การจัดการภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง


ปัญหาที่พบมากหลังจากการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆเนื่องจากสมองส่วนที่ที่ขาดเลือดนั้นเป็นส่วนควบคุมเกี่ยวกับการกลั้นปัสสวาะ เช่นในสมองส่วน internal capsule เป็นต้น


จากศึกษางานวิจัยชื่อว่า " A Synthesis of Research on Management of Urinary Incontinence in Person with Stoke "


ถึงแม้ว่าภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลืดสมองเป็นเพียงกลุ่มอาการที่ไม่ใช่โรค แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจและระบบบริการสุขภาพของประเทศ จึงต้องมีระบบการจัดการ 3 ประเด็นหลักๆ

1. การประเมินภาวะการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ : ประกอบด้วยการการสืบค้นประวัติในด้านข้อมูลส่วนบุคล ประวัติการเจ็บป่วยและอาการแสดง ปัจจัยที่ส่งเสริมภาวะการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รวมถึงสถานภาพของความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย สภาพจิตใจ การรู้คิด ความซึมเศร้าและการสื่อสาร โโยการใช้แบบประเมินต่างๆ

2. วิธีการจัดการภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ : การใช้พฤติกรรมบำบัดโดยการกำหนดตารางเวลาในการการขับถ่ายปัสสาวะร่วมกันกับ วิธีการจัดการอื่นๆ ได้แก่ มีระบบการสอน อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการขับถ่ายปัสสาวะร่วมกับไบโอฟีดแบคและการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและ/หรือการใช้ยา ร่วมกับการหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และใช้อุปกรณ์รองรับปัสสาวะ และร่วมกับการให้ดื่มน้ำวันละ 2000-2500 มล. และมีการจดบันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออก ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองสมองสามารถกลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้น

3. ระบบการจัดการปัญหาในหน่วยงาน/องค์กร : การอบรมและให้ความรู้แก่เจ้าที่ทีมสุขภาพ ในกระบวนการฟื้นฟูผู้ป่วย โดยมีการตั้งเป้าหมาย วางแผนฟื้นฟูการและการประเมินผลความสามารถในการทำงานของร่างกาย มีการตั้งเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้รับบริการและผู้ดูแล และดำเนินการตามกรอบแนวทาง


สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที : file:///C:/Users/com-7/Downloads/70-79-1-PB.pdf



หมายเลขบันทึก: 602474เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท