การฟื้นฟูผ่านวิถีการดำเนินชีวิตกับการเคลื่อนไหวออกแรง


จากคำถามชวนคิดที่ทิ้งท้ายไว้ในบันทึก"การฟื้นฟูผู้สูงอายุโดยใช้วิถีการดำเนินชีวิต" อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/602425 ที่ว่า

คำถาม: ถ้าเราใช้เป็นแค่กิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงเช่น การทำงานบ้าน การเดินทาง การทำงานอดิเรก แทนการฝึกกกิจกรรมบำบัดโดยผ่านวิถีการดำเนินชีวิตจะให้การเปลี่ยนแปลงที่ดีเช่นนี้หรือไม่ ?

งานวิจัยชิ้นนี้สามารถไขข้อข้องใจได้

2.A lifestyle intervention as supplement to a physical activity programme in rehabilitation after stroke : a randomized controlled trial

โดยงานวิจัยนี้ได้กำหนดผู้เข้าร่วมเป็นผู้ป่วยทางหลอดเลือดสมอง(stoke)ที่อาการเริ่มคงที่แล้ว จำนวน 204 คน อายุเฉลี่ย 77 ปี เข้าร่วมได้จริง 99 คนและได้รับการประเมินฟื้นฟูครบในกลุ่มที่ได้รับการฟื้นฟู(intervention group)โดยใช้การฟื้นฟูผ่านวิถีการดำเนินชีวิต(lifestyle course)ร่วมกับการเคลื่อนไหวออกแรง(physical activity ) 39 คน และในกลุ่มควบคุม(control group)โดยใช้แค่การเคลื่อนไหวออกแรง(physical activity )เพียงอย่างเดียว 47 คนเมื่อติดตามผล 9 เดือน

การฟื้นฟูผ่านวิถีการดำเนินชีวิต(lifestyle course) คือ การช่วยระบุกิจกรรมที่ทำเป็นประจำที่เป็นปัญหาและช่วยออกแบบวิถีการดำเนินชีวิตใหม่และมีการทำกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน

การเคลื่อนไหวออกแรง(physical activity ) คือ การทำงานบ้าน งานอดิเรก การเคลื่อนย้ายตัว การนั่ง ยืน เดิน

การประเมิน ใช้ short form questionnaire (SF-36) เพื่อวัดผลในด้าน สุขภาวะ และการมีส่วนร่วมในสังคม

ผลจากงานวิจัยนี้แสดงออกมาว่าทั้งสองกลุ่มมีการพัฒนาขึ้นและให้ผลที่ใกล้เคียงกันมากอาจเนื่องจากว่ากลุ่มที่ได้รับการฟื้นฟูผ่านวิถีการดำเนินชีวิตไม่ได้ทำการฟื้นฟูแบบเดี่ยว(การตามไปที่บ้านที่ชุมชนด้วย)ตามโปรแกรมต้นแบบที่วางไว้ และสถานที่ที่ทำการทดสอบทั้งสองกลุ่มคือที่เดียวกันผู้สูงอายุทั้งสองกลุ่มจึงได้นั่งคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทำให้กลุ่มการเคลื่อนไหวออกแรงอย่างเดียวได้ทำกิจกรรมกลุ่มด้วยผลออกมาเลยใกล้เคียงกัน

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าถ้าทำการฟื้นฟูผ่านวิถีการดำเนินชีวิตครบตามโปรแกรมที่กำหนดอาจทำให้ได้ผลดีกว่าการทำกิจกรรมการออกแรงอย่างเดียว เนื่องจากการฟื้นฟูผ่านวิถีการดำเนินชีวิตนอกจากฝึกให้คงความสามารถหรือพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรมได้แล้ว ยังปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่เสี่ยงหรือกิจกรรมที่อาจทำให้ก่อโรคได้ เช่น การนอนดูโทรทัศน์ทั้งวัน เป็นต้น

คำตอบ:กิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงสามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้แต่อาจน้อยกว่าการฟื้นฟูผ่านวิถีการดำเนินชีวิต

reference

http://cre.sagepub.com/content/26/6/502.short

หมายเลขบันทึก: 602437เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท