กิจกรรมบำบัดในการปรับพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ


สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ในวันนี้ผมจะขอกล่าวถึงวิธีการปรับพฤติกรรมเพื่อเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนเตียง หรือบนรถเข็นล้อ(wheel chair)

ก่อนอื่นผมขออธิบายถึงสาเหตุที่จะขอนำเสนอวิธีการปรับพฤติกรรมเพื่อเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุในวันนี้ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ มีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากที่ใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนเตียงโดยไม่เคลื่อนที่ออกจากเตียง โดยอาจมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ เช่น อาการบาดเจ็บบริเวณไขสั้นหลัง โรคเส้นเลือดในสมองแตก เป็นต้น หรืออาจมีสาเหตุจากภาวะทางด้านจิตใจที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดการกลัวที่จะล้ม รวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

ในวันนี้ผมจะขอกล่าวถึงการปรับพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ ซึ่งวิธีการที่ผมจะนำมาเสนอในวันนี้ มาจากงานวิจัยเรื่อง " A behavioural intervention increses physical activity in people with subacute spinal cord injury : a randomised trial "

ในงานวิจัยนี้ได้นำผู้สูงอายุที่มีอาการบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้การปรับพฤติกรรม(behavioural intervention) ร่วมกับการรักษาแบบปกติ จำนวน 23 คน และกลุ่มที่สองได้การรักษาแบบปกติเพียงอย่างเดียว จำนวน 22 คน โดยทั้ง2กลุ่มนั้นจะได้รับการฝึกสอนในการใช้มือ(hand cycle training) และได้รับความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหว

การรักษาทางด้านกิจกรรมบำบัด นั้นจะเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรม โดยเน้นการเพิ่มพฤติกรรมการเคลื่อนไหวในแต่ล่ะวัน และลดพฤติกรรมการนั่งๆนอนๆอยู่บนเตียงหรือบนรถเข็นล้อเพียงที่เดียว โดยก่อนการเริ่มการปรับพฤติกรรมนั้น นักกิจกรรมบำบัดจะมีบทบาทในการหาและสร้างแรงจูงใจ ที่ได้จากการทำแบบประเมินด้านแรงจูงใจ(motivation interviewer) ซึ่งจะนำข้อมูลที่ได้นั้นมาปรับพฤติกรรม ซึ่งผมจะขอกล่าวถึงวิธีการในการสร้างแรงจูงใจในผู้สูงอายุก่อนนะครับ

แรงจูงใจ(motivation) เกิดมาจากแรงขับดันภายในตนเอง(inner drive) ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกต้องการที่จะทำอะไรบางอย่าง อย่างมีจุดมุ่งหมาย และแรงขับภายในตนเองนี้นี้จะนำไปสู่การเกิดแรงจูงใจต่างๆตามมา ดังต่อไปนี้

  1. ความต้องการขั้นพื้นฐานตามทฤษฎีของมาสโลว์ เช่น ปัจจัยสี่ อันได้แก่ เงิน ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค เป็นต้น ซึ่งเราจะสามารถนำความต้องการนี้มาทำให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สูงอายุ
  2. การให้ความสำคัญกับเรื่องราวในอดีต เช่น การดึงเอานำความสามารถในอดีตที่เคยทำได้มาเป็นเป้าหมายในการปรับพฤติกรรม เป็นต้น
  3. สังคมนิยม ที่เป็นการเลียนแบบวิธีการของผู้ที่เคยประสบความสำเร็จ ในการที่สามารถผ่านช่วงเวลาหรือเหตุการณ์ต่างๆที่มีความคล้ายคลึงกันกับตัวของผู้สูงอายุเอง
  4. การให้ความชื่นชม อาจะเป็นคำพูดยกยอ หรือ สิ่งของตอบแทน

แรงจูงใจเหล่านี้เองจะนำมาซึ่งการปรับพฤติกรรม(behavioural modification) โดยวิธีการปรับพฤติกรรมนั้น จะใช้หลักการ " Trantheoretical model " หลักการนี้ จะเน้นถึงการคงอยู่ของพฤติกรรมที่เราต้องการให้เกิด และลดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการให้เกิด โดยจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ 4 อย่าง ได้แก่

  1. การให้คำติชม(feedback) หลังการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวในแต่ละวัน โดยคำนึงถึง ระยะเวลา ระยะทาง และความถี่ในการทำกิจกรรม แล้วนำมาตั้งเป้าหมายเพื่อใช้ในครั้งถัดไป
  2. การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และแก้ไขปัญหาล่วงหน้า (coping strategies)
  3. การลงสถานที่จริงของนักกิจกรรมบำบัด เพื่อสังเกตุสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์ถึงความเอื้ออำนวยถึงกิจกรรมการเคลื่อนไหว
  4. ความต้องการเพิ่มเติมจากผู้สูงอายุ ซึ่งได้มาจากการสอบถามเป็นระยะๆ


การวัดผล

  • กิจกรรมการเคลื่อนไหว วัดจาก Accelerometer-based activity monitor ภายในระยะเวลา 2 เดือน และ การบันทึกผลของกิจกรรมการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง

ผลลัพธ์

  • กลุ่มที่ได้รับการปรับพฤติกรรมมีอัตราการเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหว ในการดำเนินชีวิตมากกว่า กลุ่มที่ได้รักษเพียงการรักษาแบบปกติ ประมาณมากกว่า 20 นาทีต่อวัน

จากการวิจัยนี้จะเห็นได้นะครับว่า การปรับพฤติกรรมนั้น ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุที่ได้รับการบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง ซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ดังนั้นเราควรสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับพฤติกรรมในผู้สูงอายุที่ได้รับการบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง และสามารถส่งเสริมการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีการกิจกรรมการเคลื่อนไหวน้อย ให้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น

หากท่านผู้อ่านท่านใดต้องการที่จะรับข้อมูลว่ากิจกรรมการส่งเสริมการเคลื่อนไหวอย่างไร ที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

สุดท้ายนี้ผมมีความหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าข้อมูลนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน และบุคคลรอบข้าง ที่อาจจะประสบกับปัญหาด้านการเคลื่อนไหวที่น้อยกว่าปกติ ไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใดนั้น ผมขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

แหล่งอ้างอิง

http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S...

http://stmsc.org/programs/behavior-modification/

หมายเลขบันทึก: 602444เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 00:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมคิดว่า การสร้างแรงจูงใจเป็นสิ่งที่สำคัญกับคนเราเป็นอย่างมากเลยนะครับ ขอบคุณนะครับที่มีบทความดีแบบนี้ เผื่อวันหนึ่งญาติพี่น้องของเราเกิดไม่สบายอะไรขึ้นมา อาจจำต้องดึงวิธีการนี้มาใช้ก็เป็นได้นะครั

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท