การเปรียบเทียบการดูแลตนเองในผู้สูงอายุและผู้ใหญ่ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว


จากการศึกษางานวิจัย " Age and Heart Failure Self-Care"


งานวิจัยนี้จัดทำด้วยสมมติฐานที่ว่า ผู้สูงอายุน่าจะมีสมรรถนะการดูและตนเองน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากหน้าที่ด้านการรู้คิดลดลงตามวัย และผลโดยคตรงจากการหัวใจล้มเหลว ทำให้การรู้คิดบกพร่อง เนื่องจากปริมาณเลือดสูบฉีดจากหัวใจไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ผลที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึิ้นผู้สูงอายุน่าจะได้รับผลกระทบที่มากกว่า ทำให้การเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ช้า ต้องใช้เวลามากว่าในการเียนรู้ มีความยุ่งยากในการปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่าสมรรถนะในการดูแลตนเองน่าจะน้อยกว่าผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่และขาดความต่อเนื่องในการดูแลตนเองเพื่อคงภาวะสุขภาพระยะยาว

เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล มี 4 กลุ่ม

1. แบบบันทึกข้อมมูลทั่วไป

1.1 ลักษณะทั่วไปส่วนบุคคล ในด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ การทำงาน เป็นต้น

1.2 ลักษณะความเจ็บป่วย ได้แก่ ระยะเวลาในการเจ็บป่วย สาเหตุของโรค ยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประวัติทางเวชระเบียน

2. แบบประเมินความรุนแรงของโรค

3. แบบประเมินโรคร่วม

4. แบบสัมภาษณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว : แบบสัมภาษณ์จะมีจำนวน 15 ข้อ ประเมินสมรรถนะการดูแลตนเองใน 3 มิติด้วยกัน

4.1 การดูแลตนเองเพื่อคงภาวะสุขภาพ จำนวน 5 ข้อ

4.2 การดูแลตนเองเพื่อจัดการอาการ จำนวน 6 ข้อ

4.3 ความมั่นใจในการดูแลตนเอง จำนวน 4 ข้อ

ผลจากการศึกษาพบว่า สมรรถนะในการดูตนเอง ทั้งโดยรวมและในรายด้าน อยู่ในระดับพอใช้เฉลี่ย 59% และเฉลี่ยในรายด้านที่น้อยที่สุดคือ การดูแลควบคุมน้ำหนัก เฉลี่ย 45% และในด้านที่มากที่สุดคือการดูแลป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย เฉลี่ย 71% เมื่อหาค่านัยสำคัญทางสถิติพบว่า ผู้สูงอายุมีก่ีดูแลตนเองไม่ต่างจากผู้ใหย๋ แต่ผู้ใหญ่จะดูแลตนเองได้ดีกว่าในด้านการทำกิจกรรมการออกแรงเคลื่อนไหว

นอกจากนั้นผู้ป่วยสูงอายุมีการเรียนรู้และพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองน้อยมาก สมรรถนะการดูแลตนเองของผู้ป่วยจึงไม่น่าจะมีผลโดยตรงมาจากปัจจัยด้านผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังเกิดจจากปัจจัยการบริการทางสุขภาพอีกด้วย การบำบัดยังขาดแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมการดูแลตนเอง ผู้ป่วยมีดอกาสน้อยในการเข้าถึงข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการตัดสินใจดูแลตนเอง นอกจากปัจจัยด้านอายุ ปัจจัยด้านผู้ป่วย และระบบบริการสุขภาพแล้ว ปัจจันอื่นๆ โดยเฉพาะความมั่นใจในการดูแลตนเอง แหลังพึ่งพิงทางสังคมและการดูแลช่วยเหลือของผู้ดูแลที่บ้าน อ่จเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีผลต่อสมรรถนะการดูแลตนเองเพื่อคงภาวะสุขภาพและการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องในระยะยาวของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่เติมได้ที่ : http://thailand.digitaljournals.org/index.php/SOMJ...

หมายเลขบันทึก: 602490เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท