กิจกรรมบำบัดกับภาวะสมองเสื่อม (Occupational therapy in dementia)


เนื่องจากปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2563 หรืออีก 15 ปีข้างหน้าจะมีประชากรสูงอายุที่พบเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมดการเพิ่มจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมทั้งนี้เป็นเพราะว่าเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นย่อมมีการถดถอยของสมรรถภาพทางร่างกายมีความเสื่อมของร่างกายมากขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อีกเรื่องหนึ่งที่ถดถ่อยและพบเป็นปัญหามากในปัจจุบันคือ ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)


โรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญของประชากรผู้สูงอายุและมีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัวจากการศึกษาในประชากรสูงอายุไทยพบความชุกของโรคสมองเสื่อมร้อยละ 3.4 แต่ความชุกตามกลุ่มอายุจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นโดยพบอัตราความชุกร้อยละ 1 ในกลุ่มอายุ 60-69 ปีร้อยละ 3 ในกลุ่มอายุ 70-79 ปีร้อยละ 10 ในกลุ่มอายุ80-89 ปีร้อยละ 30 ในกลุ่มอายุ 90 ปีขึ้นไป (สุทธิชัยจิตะพันธ์กุล, ชัยยศคุณานุสนธ์, วิพุธพูลเจริญและไพบูลย์สุริยะวงศ์ไพศาล, 2542)


วันนี้ฉันจึงอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ความรู้จากการอ่านวารสารวิชาการที่เกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้เป็นภาวะสมองเสื่อม รวมไปถึงเมื่อเป็นแล้วเราสามารถป้องกันและชะลอความเสื่อมได้อย่างไร

ในวารสารวิชาการอันแรกคือ ผลของการฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจต่อการเพิ่มศักยภาพความจขณะคิดในผู้สูงอายุ: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอโดยการวิจัยนี้มีพื้นฐานมากจากการศึกษาในสัตว์ทดลองชี้ให้เห็นว่าการฟังดนตรีทาให้มีการหลั่งสารสื่อประสาทและสารที่เกี่ยวข้องกับความจำเพิ่มขึ้นโดยให้หนูเพศผู้ฟังเพลงของโมซาร์ท (Mozart’s Sonata for Two Pianos in D Major: K 448) เป็นเวลา 8 ชั่วโมงต่อวันติดต่อกันเป็นเวลา 30 วันในวันที่ 31 ให้หนูกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 15 ตัวทำกิจกรรมหาแผ่นไม้ที่ถูกซ่อน (Hidden Platform Water Maze Task) ปรากฎว่าหนูที่ฟังเพลงของโมซาร์ทจะเรียนรู้ได้เร็วกว่าหนูในกลุ่มควบคุมและพบยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการทาหน้าที่ของสารสื่อประสาทต่าง ๆ เช่นโดปามีน(Dopamine)อะเซติลโคลีน (Acetylcholine) และกาบา (GABA) ที่มีบทบาทสาคัญต่อการเรียนรู้และความจ

การวิจัยนี้ได้ตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าหากให้ผู้สูงอายุฟังดนตรีไทยเดิมที่มีจังหวะ 2 ชั้นและเป็นเพลงที่ชอบจะมีผลต่อความจำขณะคิดมากน้อยเพียงไร ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีไทยสูงอายุจำนวน 15 คน โดยมีการวัดผลจากความแตกต่างของคะแนนความถูกต้องของการทำกิจกรรมขณะนับเลขระหว่างก่อนกับหลังการฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจด้วยสถิติทดสอบทีและเปรียบเทียบความแตกต่างของเปอร์เซ็นต์อีอาร์ดีของคลื่นอัลฟาระดับสูงและเปอร์เซ็นอีอาร์เอสของคลื่นเทต้าของการทากิจกรรมขณะนับตัวเลขด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบวัดซ้ำ

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความถูกต้องของการทำกิจกรรมขณะนับเลขและเปอร์เซ็นต์อีอาร์ดีของคลื่นอัลฟาระดับสูงบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้าเพิ่มขึ้นหลังจากฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจ และมีเปอร์เซ็นต์อีอาร์เอสของคลื่นเทต้าบริเวณร่างแหของวงจรเซลล์ประสาทบริเวณสมองด้านหน้ากับสมองด้านพาไรเอทัลลดลงหลังจากฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ชี้ให้เห็นว่า การฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจช่วยเพิ่มศักยภาพด้านความจำขณะคิดของผู้สูงอายุ

จากงานวิจัยนี้ใช้ให้เราเห็นว่า แค่เพียงการฟังดนตรีที่ชอบก็สามารถเพิ่งทักษะความจำได้ เราก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้กับผู้สูงอายุที่เริ่มมีภาวะสมองเสื่องหรือแม้กระทั้งตัวเอง เพื่อเพิ่มทักษะการจำ และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเด็กได้อีกด้วยเช่น ท่องคำศัพท์เป็นเพลง การใช้ดนตรีเพิ่มสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ การเตือนตัวเองเป็นขั้นตอนว่าต้องทำอะไรผ่านเสียงเพลงเป็นต้น


งานวิจัยชิ้นต่อมาที่ฉันเลือกมานำเสนอคือ The effect of physical activity on cognitive function in patients with dementiaเป็นงานวิจัยที่ตั้งสมมติฐานในเรื่องของการออกกำลังกายแบบต่าง ๆ ว่าจะส่งผลดีกับความจำหรือไม่และการออกกำลังกายแบบไหนส่งผลมากกว่ากันการวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจำนวน 802 คน โดยแยกออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน

- ออกกำลังกายแบบแอโรบิก(Aerobic Exercise)

- ออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิก (Anaerobic Exercise)

- ออกกำลังกายแบบผสมกับ

ผลปรากฎว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกมีผลดีกับระดับความจำของผู้ป่วยสมองเสื่อมเป็นลำดับที่1 รองมาคือออกกำลังกายแบบผสม ออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิก ตามลำดับ

ดังนั้นเราจึงสามารถนำผลงานวิจัยที่มีประโยชน์นี้มาประยุกต์ใช้กับตัวเราและคนในครอบครัวได้เช่น การชวนกันไปออกกำลังกายทุก ๆ เย็น หรือเสาร์อาทิตย์ ไม่ได้ช่วยเพียงแค่ป้องกันภาวะสมองเสื่อมแต่ยังสามารถเพิ่มความแน่นแฟ้นกันภายในครอบครัวอีกด้วย


งานวิจัยชิ้นสุดท้ายชื่อว่า “Community based occupational therapy for patients with dementia and their care givers งานวิจัยชิ้นนี้มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสมองเสื่อมในระดับแรกและปานกลาง (mind and moderate dementia) จำนวน 135 คนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มหนึ่งไม่ได้รับการบำบัดจากนักกิจกรรมบำบัด แต่อีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลจะได้รับการบำบัดจากนักกิจกรรมบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเป็นจำนวน 10 ครั้งและมีการติดตามผลทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในเวลา 12 สัปดาห์

โดยการบำบัดรักษาของนักกิจกรรมบำบัดคือ ในช่วง 4 สัปหาด์แรกนักกิจกรรมบำบัดจะมุ่งเน้นหากิจกรรมที่ผู้ดูแลและผู้ป่วยเล็งเห็นตรงกันว่าอยากจะพัฒนาให้มรความสามารถมากขึ้น แล้วต้องเป็นกิจกรรมที่มีความหมายสำหรับพวกเขาผ่านการใช้แบบประเมินมาตราฐานต่าง ๆ หลังจากนั้นก็มีการประเมินเพื่อหาความสามารถสูงสุดของผู้รับบริการและสภาพบ้านของเขา เมื่อได้ข้อมูลแล้วนักกิจกรรมบำบัดก็จะทำการประบสภาพบ้านให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละรายพร้อมกับสอนเทคนิกการชดเชย(compensatory technique) ให้กับผู้รับบริการและผู้ดูแล

สำหรับ 6 สัปดาห์ที่เหลือนักกิจกรรมบำบัดจะสอบวิธีปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้เทคนิกการชดเชย สอบวิธีการปรับปรุบสภาพบ้านเพื่อพัฒนาความสามารถในการประกอบกิจวัติประจำวัน ในส่วนของผู้ดูแลเองก็จะได้รับการฝึกฝนเพิ่มขึ้นในด้านของการใช้วิธีการแทรกแซงการคิดและพฤติกรรม การเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพการกำกับดูแลการแก้ปัญหาและการเผชิญหน้ากับปัญหา กลยุทธ์ในการรักษาตัวของผู้ป่วยความเป็นอิสระของตัวเองและการมีส่วนร่วมทางสังคม รวมเป็น 10 ครั้งของการรักษา

โดยผลของงานวิจัยชี้ให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้ทำการบำบัดรักษากับนักกิจกรรมบำบัดจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถเพิ่มความสามารถของผู้ป่วยให้ดูแลตัวเองในการใช้ชีวิตประจำวันได้ถึงแม้จะมีข้อจำกัดทางการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น ลดภาระของผู้ดูแลลง และที่มากกว่านั้นการบำบักรักษายังมีประสิทธิภาพกับผู้ป่วยสมองเสื่อมมากกว่าการรับประทานยาอีกด้วย เนื่องจากการบำบัดแบบนี้เป็นการดูแลและให้เทคนิกเฉพาะคนจึงมีความเหมาะสมและประสิทธิภาพที่มากกว่า

การผลการวิจัยเราก็สามารถนำมาปรับใช้ได้ ถ้าใครที่มีญาติที่เริ่มมีสภาวะสมองเสื่อมก็สามารถจัด ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เขาสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ลดขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำกิจกรรมเพื่อให้เขาสามารถประกอบกิจวัติประจำวันต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง


สามาศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

http://thaitgri.org/?p=36746

http://rmcs.buu.ac.th/jn/11-1/1.pdf

http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S...

หมายเลขบันทึก: 602447เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท