กิจกรรมบำบัดในการให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม ตอนที่ 3


ภาวะสมองเสื่อม เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นโรคของความเสื่อม ที่เป็นสาเหตุของความผิดปกติของหน่วยความจำ ปัญหาพฤติกรรม การสูญเสียความสามารถในการทำงานในกิจวัตรประจำวัน และสูญเสียการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะลดคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแล สร้างแรงกดดันต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ

กิจกรรมบำบัดสามารถเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต การมีส่วนร่วมทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่อาศัยอยู่ในชุมชน แล้วยังช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจในความสามารถรวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล และสุดท้ายคือสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ เนื่องจากผู้ป่วยมีความสามารถเพิ่มมากขึ้น

จากงานวิจัย Community occupational therapy for older patients with dementia and their care givers เป็นการกล่าวถึงชุมชนบำบัดสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลของพวกเขา ในงานวิจัยผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม จำนวน 135 คน อายุ 65 ปีขึ้นไป มีระดับภาวะสมองเสื่อมในระดับปานกลาง อาศัยอยู่ในชุมชนกับผู้ดูแล

การให้การรักษามีการพัฒนาเป็นกระบวนการและได้ดำเนินการโดยนักกิจกรรมบำบัดที่มีประสบการณ์ที่ได้รับการฝึกฝน (80 ชั่วโมง) และมีประสบการณ์ (อย่างน้อย 240 ชั่วโมง) ในการรักษานั้นจะจัดขึ้น 10 ครั้ง โดยครั้งละ 1 ชั่งโมง ตลอด 5 สัปดาห์ ซึ่งจะให้ความสนใจทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลของพวกเขา

ในช่วงสี่ครั้งแรกของการวินิจฉัยและการกำหนดเป้าหมาย ผู้ป่วยและผู้ดูแลเรียนรู้ที่จะกำหนดปัญหาของพวกเขา และจัดลำดับความสำคัญกิจกรรมที่มีความหมายที่พวกเขาต้องการที่จะปรับปรุง นักกิจกรรมบำบัดจะให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง มีการสัมภาษณ์ เล่าเรื่อง และนักกิจกรรมบำบัดประเมินความเป็นไปได้สำหรับการปรับเปลี่ยนบ้านและสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย สังเกตความสามารถในการดำเนินกิจกรรมในประจำวันของผู้ป่วยโดยการใช้เทคนิคการชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปและการปรับสิ่งแวดล้อม เทคนิคการชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปจะใช้ในความสามารถของผู้ป่วยให้เข้ากับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และเทคนิคการปรับสิ่งแวดล้อมจะใช้ในการปรับสภาพแวดล้อมของผู้ที่มีความบกพร่องด้านความรู้ความเข้าใจ นอกจากนั้นนักกิจกรรมบำบัดยังสังเกตดูความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม

ในส่วนที่เหลืออีก 6 ครั้งผู้ป่วยจะได้รับการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเทคนิคการชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปและการปรับสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้เพื่อปรับปรุงทักษะความสามารถของผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน และผู้ดูแลของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมจะได้รับการฝึกเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ การควบคุมดูแลพฤติกรรม การแก้ไขปัญหา และการจัดการกับปัญหาในการดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ทำให้ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระตามความสามารถของเข้าและได้มีส่วนร่วมในสังคมด้วย

การวัดผลจะมีการประเมินก่อนการให้การรักษา 6 สัปดาห์ และหลังให้การรักษา 3 เดือน การวัดผลที่ได้ คือผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ได้รับการทำงานในชีวิตประจำวัน การประเมินทักษะกระบวนการและการเคลื่อนไหวคะแนนแสดงให้เห็นว่าทักษะกระบวนการดีขึ้นกว่าในตอนแรก จากการสัมภาษณ์พบว่าผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมต้องการการช่วยเหลือลดลง และสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมได้


เขียนสรุปโดยใช้ PEOP Model ได้ดังนี้



Reference

Maud J L Graff. Community occupational therapy for older patients with dementia and their care givers. 2008 Jan [cited 2016 Feb 20]. Available from: http://www.bmj.com/content/336/7636/134?gca=336%25252F7636%25252F138&sendit=Get+All+Checked+Abstract%28s%29

หมายเลขบันทึก: 602486เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท