กิจกรรมบำบัดในการให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม ตอนที่ 1



สวัสดีค่ะ ดิฉันจะมาพูดถึง กิจกรรมบำบัดในการให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งดิฉันได้ค้นหา และอ่านงานวิจัยทั้งหมด 3 งานด้วยกัน ในการที่จะมาอธิบายในครั้งนี้

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคสมองเสื่อม (Dementia) คืออะไร ?

โรคสมองเสื่อม (Dementia) เป็นคำที่เรียกกลุ่มอาการต่างๆที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานของสมองที่เสื่อมลงหลายๆด้าน คนทั่วไปมักเข้าใจว่าผู้ป่วยมีความบกพร่องเฉพาะความจำเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว ยังมีปัญหาในการใช้ความคิด การเรียนรู้สิ่งใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพ จนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันทั้งในด้านการดูแลตนเอง การงาน และการเข้าสังคม

ซึ่งการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยเหลือผู้ป่วย Dementia ได้อย่างไร

จากงานวิจัยแรก Effectiveness of an individualized functional training program on affective disturbances and functional skills in mild and moderate dementia - A randomized control trial. เป็นการศึกษา การฝึกทักษะในการทำงานและการจัดการอารมณ์ของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง (mild-moderate dementia) ทั้งหมด 74 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 มีจำนวน 37 คน ได้รับการฝึกรายบุคคลในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

กลุ่มที่ 2 มีจำนวน 37 คน เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับการฝึกกิจกรรมเหมือนกันทุกคน

โดยกิจกรรมที่ฝึกจะมีการอบรมทักษะ และการฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา หลังจากการฝึกจะมีการติดตามผล 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังจากการฝึก 1 เดือน ทั้งสองกลุ่มยังมีการพัฒนาดีขึ้นไปในแนวทางเดียวกัน และการติดตามผลครั้งที่ 2 ในอีก4 เดือน พบว่ากลุ่มที่ 1 มีการพัฒนาดีขึ้นกว่าในกลุ่มที่ 2 ผลการวิจัยจึงชี้ให้เห็นได้ว่า ประโยชน์ของการบำบัดรักษารายบุคคลนั้นมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการบำบัดรักษาควรจะออกแบบให้เหมาะสมกับบุคคลแต่ละราย เปรียบเหมือนการตัดเสื้อผ้า ต้องตัดให้พอดีและเหมาะสมกับบุคคลที่สวมใส่จึงทำให้ใส่ได้สบายและยาวนาน


เขียนสรุปโดยใช้ PEOP Model ได้ดังนี้


Reference :

John Wiley & Sons. Effectiveness of an individualized functional training program on affective disturbances and functional skills in mild and moderate dementia - A randomized control trial. 2010 Feb [cited 2016 Feb 20]. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19582757

หมายเลขบันทึก: 602479เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท