การฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจ


จากคำถามชวนคิดที่ทิ้งท้ายไว้ในบันทึก"การฟื้นฟูผู้สูงอายุโดยใช้วิถีการดำเนินชีวิต" อ่านต่อได้ที่:https://www.gotoknow.org/posts/602425 ที่ว่า

คำถาม: ความรู้ความเข้าใจที่การฝึกกิจกรรมบำบัดโดยผ่านวิถีการดำเนินชีวิตไม่สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ เราจะสามารถใช้วิธีไหนพัฒนาได้ ?

ดิฉันได้ทำการค้นคว้าแล้วเจอหนึ่งวิธีที่น่าสนใจในงานวิจัยต่อไปนี้

3.Cognitive remediation fordepressed inpatients: Results of a pilot randomized controlled trial

งานวิจัยนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นผู้ป่วยในที่มีภาวะซึมเศร้า ในโรงพยาบาลจิตเวชจำนวน 46 คน ที่ประเทศเยอรมัน โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่รับยารับประทาน และกลุ่มที่ได้รับการฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจ(Cognitive remediation)

การฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจ(Cognitive remediation)ประกอบด้วย

  1. การปรับความคิดและพฤติกรรม(Cognitive Behavioral Therapy) คือ การที่ผู้บำบัดทำการชี้แนะบุคคลให้เข้าใจถึงความคิดที่เบี่ยงเบนและพฤติกรรมที่ผิดปกติของเขา โดยเน้นการพูดโต้แย้งอย่างเป็นระบบและกิจกรรมต่างๆเพื่อปรับเปลี่ยยนความคิดที่เบี่ยงเบนและพฤติกรรมที่ ผิดปกติด้วยตนเองการทำโดยได้โปรแกรมนี้ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  2. กิจกรรมการดำเนินชีวิต(Occupational therapy) คือ ช่วยให้บุคคลประกอบกิจกรรมการดำเนินชิวิตต่างๆทั้งการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน การทำกิจกรรมยามว่าง การมีส่วนร่วมทางสังคม เพื่อให้หลุดออกมาจากภาวะซึมเศร้า คิดซ้ำๆได้โปรแกรมนี้ 2 ครั้งต่อสัปดาห์
  3. กีฬา(Sport) คือการนำกีฬามาดึงดูดความสนใจ ให้สนใจกิจกรรม และได้ออกกำลังกายได้โปรแกรมนี้ 1 ครั้งต่อสัปดาห์
  4. การผ่อนคลาย(Relaxation) คือ การที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายไม่เครียด เช่น การหายใจเข้าออกช้าๆ การไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ การทำสมาธิ เป็นต้นได้โปรแกรมนี้ 2 ครั้งต่อสัปดาห์
  5. ดนตรีบำบัด(music therapy) คือ การนำดนตรีหรือองค์ประกอบทางดนตรีมาช่วยทำให้บุคคลมีสุขภาวะกาย ใจและสังคมที่ดี ได้โปรแกรมนี้ 1 ครั้งต่อสัปดาห์

ในการฟื้นฟูเริ่มแรกก่อนการฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจอาจต้องเพิ่มแรงจูงใจในการฝึกก่อนโดยจะใช้"เกม" เป็นตัวกระตุ้นฝึก โดยเกมก็จะมีระดับความยากง่ายอยู่ห้าระดับ ผู้บำบัดเริ่มจากง่ายก่อนเพื่อให้บุคคลรู้สึกดีที่ทำสำเร็จ ตัวอย่างเกม เช่น ช่วยเจ้าหญิงที่หลงอยู่ในเขาวงกต เกมป้องกันสลัดจากหอยทากหิวโซ เป็นต้น

การประเมิน ทำการประเมิน ภาวะซึมเศร้า(ใช้ BDI) และประเมินระดับความรู้ความเข้าใจ ศักยภาพการเรียนรู้โดยใช้Wisconsin Card Sorting Test (WCST)

ผลงานวิจัย กลุ่มที่ได้รับการฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจ(Cognitive remediation) มีการพัฒนาด้านความจำต่างๆที่ดีขึ้น สามารถคิดตัดสินใจ แก้ไขปัญหาได้แต่การใช้วิธีนี้ไม่ได้ช่วยทำให้ช่วงความสนใจดีขึ้น

สรุป การฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจ(Cognitive remediation)ประสบความสำเร็จสำหรับบุคคลซึ่่งมีภาวะซึมเศร้าในโรงพยาบาลจิตเวช

คำตอบ : Cognitive remediation เป็นวิธีหนึ่งซึ่งสามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ความจำของบุคคลได้แต่ยังไม่แน่ชัดว่าจะให้ผลที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าหรือไม่ ต้องทำการศึกษาสือต่อไป

reference

http://anp.sagepub.com/content/50/1/46.short

หมายเลขบันทึก: 602448เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 00:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท