรหัส SAT MERs Co-V โดย กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สคร.9
8. การดำเนินงานเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข: กรณีการระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) โดย กลุ่มปฏิบัติการควบคุมโรคและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข สคร.9
9. รู้หรือไม่: ทำงานอย่างไร ให้ไร้ปัญหา โดย กลุ่มแผนงานและประเมินผล สคร.9
10. ระบบข้อมูลแบบ UCHA : การพัฒนาที่พอเพียง เพียงพอ พอดี ดีพอ โดย กลุ่มพัฒนาองค์กร สคร.9
11. GFMIS: ค้นให้พบ จบที่แก้ปัญหา โดย กลุ่มบริหารทั่วไป สคร.9
12. ถอดบทเรียนผู้ใกล้เกษียณเรื่อง เทคนิคการจัดทำแผนเงินบำรุง โดย กลุ่มบริหารทั่วไป สคร.9
13. สรุปบทเรียนการสนับสนุนการให้วัคซีนป้องกันโรคหัดในกลุ่มเป้าหมายอายุ 2 ปี 6 เดือน ถึง 7 ปี เขตสุขภาพที่ 9 โดย งานเภสัชกรรม สคร.9
14. ถอดบทเรียนจากผู้ใกล้เกษียณเรื่อง ปัจจัยการดำเนินงานด้านชันสูตรให้ประสบผลสำเร็จ โดย งานชันสูตร สคร.9
15. พลังทีม พลังเครือข่าย สู่เป้าหมายลดการสูญเสียจากเด็กจมน้ำ โดย งานแผนงานโครงการโรคไม่ติดต่อ และการบาดเจ็บ บุหรี่ สุรา สคร.9
16. การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามแนวทางการจัดการแมลงพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (IVM) พื้นที่จังหวัดชัยภูมิ โดย ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.1 จังหวัดชัยภูมิ สคร.9
17. การดำเนินงานพัฒนาตำบลต้นแบบด้านการจัดการพาหะนำโรคไข้เลือดออกแบบผสมผสาน (IVM) จังหวัดสุรินทร์ โดย ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.3 จังหวัดสุรินทร์ สคร.9
18. การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามแนวทางการจัดการแมลงพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (IVM) โดย ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.4 อำเภอปากช่อง สคร.9




ท่าน ผอ.สคร.9 (CKO) ได้ให้แนวคิดในการจัดการความรู้ ดังนี้

" 1. ควรมีการสั่งสมความรู้ และนำ IT มาใช้ในการเก็บความรู้

2. ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในหน่วยงานอย่างต่อเนื่องและนำไปใช้ เช่น การนำ Info Graphic มาใช้นำเสนอข้อมูลระบบ ESM

3. การ Design องค์กรในอีก 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากจะมีผู้ที่จะเกษียณอีกมาก "

4. การบรรยายเรื่อง “การจัดการความรู้สู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ และเทคนิคการเขียนสรุปบทเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภกฤษฏิ์ นิวัฒนากูล รองคณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีประเด็นสำคัญดังนี้

(1) องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ได้แก่ มาตรฐาน (ข้อกำหนดขั้นต่ำ) คุณภาพ (ความพึงพอใจ/ตรงตามความต้องการ) และความเป็นเลิศ (เหนือกว่าคุณภาพ)
(2) ทำอย่างไรจะไปสู่ความเป็นเลิศ ได้แก่
- รู้เรา ได้แก่ เป้าหมาย พันธกิจ สมรรถนะหลัก ค่านิยม/วัฒนธรรมองค์กร ผู้นำ ผู้ร่วมงาน ลูกค้า/ผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- รู้เขา ได้แก่ เราอยู่ตรงไหน ใครเก่งที่สุด เขาทำอย่างไร เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้อย่างไร
(3) การบริหารจัดการองค์กร โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน เช่น Malcolm Baldrige National Quality Award
(4) เทคโนโลยีการจัดการความรู้สมัยใหม่เพื่อสู่ความเป็นเลิศ ได้แก่ ฐานความรู้ (Knowledge Based) การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) เครือข่ายสังคม (Social Networking)
(5) การถอดบทเรียน
- บทเรียนคือ ข้อค้นพบใหม่
- แนวทางการถอดบทเรียน ได้แก่ มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อะไรที่สำคัญ อะไรที่ทำให้แตกต่าง
- เวลาในการถอดบทเรียน ได้แก่ ก่อนการดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ หลังการดำเนินการ
- วิธีการถอดบทเรียน เช่น เพื่อนช่วยเพื่อน การเล่าเรื่อง ทบทวนหลังปฏิบัติ
(6) สิ่งที่ได้จากการถอดบทเรียน กระบวนการและผลลัพธ์ ได้แก่ คู่มือการปฏิบัติงาน แนวทางการแก้ปัญหา/ตัดสินใจ และแนวปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ
(7) เทคนิคการเขียนสรุปบทเรียน ได้แก่ วิเคราะห์ (บทเรียนอะไร สำคัญอย่างไร) วางกรอบ (หัวข้อหลักของบทเรียน) ตอบขยายความ (ขยายรายละเอียดของแต่ละหัวข้อหลัก อาจใช้การเขียนบรรยาย หรืออธิบายด้วยรูปภาพ)

5. การสร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีการจับสลากเพื่อมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้เข้าร่วมงานตลาดนัดความรู้ สคร.9 นครราชสีมา และผู้เข้าร่วมงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดการประชุม

แพทย์หญิงผลิน กมลวัทน์ รองผู้อำนวยการ สคร.9 นครราชสีมาได้ให้แนวคิดในการจัดการความรู้คือ ต้องมีการนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง มอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากร และกล่าวเปิดการประชุม

6. ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

- การประชุมเชิงปฏิบัติการตลาดนัดความรู้ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ บุคลากรสคร.9 และหน่วยงานเครือข่าย รวมทั้งสิ้น 89 คน (สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 70 คน)

- มีจำนวนองค์ความรู้ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นำเสนอในบูธผลงาน (3 เรื่อง) และโปสเตอร์สรุปบทเรียนการจัดการความรู้ (15 เรื่อง) รวมจำนวน 18 เรื่อง (สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 10 เรื่อง)

- ผู้เข้าร่วมตลาดนัดความรู้ สคร.9 มีความพึงพอใจภาพรวมเฉลี่ย (ระดับมากและมากที่สุด) ร้อยละ 96.85 ค่าเฉลี่ย 3.43 ซึ่งผู้ตอบแบบประเมินไม่มีข้อเสนอแนะอื่นๆ (ด้านเนื้อหาและรูปแบบการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 3.44 , ด้านวิทยากร ค่าเฉลี่ย 3.48 , ด้านสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 3.36)

ข้อเสนอแนะของผู้จัดการประชุม จากผลการประเมินมีการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ (Key Success Factor: KFS) และโอกาสในการพัฒนา (Gap) การจัดตลาดนัดความรู้ ดังนี้

  1. ปัจจัยความสำเร็จในการจัดตลาดนัดความรู้ครั้งนี้ ได้แก่ การเลือกวิทยากร การกำหนดเนื้อหาในการประชุม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเนื้อหาที่ผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับ ซึ่งพิจารณาโดยคณะทำงานจัดการความรู้ สคร.9 (KM Team) รวมทั้งการประสานงาน การบริการของเจ้าหน้าที่ การเตรียมโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งมีการเตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินงาน (Before Action Review: BAR)
  2. โอกาสในการพัฒนาการจัดตลาดนัดความรู้ในครั้งต่อไป ได้แก่ การเลือกสถานที่ในการจัดตลาดนัดความรู้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทางการเลือกห้องจัดการประชุมที่เหมาะสมกับกิจกรรม การเตรียมเอกสารประกอบการประชุมในรูปแบบที่เหมาะสม และกำหนดรูปแบบ/กิจกรรมการเรียนรู้ ในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะช่วยให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะมากขึ้น
  3. ควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะทำงานจัดการความรู้ สคร.9 (KM Team) และผู้สนใจอย่างต่อเนื่องผ่านวิธีการต่างๆ เช่น ชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) Show & Share ชมรม กิจกรรมการถอดบทเรียน การสรุปบทเรียน เป็นต้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการจัดการความรู้ พัฒนาบุคลากรด้านการจัดการความรู้ และนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้พัฒนาการทำงานต่อไป


หมายเลขบันทึก: 602574เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2016 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2016 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สาระยอดเยี่ยม ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณสำหรับความเห็นค่ะ เป็นกำลังใจของคนทำงาน เพื่อพัฒนาต่อไปค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท