การศึกษาดูงาน ณ โรงบาลจิตเวชแนวคิดใหม่


สวัสดีครับใครๆหลายๆคนอาจเคยได้ยินกับชื่อ โรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลมนารมณ์ ซึ่งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ตัวผมนั้นได้มีโอกาสได้เข้าไปศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลทั้งสองแห่งนี้ในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปี่ที่ 3

โดยสถานที่แรกที่ผมได้เข้าไปศึกษาดูงานนั้นคือโรงพยาบาลกรุงเทพ สิ่งแรกที่พบรู้สึกประทับใจมากเลยนะครับ ก็คือสภาพแวดล้อมภายในโรงพยาบาล ที่จัดเป็นสัดส่วน สะอาดตา และสวยงาม และต่อมาผมได้พบกับ " พี่โบว์ " นักกิจกรรมบำบัดประจำโรงพยาบาลกรุงเทพแห่งนี้ ซึ่งพี่โบว์ได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ ซึ่งผมจะขอกล่าวถึงศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพเป็นเรื่องแรกนะครับ

ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ หรือ Bangkok Mental Health Rehabilitation and Recovery Center (BMRC) เป็นศูนย์บริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชแนวคิดใหม่ ที่มุ่งเน้นบริการวินิจฉัย รักษา และบำบัดฟื้นฟูสุขภาพใจ ตามหลัก Recovery Oriented Services (ROS) ที่สนับสนุนให้ผู้ป่วยตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง และมีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการบำบัดให้เหมาะสมตามความต้องการ และศักยภาพของผู้ป่วยแต่ละราย โดยทีมจิตแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต

ต่อมานะครับผมจะขอกล่าวถึงบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ แห่งนี้นะครับ จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม ตามความเหมาะสม และทำการบำบัดฟื้นฟูทางด้านจิตใจ เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด โยคะ mind fullness ห้องครัวและสวนพักผ่อนที่สร้างขึ้นสำหรับทำกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมนันทนาการ

เขียนตามหลัก Smart Trees

S: Self ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ

M: Motivation แรงจูงใจของวิชาชีพๆต่างไม่ว่าจะเป็น หมอ จิตแพทย์ พยาบาล และนักกิจกรรมบำบัดที่มีความต้องการอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยกลับมาดีให้ได้มากที่สุด

A: Ability ความสามารถในการรักษา บำบัดนำเทคนิคต่างๆมาใช้ในการรักษา

RT: Role transformation นักกิจกรรมบำบัดที่นำความรู้เทคนิคต่างๆมาใช้ในโรงพยาบาลที่มีบทบาทหน้าที่ในการบำบัดรักษา อีกทั้งยังเป็นผู้รับฟังปัญหาให้คำแนะนำเหมือนคนมนครอบครัว ให้บทบาทในการสอน นักศึกษกิจกรรมบำบัด

TR: Therapeutic relationship ความสัมพันธ์กับผู้รับบริการกับผู้บำบัด ความสัมพันธ์ระหว่างสหวิชาชีพ อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัดกับครอบครัว(ู้รับบริการ

TE : Therapeutic Environment มีการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมแก่ผู้รับบริการ ทั้งในตัวห้องการรักษา สภาพแวดล้อมภายนอกตึก รวมถึงรายละเอียดเล็กๆน้อยเช่น ที่นั่ง โต๊ะเป็นต้น

TE: Therapeutic Empathy ความเห็นอกเห็นใจในผู้รับบริการ เข้าใจถึงตัวโรคที่เป็นสาเหตุให้ผู้รับบริมีอาการ โดยไม่โกรธ

TS : Therapeutic Skill คือ ทักษะความสามารถของสหวิชาชีพที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งทำอย่างเป็นความชำนาญในการบำบัดฟิ้นฟูผู้ป่วย

และสถานที่ต่อมาที่ผมได้เข้าไปศึกษาดูงานนะครับคือ โรงพยาบาลมนารมณ์ ครับ โดยโรงพยาบาลมนารมณ์แห่งนี้ เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการส่งเสริม ดูแลรักษา และฟื้นฟูด้านสุขภาพจิต ซึ่งกิจกรรมเด่นๆที่ผมจะขอกล่าวถึงในวันนี้นะครับ เรียกว่า กิจกรรมกลางวัน หรือ day program เป็นโปรแกรมการบำบัดรักษาที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ โดยมีรูปแบบครอบคลุมทั้งในลักษณะรายบุคคล หรือ กลุ่ม ให้สอดคล้องกับความต้องการในการบำบัด ให้ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจ การเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาตนเองตามมา ซึ่งการบำบัดรักษษแบบรายบุคคลนั้น ประกอบไปด้วย กิจกรรมบำบัด ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ละครบำบัด การศึกษาพิเศษ และกายภาพบำบัด ส่วนทางด้านการบำบัดรักษษแบบกลุ่มนั้น จะเป็นการจัดกลุ่มเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้สึก และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีแก่สมาชิกและเจ้าหน้าที่ และยังมีการดูแลรักษาในกลุ่มเด็กสมาธิสั้นให้สามารถจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น

เขียนตามหลัก Smart Trees

S: Self โรงพยาบาลมนารมย์

M:แรจูงใจของวิชาชีพต่างไม่ว่าจะเป็น หมอ จิตแพทย์ พยาบาล และนักกิจกรรมบำบัดที่มีความต้องการอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยกลับมาดีให้ได้มากที่สุด และส่งเสริมการกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวอย่างมีความสุขที่สุด

A: Ability ความสามารถในการรักษา บำบัดนำเทคนิคต่างๆมาใช้ในการรักษา

RT: Role transformation นักกิจกรรมบำบัดที่นำความรู้เทคนิคต่างๆมาใช้ในโรงพยาบาลที่มีบทบาทหน้าที่ในการบำบัดรักษา อีกทั้งยังเป็นผู้รับฟังปัญหาให้คำแนะนำเหมือนคนนครอบครัว ซึ่งนำมาให้ความรู็และการสอน นักศึกษกิจกรรมบำบัด

TR: Therapeutic relationshipความสัมพันธ์กับผู้รับบริการกับผู้บำบัด ความสัมพันธ์ระหว่างสหวิชาชีพ อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัดกับครอบครัรัวผู้รับบริการ

TE : Therapeutic Environment มีการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมแก่ผู้รับบริการ ทั้งในตัวห้องการรักษา สภาพแวดล้อมภายนอกตึก รวมถึงรายละเอียดเล็กๆน้อยเช่น ที่นั่ง โต๊ะเป็นต้น

TE: Therapeutic Empathy ความเห็นอกเห็นใจในผู้รับบริการ เข้าใจถึงตัวโรคที่เป็นสาเหตุให้ผู้รับบริมีอาการ โดยไม่โกรธ

TS : Therapeutic Skill คือ ทักษะความสามารถของสหวิชาชีพที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งทำอย่างเป็นความชำนาญในการบำบัดฟิ้นฟูผู้ป่วย

แหล่งอ้างอิง

http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/center...

http://www.manarom.com/

หมายเลขบันทึก: 602489เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท