การรักษาศีล ๕ และพรหมวิหาร ๔


ศีล ๕ ข้อ คือ

ศีลข้อที่ ๑ : ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ) ซึ่งความหมายของศีลในข้อนี้ก็คือการละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทั้งด้วยตนเองและให้ผู้อื่นฆ่าแทน นอกเหนือจากไม่ฆ่าฟันชีวิตเขาแล้ว เราเองควรมีความเมตตากรุณาต่อชีวิตของสัตว์ต่างๆ (รวมถึงมนุษย์) ด้วย

ศีลข้อที่ ๒ : ไม่ลักทรัพย์ (อทินนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ) ซึ่งหมายความถึงการไม่ลักขโมยหรือถือเอาของซึ่งเจ้าของเขาไม่ (ยินดี) ให้ มาเป็นของของตัว รวมถึงไม่ฉ้อโกง รีดไถ ด้วยวิธีการต่างๆนานๆ

ศีลข้อที่ ๓ : ไม่ผิดลูกเขา เมียใคร (กาเมสุมิจฺฉานารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ) หมายถึงการไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสามีหรือภรรยาของผู้อื่น รวมถึงไม่กระทำสิ่งอันไม่สมควรกับหญิงหรือชายที่ไม่ใช่คู่ครองของตน

ศีลข้อที่ ๔ : ไม่พูดโกหก (มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ) หมายถึงไม่พูดเท็จหรือสิ่งที่ไม่เป็นความจริง รวมถึงไม่พูดเพ้อเจ้อหรือให้ร้ายผู้อื่นโดยไม่มีมูลความจริง

ศีลข้อที่ ๕ : ไม่ดื่มเครื่องดองของมึนเมา (สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ) หมายถึง ไม่ดื่มกินของมึนเมาทุกประเภท ซึ่งเป็นสิ่งบั่นทอนสติและความยับยั้งชั่งใจ อันเป็นเหตุให้ผู้ดื่มสามารถทำผิดศีลข้อที่ 1-4 ได้โดยง่าย


การรักษาศีล 5 จึงเป็นทานอันประเสริฐ ที่หล่อเลี้ยงโลกนี้ ให้ร่มเย็นเป็นสุขมาช้านาน ซึ่งทาน อันประเสริฐนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า มหาทาน พร้อมทั้งทรงกล่าวว่า ผู้บำเพ็ญมหาทาน ย่อมได้ รับผลบุญอันมหาศาลเช่นเดียวกัน

จะเห็นว่าการรักษาศีลนั้น เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ ด้วยน้ำใจที่กว้างขวาง เพราะเป็นน้ำใจที่มีต่อชีวิตทั้งหลายอันไม่มีประมาณ และไม่มีการเจาะจง

การรักษาศีล จึงเป็นบุญอันพิเศษอย่างยิ่ง เพราะได้ทั้งบุญจากการบำเพ็ญมหาทาน และบุญจาก การรักษาศีล และนี่เป็นเพียงศีล 5 อันเป็นเบื้องต้นเท่านั้น หากรักษาศีลในข้อที่สูงยิ่งขึ้นไป ย่อมเป็น มหาทานอันยิ่งใหญ่ เป็นบุญอันยิ่งใหญ่ ที่สามารถชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างสุดที่จะประมาณได้

_____________________________________________________________________________________________________

พรหมวิหาร มี ๔ ประการ คือ

1. เมตตา ความรัก เราต้องรักตัว รักครอบครัว รักญาติพี่น้องหมู่คณะ ตลอดจนถึงรักประเทศชาติ
2. กรุณา ความสงสาร ที่มีต่อบุคคลที่ตกทุกข์ได้ยาก อยากให้เขาพ้นจากความทุกข์ทรมานที่เขารับอยู่
3. มุทิตา ยินดีด้วยเมื่อบุคคลอื่นได้ดีมีความสุข ไม่ริษยาเขา เขาได้ดีก็ชื่นชมอนุโมทนาด้วย
4. อุเบกขา วางเฉย เช่น เมื่อลูกของเรา ญาติพี่น้อง หรือพรรคพวกของเราไม่ทำผิด เราต้องวางตัวเป็นกลาง เมื่อเขาจะได้รับโทษก็ถือเป็นกรรมของเขา ไม่ช่วยเหลือเขาในทางที่ผิด

คำสำคัญ (Tags): #ศีล 5#พรหมวิหาร 4
หมายเลขบันทึก: 602017เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 03:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 03:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท