กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia)


เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ คนส่วนมากมักจะมีอาการหลงลืมจำอะไรไม่ได้ เช่น ลืมชื่อสมาชิกในครอบครัว
จำวัน เดือน ปี ไม่ได้ ลืมสายรถเมล์ที่เคยนั่งเดินทางเป็นประจำ เดินออกจากบ้านแล้วจำทางกลับบ้านไม่ได้
ลืมของบ่อยๆ ไม่สามารถทำกิจวัตรที่เคยทำได้ เช่น ลืมวิธีการทำเมนูอาหารง่ายๆที่เคยทำได้ มีอารมณ์เฉยเมย เฉื่อยชา ไม่อยากคุยกับใคร แยกตัวออกจากสังคม
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุทั้งหมด


ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคสมองเสื่อมกันก่อน
โรคสมองเสื่อมคืออะไร?
โรคสมองเสื่อม เป็นคำที่เรียกกลุ่มอาการต่างๆที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานของสมองที่เสื่อมลงหลายๆด้าน คนทั่วไปมักเข้าใจว่าผู้ป่วยมีความบกพร่องเฉพาะความจำเท่านั้น แต่จริงแล้ว ยังมีปัญหาในการใช้ความคิด การเรียนรู้สิ่งใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพ จนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันทั้งในด้านการงาน การเข้าสังคม และชีวิตส่วนตัว

โรคสมองเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทุกเพศ จำนวนผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี ๆ โดยผู้ป่วยในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยสูงถึงร้อยละ 5 - 8 และยิ่งทวีสูงขึ้น เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ในผู้ที่อายุ 90 ปีขึ้นไป พบอัตราการเกิดโรคสูงถึงร้อยละ 50

เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมนั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถประคับประคองให้อาการคงที่และสามารถยืดระยะเวลาให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยดิฉันได้สืบหางานวิจัย 3 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia) และได้นำมาเรียบเรียงให้ผู้อ่านเข้าใจ ดังนี้

งานวิจัยแรก คือ
Evaluation of a computer-assisted errorless learning-based memory training program for patients with early Alzheimer’s disease in Hong Kong: a pilot study

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์คือ เปรียบเทียบผลลัพธ์ของการฟื้นฟู ระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ (a computerized errorless learning-based memory training program ;CELP) ผู้บำบัด a therapist-led errorless learning program (TELP) group หรือกลุ่มควบคุมที่รอรับการฟื้นฟู (a waiting-list control group). ของผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะแรก

วีธีการ
คัดกรองผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะแรก โดยการใช้ the Clinical Dementia Rating โดยผู้ที่ได้ 1 คะแนน จะถูกรับเป็นผู้เข้าร่วมในงานวิจัย ซึ่งกำหนดให้มี CELP จำนวน 6 คน TELP จำนวน 6 คน และ ผู้เข้าร่วมที่รอรับการฟื้นฟู
ผลลัพธ์
มีผลลัพธ์ที่ดีทั้งสองการทดลอง แต่มีสิ่งที่น่าสังเกตคือ กลุ่ม CELP มีการทำงานของการรู้คิด(cognition)ที่ดี และ กลุ่ม TELP มีในส่วนของการจัดการอารมณ์และการประกอบกิจวัตรประจำวันที่ดี


งานวิจัยที่สอง
Efficacy of an adjunctive computer-based cognitive training program in amnestic mild cognitive
impairment and Alzheimer's disease: a single-blind, randomized clinical trial

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพใน 12 เดือน ระหว่างการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer-based cognitive training program ;CBCT) กับ การฝึกโดยวิธีดั้งเดิมทั่วไป (traditional cognitive training ;TCT) บนพื้นฐานของ basis of pen-and-paper exercises

วิธีการ
ให้ผู้ป่วย 60 คน ที่เป็นผู้บกพร่องด้านการรู้คิดเล็กน้อยกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะแรก (mild cognitive impairment and mild Alzheimer's disease ) ซึ่งผู้ป่วยที่เข้าร่วมงานวิจัย ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกการรู้คิดและการฟื้นฟูในโรงพยาบาลมาแล้ว โดยจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ได้รับทั้ง CBCT และ TCT จำนวน 37 คน เป็นระยะเวลา 3 เดือน 2. กลุ่มที่ได้รับเฉพาะ TCT จำนวน 23 คน จากนั้นประเมินและติดตามผล หลักจาก 3 เดือน และ 12 เดือน

ผลลัพธ์
กลุ่มที่ได้รับทั้ง CBCT และ TCT มีความวิตกกังวล(Anxiety)น้อยลง รวมทั้งมีการตัดสินใจที่ถูกต้อง ผิดพลาดน้อยลง กว่ากลุ่มที่ได้รับ TCT เพียงอย่างเดียว

งานวิจัยสุดท้าย
Effects of a multidisciplinar cognitive rehabilitation program for patients with mild Alzheimer's disease

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลกระทบของการให้โปรแกรมการบำบัด ในการรู้คิด (cognition) คุณภาพชีวิต (quality of life) และ อาการทางจิตประสาท (neuropsychiatry symptoms)ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะแรก

วิธีการ
แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ให้สุขภาพจิตศึกษา (psychoeducational program )โดยมีผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จำนวน 25 คนและผู้ดูแล 2. กลุ่มที่รอการรักษาในอนาคต จำนวน 16 คน

การรักษา
จัดหาทีมวิชาชีพ ซึ่งประกอบไปด้วย การฝึกด้านความจำ (memory training),การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการรู้คิดผ่านสถานการณ์ ( computer-assisted cognitive stimulation), กิจกรรมที่เกี่ยวกับการแสดงออก (expressive activities ;painting, verbal expression, writing), กายภาพบำบัดphysiotherapy และ การฝึกด้านกายภาพ (physical training) โดยจัดการรักษา 2 ครั้งต่อสัปดาห์ สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมงครึ่ง

การวัดผล
ใช้การวัดผลเปรียบเทียบกันหลายเครื่องมือ เช่น Mini-Mental State Examination, Short Cognitive Test, Quality of Life in Alzheimer's disease, Neuropsychiatric Inventoryและ Geriatric Depression Scale

ผลลัพธ์
กลุ่มแรก มีอาการคงที่ มีอาการซึมเศร้าลดลง และสามารถลดภาระการดูแลจากผู้ดูแลได้
กลุ่มสอง มีอาการแย่ลง

จากงานวิจัยทั้งหมด จะเห็นได้ว่า การฟื้นฟูที่ได้ผลลัพธ์ที่ดี คือ มีการใช้สื่อเช่น ผู้บำบัดซึ่งไม่ใช่เพียงแต่นักกิจกรรมบำบัดเพียงอย่างเดียว ยังรวมถึงสหวิชาชีพอื่นอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการฝึกการสมอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรู้คิด (cognitive) ในตัวผู้รับบริการ และที่สำคัญ ผู้ดูแลเป็นกำลังสำคัญเนื่องจากเป็นผู้ที่ใกล้ชิดผู้รับบริการมากที่สุดในการคงความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการได้ เพื่อให้ผู้รับมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่ร่วมสังคมได้อย่างมีความสุข


"ความเสื่อมของสมองไม่สามารถย้อนคืน แต่ผู้สูงอายุสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้"


อ้างอิง :

http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1/

https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2556/better-brain-health/dementia-alzheimer

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3679968/pdf/cia-8-623.pdf

http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/gps.3794/full

http://www.scielo.br/scielo.php?pid=S1807-59322011000800015&script=sci_arttext











หมายเลขบันทึก: 602570เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2016 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2016 06:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท