evidence base PTOT336


Protocol for systematic review: Interventions to reduce dependency in personal activities of daily living in community-dwelling adults who use homecare service

Background
ในปัจจุบันผู้ที่มีความยากลำบากในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตมักจะใช้บริการให้มีผู้ช่วยเหลือคอยดูแลและทำให้มากเกินไป ซึ่งการบริการเหล่านี้มีมากมายหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะ ในโลกที่พัฒนาแล้ว ความต้องการเกี่ยวกับบริการการดูแลเพิ่มขึ้นอย่างมากรวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้นำไปสู่การพัฒนาเชิงป้องกันหรือชะลอความจำเป็นที่จะต้องการผู้ดูแล อย่างไรก็ตามการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการให้การบำบัดรักษา(intervention)ที่มีเวลาและความหนักที่เหมาะสมจะมีการส่งผลต่อบุคคลได้อย่างไรไม่ชัดเจนมากนัก
ความบกพร่องด้านการทำกิจวัตรประจำวันอาจเกิดจากความทุพพลภาพ,โรคเรื้อรังหรือเกิดความบกพร่องเพียงแค่ชั่วคราวที่เกิดจากอุบัติเหตุเช่นกระดูกสะโพกหัก เป็นต้น ความบกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้เกิดเพียงเฉพาะผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเกิดได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัยไม่ว่าจะเป็นเพียงชั่วคราวหรือถาวร
การศึกษานี้ได้ทบทวนวิธีการบำบัดรักษารายบุคคลที่ได้รับการดูแลที่มีเป้าหมายให้พึ่งพาตนเองได้เพิ่มขึ้นในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐาน(ADLs) ซึ่งวิธีการหลักของการบำบัดรักษาคือมีการประเมินและดูความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิต,การฝึกขั้นตอนการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตประจำวันซ้ำๆ,การให้ความรู้ในการดูแลตนเอง,การสร้างเครือข่ายสนับสนุนทางสังคม รวมไปถึงการปรับสภาพบ้านและให้อุปกรณ์ช่วย
นักกิจกรรมบำบัดมีความเชี่ยวชาญในการเพิ่มพูนทักษะความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตของผู้รับบริการได้ แต่อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมของนักกิจกรรมบำบัดในการปรับการในบริการการดูแลที่บ้าน(homecare service) ยังไม่เด่นชัดมากนัก
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาหาวิธีการที่ได้ผลในการลดภาวะพึ่งพาในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตโดยให้routine output เปรียบเทียบกับusual careและเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกจากนักกิจกรรมบำบัดและไม่ได้รับการฝึกจากนักกิจกรรมบำบัดในด้านของความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิต
วิธีการศึกษา
ผู้เข้าร่วมมีอายุตั้งแต่18ปีขึ้นไปที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในสถาบันการดูแลในชุมชนและได้ใช้บริการการดูแลที่บ้าน โดยการดูแลที่บ้านที่กำหนดนั้นคือการเยี่ยมบ้านรายสัปดาห์หรือมากกว่าเพื่อเข้ามาช่วยเหลือการทำกิจกรรมดำเนินชีวิต โดยผู้เข้าร่วมที่จะถูกคัดออกเนื่องจากการดูแลที่บ้านที่ได้รับนั้นมุ่งเป้าไปยังการดูแลระยะสุดท้าย
รูปแบบการทดลองมีทั้ง randomised controlled trials, nonrandomized controlled trials และกลุ่มควบคุมเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลัง โดยจะมีการเก็บข้อมูลเป็น3ช่วงเวลา คือน้อยกว่า 6 เดือน,6-12เดือน และมากกว่า 12 เดือน
รูปแบบการให้บำบัดรักษาแบ่งออกเป็น2รูปแบบคือ 1 single component คือมีวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญหรือไปเยี่ยมบ้าน1ครั้ง 2 multiple components คือมีทีมสหวิชาชีพ โดยรายละเอียดในแต่ละรูปแบบการรักษาหรือวิธีการนั้นจะอธิบายเชิงบรรยายในการทบทวน
การวัดผล จะมี2ระดับด้วยกันคือ 1 Primary outcomes มีการศึกษา2ด้านคือความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตโดยสามารถวัดได้จากแบบประเมิน Barthel index และศึกษาความเสื่อมสภาพของความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิต โดยวัดได้จากการลดลงของคะแนนด้านการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตหรือไม่
2 Secondary outcomes เป็นผลที่ได้ตามแต่ละบุคคลเช่นความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตขั้นสูง(IADLs), จำนวนผู้เข้าร่วมที่เข้าโรงพยาบาล,จำนวนผู้เข้าร่วมที่พลัดหกล้ม เป็นต้น
Discussion
การศึกษาเรื่องนี้พยายามที่จะค้นหาวิธีที่ได้ผลในการลดภาวะพึ่งพาผู้อื่นแต่ยังไม่มีการสรุปที่แน่ชัดเกี่ยวกับผลที่ได้ในแต่ละการให้การบำบัดรักษา เนื่องจากมีหลักฐานเกี่ยวกับการทดสอบยังมีไม่มากพอ ในอนาคตอาจมีการศึกษาร่วมกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลที่บ้าน ซึ่งหากการศึกษาข้อมูลนี้มีความน่าเชื่อถือและได้รับการการันตีอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย,โครงสร้าง,รูปแบบการให้บริการ
ที่มา : http://systematicreviewsjournal.biomedcentral.com/...


A randomised controlled trial of the Home Independence Program, an Australian restorative home-care programme for older adults

ศึกษาโดยนำผู้เข้าร่วมมี2กลุ่ม ใช้วิธีการ Randomized controlled trial โดยกลุ่มควบคุมจะได้รับ Home and Community Care (HACC) ตามปกติ ส่วนกลุ่มบำบัดรักษาจะได้รับHome Independence Programe (HIP) ผู้ที่เข้าร่วมการทดลองนี้จะต้องมีอายุ 65ปีขึ้นไปและไม่มีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมหรือมีโรคทางระบบประสาทที่อาการเสื่อมลงเรื่อยๆหรือได้รับการดูแลระยะสุดท้าย และผู้เข้าร่วมจะต้องพูดภาษาอังกฤษได้
Intervention-HIP
คือการนำหลักการของการให้การบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกมาพัฒนาโดยมีเป้าหมายที่จะป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของความสามารถในการทำกิจกรรม,ส่งเสริมสุขภาพที่ดีตามวัย และเพิ่มการจัดการดูแลตนเองในผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง วิธีการต่างๆที่ใช้ในโปรแกรมนี้ประกอบไปด้วย 1.การวิเคราะห์กิจกรรมและปรับให้งานนั้นง่ายขึ้นและ/หรือใช้เทคโนโลยีเครื่องช่วย
2. การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ,ความทนทาน,การทรงตัว เพื่อพัฒนาหรือคงสภาพความสามารถในการเคลื่อนย้ายตนเอง
3. การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
4. การป้องกันการล้ม
5. การดูแลเกี่ยวกับสารอาหารที่ได้รับ
Standard HACC home care
เป็นการประเมินความต้องการรายบุคคลและให้การดูแลโดยตรง ซ฿งส่วนมากความต้องการที่พบบ่อยคือการช่วยเหลือในการอาบน้ำและการทำความสะอาดบ้านรายอาทิตย์
การวัดผล
มีการเก็บข้อมูล3ช่วงเวลาคือ ก่อนการทำการทดลอง,3เดือนผ่านไปและ12เดือนผ่านไป หัวข้อที่ประเมินคือ 1.คุณภาพชีวิต(Quality of life) โดยวัดจากthe Assessment of Quality of Life Scale
2.ความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐานและขั้นสูง(ADLs&IADLs)โดยวัดจากBarthel indexและLawton and Brody scale
3. ประเมินเกี่ยวกับการป้องกันการล้ม โดยใช้ Modified Falls Efficacy Scale(MFES)
ผลการทดสอบพบว่าทั้ง2กลุ่มมีการเพิ่มขึ้นของความสามารถในด้านต่างๆอย่างไม่แตกต่างกันมากนัก ในบางด้านกลุ่มควบคุมมีผลที่ดีกว่ากลุ่มทดลองในช่วง3เดือนแรก แต่ทว่าในภาพรวมระยะยาวกลุ่มทดลองมีค่าความสามารถที่ยังคงที่และสูงกว่ากลุ่มทดลอง สรุปได้ว่าการเข้าร่วมโปรแกรมในระยะสั้นได้ส่งผลให้มีความต้องการลดลงของการดูแลที่บ้าน

ที่มา : http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1365-...

Effectiveness of the “Cancer Home-Life Intervention” on everyday activities and quality of life in people with advanced cancer living at home: a randomized controlled trial and an economic evaluation

วัตถุประสงค์ในการศึกษา
1. เพื่อศึกษาหาแนวทางการบำบัดรักษาที่ได้ผลดีในผู้ป่วยมะเร็งในรูปแบบของคุณภาพการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตพื้นฐาน
2. เพื่อค้นหาวิธีการดูแลที่ได้ผลเป็นพิเศษเฉพาะกับผู้ป่วยมะเร็งขั้นสูงในกลุ่มย่อย โดยมีการกำหนดอายุ เพศ การวินิจฉัย และ WHO performance score
3. เพื่อสำรวจว่าผู้ป่วยมะเร็งขั้นสูงได้รับประโยชน์จากการให้การบำบัดรักษาและรูปแบบกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงในทั้ง2กลุ่ม
4. เพื่อค้นหาวิธีลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
คุณสมบัติผู้เข้าร่วม
อายุ18 ปีขึ้นไป,ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งโดยแพทย์,มีfunctional level ของWHO performance อยู่ที่ระดับ 1-2 , อาศัยอยู่บริเวณไม่เกินรัศมี60กิโลเมตรจากที่วิจัยและอาศัยอยู่ภายในบ้านส่วนตัว
ผู้ที่จะถูกคัดออกเนื่องจากมีคุณสมบัติดังนี้ มีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ,อาศัยอยู่ในสถานพยาบาล
วิธีการศึกษา
แบ่งผู้เข้าร่วมเป็น2กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะบำบัดรักษาตามปกติและอีกกลุ่มหนึ่งคือจะมีนักกิจกรรมบำบัดร่วมด้วยในการบำบัดรักษา โดยวิธีทางกิจกรรมบำบัดจะประกอบไปด้วย
-การจัดลำดับความสำคัญของงานหรือกิจกรรมให้สอดคล้องกับพลังงาน
-การปรับกิจกรรม
-การปรับท่าทางและตำแหน่งการนั่ง
-พิจารณาให้อุปกรณ์ช่วย
-ปรับสิ่งแวดล้อม

การวัดผลลัพธ์มีการเก็บข้อมูลทั้งหมด3ครั้ง ก่อนเริ่มทำการทดลอง,หลังจากนั้น 12สัปดาห์และหลังจากนั้น 24สัปดาห์
Outcome
Primary outcome วัดโดยใช้Quality of ADL performance is measured by The Assessment of Motor and Process Skills (AMPS)
Secondary outcome มี3ด้าน
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้ดีมากขึ้น วัดจากthe Individually Prioritised Problems Assessment (IPPA)
ความเป็นตัวตนและมีส่วนร่วมในการอยู่อาศัย วัดจากthe Impact on Participation and Autonomy Questionnaire (IPAQ)
ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกับคุณภาพชีวิต วัดจากThe European Organization for Research Treatment of Cancer Quality of Life Questionnaire Core 30 (EORTC QLQ C-30)
นอกจากการวัดผลที่ได้จากแบบประเมินแล้วยังมีการรวบรวมข้อมูลด้วยการบรรยายในหัวข้อ รูปแบบการใช้ชีวิตทั่วไป,กิจกรรมที่ทำให้มีชีวิตชีวา,การได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมครั้งนี้
การศึกษาชิ้นนี้เป็นเพียงรูปแบบที่วางไว้เพื่อการศึกษาต่อไปในอนาคต ยังไม่มีผลสรุปที่แน่นอนและชัดเจน
ที่มา : http://bmcpalliatcare.biomedcentral.com/articles/1...

หมายเลขบันทึก: 602442เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท