กิจกรรมบำบัดและการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ


การบาดเจ็บของผู้สูงอายุของผู้สูงอายุไทยมีสาเหตุอันดับหนึ่งมาจากการล้มคิดเป็นร้อยละ 40 และ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเกือบ1เท่า

ก่อนอื่นเรามาทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดการล้มได้ จากวิจัยเรื่องการกลัวการล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี สรุปได้ว่าปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการล้มแบ่งเป็น 2 ปัจจัยหลักๆคือ ปัจจัยภายใน(Intrinsic Factor) และ ปัจจัยภายนอก(Extrinsic Factor)

ปัจจัยภายใน(Intrinsic Factor)

1.การเปลี่ยนแปลงตามวัย ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแบบเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ โดยการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการล้ม ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในระบบประสาท ความเสื่อมของการมองเห็น การเปลี่ยนของกล้ามเนื้อ การเปลี่ยนแปลงในระบบปัสสาวะ

2.โรคประจำตัว ได้แก่ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหมุนเวียนเลือดเช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ เช่น ข้ออักเสบ กระดูกพรุน

3.สภาวะด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น ภาวะกลัวการล้ม วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือมีภาวะสมองเสื่อม จะทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการหกล้มมากขึ้น

ปัจจัยภายนอก(Extrinsic Factor)

หมายถึง ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวของผู้สูงอายุ เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ พื้นลื่น มีสิ่งกีดขวาง ทั้งนี้รวมไปถึงการใช้ยาที่มีอาการข้างเคียง เช่น ยานอนหลับ ยาต้านซึมเศร้า ยาคลายกังวล เป็นต้น

จากงานวิจัยเรื่อง Occupational therapy in fall prevention : Current Evidence and Future Directions ได้กล่าวถึงบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในการป้องกันการล้มที่เกิดจากปัจจัยดังกล่าวไว้ดังนี้

1.การปรับสิ่งแวดล้อม



นักกิจกรรมบำบัดจะทำการประเมินสิ่งแวดล้อมภายในบ้านที่เป็นอันตรายที่อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุล้มได้ รวมทั้งประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตภายในบ้านว่ามีสิ่งแวดล้อมใดบ้างที่สนับสนุนและขัดขวางการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เมื่อพบปัญหาแล้วจะมีการให้คำแนะนำในการปรับสิ่งแวดล้อม ซึ่งการให้คำแนะนำจะให้เฉพาะเจาะจงกับบุคคล จากนั้นจะมีการประเมินซ้ำอีกครั้งว่าสิ่งแวดล้อมที่แนะนำให้ปรับมีปัญหา หรือข้อบกพร่องใดๆเพิ่มเติม

ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย

พื้นมีลักษณะลื่น

มีสิ่งกีดขวางทางเดิน

2.การแนะนำเรื่องการออกกำลังกาย ซึ่งจะแบ่งการออกกำลังกายเป็น 2ประเภท คือ

1.Functional Exercise คือการออกกำลังกายที่ผสมผสานกับการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การยืนขาเดียวขณะทำครัว การเดินออกไปจ่ายตลาดแทนนั่งรถออกไป เป็นต้น

2.Complementary Exercise คือ การออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงและความคงทนของการทำกิจกรรมโดยตรง เช่นการเล่นโยคะ การวิ่ง เต้นแอโรบิค เป็นต้น ทั้งนี้นักกิจกรรมบำบัดจะมีการวิเคราะห์ถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้สูงอายุแต่ละคน

ตัวอย่างภาพการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

โยคะ


อ้างอิง

วิจัยเรื่องการกลัวการล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี (http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920230/chapter2.pdf)

Occupational therapy in fall prevention : Current Evidence and Future Directions

(http://ajot.aota.org/article.aspx?articleid=1851552)

หมายเลขบันทึก: 602445เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท