กิจกรรมบำบัดในการให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม ตอนที่ 2



จากตอนที่1 การให้การบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นการบำบัดรักษาควรจะเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล จะทำให้การบำบัดรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

ในตอนที่ 2 ก็จะกล่าวถึงการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดต่อ โดยขอเล่าก่อนว่า ....

โรคสมองเสื่อม (Dementia) กับโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease)มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในแง่ที่ว่า โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) นั้นเป็นโรคหนึ่งในกลุ่มอาการสมองเสื่อม และเป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ซึ่งจะเชื่อมในงานวิจัยที่สอง A multicentre RCT on community occupational therapy in Alzheimer's disease: 10 sessions are not better than one consultation ได้เปรียบเทียบการให้คำปรึกษา 10 ครั้งกับการให้คำปรึกษาเพียงครั้งเดียว ที่บ้านของผู้ป่วย Alzheimer's disease จำนวน 141 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มทดลอง 71 คน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม 70 คน

กลุ่มที่ 1 กลุ่มทดลอง

การไปเยี่ยมที่บ้าน 10 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ภายในเวลา 5 สัปดาห์ ในครั้งแรกถึงครั้งที่ 3/4

  • มีการประเมินผู้ป่วย สอบถามถึงประวัติการทำกิจวัตรประจำวัน
  • สังเกตความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และการใช้เทคนิคชดเชยความสามารถที่สูญเสียไป
  • สังเกตความเป็นไปได้ในการปรับสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย
  • หากิจกรรมที่เป็นปัญหาในการดูแลผู้ป่วยของผู้รับบริการ และดูวิธีการแก้ไขปัญหา รวมถึงความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของผู้ดูแล
  • สังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วย

ในครั้งที่ 5/6 ถึงครั้งที่ 10 เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยและผู้ดูแล ให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำได้ด้วยตนเองตามความสามารถที่มี โดยการปรับตามปัญหาที่ได้ประเมินไปแล้วในข้างต้น

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม

ได้ให้คำปรึกษา 1 ชั่วโมง ที่บ้านของผู้ป่วย 30 นาทีแรกเป็นการค้นหาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้ป่วยและความต้องการของผู้ดูแล และอีก 30 นาทีในการให้รายละเอียดของการรักษาเช่นเดียวกันกับกลุ่มแบบการทดลอง

ซึ่งผลการศึกษานี้พบว่า การทำโปรแกรม 10 ครั้งไม่มีประโยชน์มากขึ้นกว่าการให้คำปรึกษาในครั้งเดียวที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และทั้งสองกลุ่มก็ยังคงต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่อาศัยอยู่ด้วยกันบ้าง


เขียนสรุปโดยใช้ PEOP Model ได้ดังนี้

สรุปคือการให้การบำบัดรักษาไม่จำเป็นว่าทำหลายครั้งแล้วจะได้ประสิทธิภาพที่ดี แต่สิ่งที่สำคัญเป็นการบำบัดรักษาที่ตรงประเด็น ตรงตามความต้องการของผู้ป่วยและผู้ดูแล เพียงการรักษาครั้งเดียวก็ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้



Reference

Dr. Sebastian Voigt-Radloff. A multicentre RCT on community occupational therapy in Alzheimer's disease: 10 sessions are not better than one consultation. 2011 Aug [cited 2016 Feb 20]. Available from: http://bmjopen.bmj.com/content/1/1/e000096.full

หมายเลขบันทึก: 602480เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท