ผลกระทบมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ


แนวคิดและหลักการของนโยบายการเงินแบบพิเศษ (unconventional monetary policy)

แนวคิดและหลักการของนโยบายการเงินแบบพิเศษ (unconventional monetary policy) เป็นวิธีที่มีเป้าหมายไม่ต่างกับนโยบายการเงินแบบปกติ คือ เพื่อรักษาเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ ทั้งในแง่ เสถียรภาพด้านการเงินและการกระตุ้นด้านอุปสงค์เพื่อ ให้เกิดการจ้างงานและให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้ การดำเนินนโยบายการเงินแบบพิเศษนี้ ไม่สามารถทำได้เป็นระยะเวลานาน เพราะมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะในด้านการสร้างความบิดเบือนในระบบ เศรษฐกิจและการเงินจนอาจกระทบต่อเสถียรภาพ โดยรวมของเศรษฐกิจได้อีกทั้งผลกระทบจากการดำเนินนโยบายเหล่านี้ไม่เพียงจำกัดในประเทศ ผู้ใช้เท่านั้น แต่ยังส่งผ่านไปยังประเทศอื่นๆด้วย

การดำเนินนโยบายการเงินแบบพิเศษมี ลักษณะสำคัญ คือ เป็นการใช้เครื่องมือด้านปริมาณ ที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมได้เพื่อปรับภาวะการเงินในประเทศ หรือเครื่องมือด้านจิตวิทยาซึ่งต้อง อาศัยความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางในการยึด เหนี่ยวการคาดการณ์ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1) การประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำในระยะยาว (forward guidance) ซึ่งอาจผูกโยงกับ เงื่อนไขด้านเวลาหรือสภาวะทางเศรษฐกิจบางประการ โดยมีเป้าหมาย คือ เพื่อยึดเหนี่ยวการคาดการณ์ อัตราดอกเบี้ยของตลาดให้เป็นไปตามที่ธนาคารกลาง ต้องการ หากนักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ย นโยบายจะอยู่ในระดับต่ำไปอีกนาน ก็จะส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยระยะยาวลดลงมาด้วย ทำให้ภาวะ การเงินโดยรวมผ่อนคลายมากขึ้น ต้นทุนทางการเงิน ที่ลดลงจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและใช้จ่ายมากขึ้น

2) การเพิ่มขนาดงบดุลของธนาคารกลาง (Quantitative Easing: QE)1 เป็นนโยบายการเงิน เชิงปริมาณผ่านการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์และหนี้สิน ในงบดุลของธนาคารกลางเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบหลัก คือ

(1) การซื้อ สินทรัพย์จากสถาบันการเงินและเปลี่ยนเป็นเงินสดที่ สถาบันการเงินฝากไว้กับธนาคารกลาง (bank reserve) เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดและผ่อนคลายภาวะการเงิน โดยรวม

2) การซื้อสินทรัพย์แบบเจาะจงในตลาดที่มีปัญหา ตัวอย่างเช่น หลักทรัพย์ประเภท mortgage-backed securities เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และลด risk premium ในตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น การ เข้าซื้อสินทรัพย์เหล่านี้โดยตรง ส่งผลให้ปริมาณและโครงสร้างสินทรัพย์ที่มีอยู่ในตลาด เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจึงส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ปรับสูงขึ้น และอัตราผลตอบแทนลดลง รวมทั้งอาจส่งผลให้ นักลงทุนปรับพอร์ตการลงทุนใหม่ โดยหันไปลงทุนใน สินทรัพย์อื่นทดแทน

3. การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนสินทรัพย์ในงบดุลของธนาคารกลาง โดยขนาดของงบดุลไม่มีการ เปลี่ยนแปลง ธนาคารกลางถือสินทรัพย์หลายประเภท ในจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือครอง สินทรัพย์ของธนาคารกลางโดยไม่มีการเพิ่มขนาดของ งบดุลสามารถส่งผลต่อโครงสร้างผลตอบแทนของ สินทรัพย์ในตลาด

แหล่งอ้างอิง https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleA...83.pdf

เเหล่งอ้างอิง http://daily.bangkokbiznews.com/home/20130618

หมายเลขบันทึก: 602446เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 00:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 00:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท