จากหนังสือสู่ประสบการณ์ วิเคราะห์ผ่าน SMART TREES (ดูงานโรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลมนารมย์


โรงพยาบาลกรุงเทพ

เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้วตอนที่ฉันยังเป็นนักเรียนมัธยมปลาย แม่ได้แนะนำหนังสือเล่มหนึ่งให้ฉันอ่าน หนังสือเล่มนั้นชื่อว่า “เรื่องเล่าจากหมอ เบิร์ท” เป็นหนังสือที่ถ่ายทอดเรื่องเล่าจากเหตุการร์ต่าง ๆ และประสบการณ์ของคุณหมอขณะที่คุณหมอทำงานแผนกผู้ป่วยจิตเวทที่โรงพญาบาลศรีธัญญา ในตอนนั้นฉันเองรู้สึกเข้าใจผู้ป่วยฝ่ายจิตมากขึ้นเข้าใจว่าพวกเขาไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และอยากจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ไม่มากก็น้อย

จนวันนี้(23 มีนาคม 59) เมื่อเวลาและโอกาสมาประจวบเหมาะกันทำให้ฉันมีโอกาสมาเยี่ยมชมศูนย์จิตรักษ์ (แผนกจิตเวท) ของโรงพยาบาลกรุงเทพในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ศูนย์นี้ถูกก่อตั้งขึ้นจากความตั้งใจของคุณหมอเบิร์ท (พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์) ที่ได้แรงบัลดาลใจจากการไปศึกษาต่อที่ประเทศแคนาดา รวมทั้งได้ทำงานร่วมกับนักกิจกรรมบำบัดของที่นั้น จึงกลับมาเปิดศูนย์จิตรักษ์ที่ประเทศไทยและพัฒนาเทคนิกต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับคนไทยมากขึ้น โดยมีรุ่นพี่จากวิชาชีพของฉันร่วมเป็นหนึ่งในทีมผู้ก่อตั้ง

โดยที่ศูนย์นี้เองประกอบไปด้วยหลากหลายวิชาชีพ มุ่งเน้นการบำบัดฟื้นฟูตามหลัก Recovery Oriented Services (ROS) เน้นให้ผู้ที่มาเข้ารับการบำบัดทุกคนรู้ถึงคุณค่า ความสามารถในตนเอง มีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดและที่สำคัญที่สุด ให้เขารู้สึกสบาย ผ่อนคลายคล้ายกับว่าที่นี่คือบ้านของเขาเอง ใส่ใจตั้งแต่การเลือกใช้โทนสีที่ดูสบายตา การตกแต่งที่ผ่อนคลายอบอุ่น การอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น สามารรับยายและชำระค่าบริการได้ภายในศูนย์เลยไม่จำเป็นตอนไปที่ส่วนกลาง หรือแม้กระทั้งที่จอดรถก็ใกล้สะดวกไม่จำเป็นต้องเดินผ่านแผนกอื่น ๆ ให้รู้สึกวุ่นวายใจ

การบำบัดฟื้นฟูประกอบไปด้วยหลากหลายกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นการใช้ ดนตรีบำบัด กิจกรรมบำบัด การออกกำลังกาย กิจกรรมmind fullness กิจกรรมกลุ่มบำบัดและสันทนาการ โดยแต่ละการบำบัดนั้นก็จะมีผู้เชี่ยวชาญของแต่ละด้านเป็นผู้ออกแบบกิจกรรมและดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ นักบำบัดแต่ละคนก็จะมีความเข้าอกเข้าใจผู้รับบริการ มีความสามารถเฉพาะตัวของพวกเขาที่จะพาผู้รับบริการไปให้ถึงศักยภาพสูงสุด ในบางครั้งการบำบัดรักษาไม่ได้เพียงแค่ที่ตัวผู้รับบริการเพียงคนเดียว แต่ยังช่วยแนะนำญาติ หรือผู้ดูแลให้ร่วมกันแก้ปัญหาอีกด้วย

เมื่อฉันและเพื่อน ๆ ได้เยี่ยมชมสถานที่และฟังบรรยายจากนักกิจกรรมบำบัดที่เป็นรุ่นพี่ของฉัน ก็ทำให้ฉันได้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น ว่าสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวทได้อย่างไรและต้องมีทักษะอะไรบ้างที่สำคัญ(ได้แก่Therapeutic Medias) ฉันได้ลองสำรวจทักษะของตนเองก็พบว่ายังขาดอีกมาก แต่อย่างน้อยการมาครั้งนี้ก็ทำให้ฉันได้เรียนรู้ เปิดโลกทัศน์ในวิชาชีพของตนเองมากขึ้น

ก่อนกลับพี่นักกิจกรรมบำบัดได้กล่าวกับพวกเราว่า “การสมัครงานที่นี่ คุณหมอเบิร์ทเป็นคนสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง คุณหมอกล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องเกรดดี แต่ของให้มีจิตใจและทัศนคติที่ดี มุ่งช่วยเหลือคนอื่น ก็เพียงพอแล้ว เพราะความสามารถเราฝึกกันได้” ทำให้ฉันตระหนักคิดกับตนเองได้ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำทุก ๆ อย่างคือ ความตั้งใจดีนั้นเอง

วิเคราะห์โรงพยาบาลแบบ SMART TREE (เนื้อหาข้างล่างนี้มีสอดแทรกอยู่ด้านบนแล้ว)

- S = Self ศูนย์จิตรักษ์ ของโรงพยาบาลกรุงเทพ

- M = Motivation แรงจูงใจของคุณหมอเบิร์ทหลังจากกลับจากการศึกษาต่อจากประเทศแคนนาดา ที่จะมุ่งเน้นรักษาผู้ป่วยจิตเวทให้ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นให้มีโปรแกรมการรักษาต่าง ๆ ตราฐานสากล

- A = Ability ความสามารถของแต่ละสาขาวิชาชีพที่เขามาเป็นส่วนร่วมในศูนย์จิตรักษ์

- RT = Role Transformation รูปแบบการรักษาของแต่ละผู้รับบริการที่แตกต่างกัน เพื่อให้ทุนคนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามบทบาทในแต่ละวันที่จะได้รับและเปลี่ยนแปลงไป, รวมถึงการเปลี่ยนบทบาทของพี่โบว์ (รุ่นที่โอที) จากนักศึกษามาเป็นหนึ่งในทีมการรักษาของศูนย์จิตรักษ์

- TR = Therapeutic Relation การตกแต่งสถานที่ของโรงพยาบาลที่ทำให้ผู้มารับบริการรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย คล้ายกับว่าได้อยู่ที่บ้าน มีการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบริการ ครอบครัวและบุลคลากร

- TE = Therapeutic Environment การปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย สะดวก ง่ายต่อการเข้าถึง

- TE = Therapeutic Empathy การมีความเข้าอกเข้าใจผู้มารับบริการ,ทำให้รู้สึกสบายใจเมื่อมา,รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ, การไม่โกรธหรือแสดงท่าทีที่ไม่เหมาะสมถึงแม้ว่าเขาจะทำผิด รวมไปถึงการเข้าใจครอบครัวของผู้รับบริการด้วย

- TS = Therapeutic Skill การแสดงทักษะความสามารถของบุลคลากรทุกคนให้สุดความสามารถตามหน้าที่ของตนเองเพื่อมุ่งหวังประโยชน์สูงสุดให้กับผู้รับบริการและครอบครัว



โรงพยาบาลมนารมย์

ในบ่ายวันเดียวกันฉันก็ได้ไปเยี่ยมชมที่โรงพยาบาลมนารมย์ โรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนพื้นที่จำนวน 7 ไร่ย่านบางนา เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางฝ่ายจิตที่แรก ๆ ของประเทศ ที่นี่ก็มีรุ่นพี่ของฉันทำงานอยู่เช่นกัน

โรงพยาบาลนี้ถูกก่อตั้งขึ้นมืประมาณ10 ปีที่แล้ว เนื่องจากแพทย์หลาย ๆ ท่านได้เล็งเห็นถึงปัญหาของผู้ป่วยฝ่ายจิตที่มีมากขึ้น แต่จำนวนโรงพยาบาลที่สามารถบำบัดรักษาได้กลับส่วนทางกัน จึงรวมตัวกันก่อตั้งโรงพยาบาลแห่งนี้ขึ้น เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยทางจิต ฟื้นฟูสมรรถภาพจิตสังคม เพราะโรงพยาบาลเชื่อว่า สังคมจะดีได้นั้น มีรากฐานมากจากสุขภาวะจิตของคนในสังคมนั้นเอง

ภายในโรงพยาบาลประกอบไปหลากหลายสหวิชาชีพที่ทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก นักกิจกรรมบำบัด นักศิลปะบำบัด นักละครบำบัด นักพูดบำบัด เป็นตน ทุกคนต่างมีความถนัดทักษะที่แตกต่างกัน แต่มีจุดหมายเดียวกันคือช่วยให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติตามเดิม

โปรแกรมการรักษาของโรงพยาบาลก็มีมากมายหลากหลาย ผู้รับบริการสามารถมาเข้าร่วมบำบัดแบบรายวัน (Day program) หรือพำนักอยู่ที่โรงพยาบาลก็ได้ โดยกิจกรรมแต่ละวันก็จะแตกต่างกันไป ในช่วงเช้าก็จะเน้นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่มีการเคลื่อนไหวมาก ส่วนในช่วงบ่ายจะเน้นกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวพอกระตุ้นระดับการตื่นตัว โดยกิจกรรมในช่วงบ่ายนั้นเองก็จะเป็นหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัด เช่นการทำอาหาร การทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น

นักกิจกรรมบำบัดของที่นี่ไม่ได้เพียงแค่บำบัดรักษาผู้รับบริการฝ่ายจิตอย่างเดียว ยังบำบัดรักษาผู้รับบริการฝ่ายเด็กอีกด้วย ทำให้ฉันเกิดความเข้าใจมากขึ้นที่ว่า การทำงานบางครั้งมันไม่ได้แยกส่วนชัดเจน ในส่วนของการทำกิจกรรมบำบัดฝ่ายเด็กเองก็ต้องมีการแก้ปัญหาจิตของเด็กด้วย หลาย ๆ อย่างในธรรมชาติถูกร้อยเรียงกันอย่างลงตัว

หลังจากการเดินเยี่ยมชมโรงพยาบาลและฟังบรรยาเราก็ได้มีโอกาสถามแลกเปลี่ยนความรู้กันเล็กน้อย และก็ถึงเวลาเดินทางกลับ การมาเรียนรู้ครั้งนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่ครั้งที่ฉันและเพื่อน ๆ ได้ออกมาเรียนรู้จากสถานทีจริง ผู้ที่ทำงานจริง ทำให้ฉันได้เห็น ได้มุมมองอะไรใหม่ ๆ กลับมามากและหวังว่าจะนำมาใช้ เพื่อพัฒนาต่อยอดทักษะความสามารถของตนเองให้มีการพัฒนาอยู่เนื่อง ๆ

วิเคราะห์โรงพยาบาลแบบ SMART TREE (เนื้อหาข้างล่างนี้มีสอดแทรกอยู่ด้านบนแล้ว)

- S = Self โรงพยาบาลมนารมณ์ โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางขนาดเล็ก

- M = Motivation แรงจูงใจของจิตแพทย์กลุ่มหนึ่งที่เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยจิตเวท และการสวนทางการของโรงพยาบาลเฉพาะทางฝ่ายจิต จึงทำให้เกิดการรวมตัวและก่อตั้งขั้น

- A = Ability ความสามารถของแต่ละสาขาวิชาชีพที่เข้ามาเป็นส่วนร่วมในโรงพยาบาล

- RT = Role Transformation รูปแบบการรักษาของแต่ละผู้รับบริการที่แตกต่างกัน เพื่อให้ทุนคนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามบทบาทในแต่ละวันที่จะได้รับและเปลี่ยนแปลงไป

- TR = Therapeutic Relation มีการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบริการ ครอบครัวและบุลคลากร

- TE = Therapeutic Environment การปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย สะดวก ง่ายต่อการเข้าถึงมีสนามหญ่าเพื่อความผ่อนคลาย และเด็ก ๆ สามารถวิ่งเล่นได้

- TE = Therapeutic Empathy การมีความเข้าอกเข้าใจผู้มารับบริการ, ทำให้รู้สึกสบายใจเมื่อมา,รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ, การไม่โกรธหรือแสดงท่าทีที่ไม่เหมาะสมถึงแม้ว่าเขาจะทำผิด รวมไปถึงการเข้าใจครอบครัวของผู้รับบริการด้วย

- TS = Therapeutic Skill การแสดงทักษะความสามารถของบุลคลากรทุกคนให้สุดความสามารถตามหน้าที่ของตนเองเพื่อมุ่งหวังประโยชน์สูงสุดให้กับผู้รับบริการและครอบครัว

ขอขอบคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้

โรงพยาบาลกรุงเทพ http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/center...

โรงพยาบาลมนารมย์ http://www.manarom.com/

หมายเลขบันทึก: 602441เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท