๓๗๖. การศึกษา..ไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด..กัลยาณมิตรก็หายากจริงๆ


ในเมื่อ..พวกคุณ..มาจากเขต..รับนโยบายมาจาก ผอ.เขต ที่เน้นย้ำ..อนาคตเด็ก อนาคตชาติ..แล้วครูล่ะ นักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กล่ะ...คนเหล่านี้..เขาก็มีหัวใจเหมือนกัน...

ผมมีความคิดเช่นนี้มานานแล้ว..แต่มันอาจจะไม่เป็นอย่างที่ผมคิดก็ได้..ขึ้นอยู่กับ..มุมมองของแต่ละคน..ที่อาจมองนโยบายการศึกษา..สวยหรูเสียเหลือเกิน บางเรื่องราว..คิดมาจากข้างบน..ซึ่งเป็นจินตนาการล้วนๆ..ถ้าคนคิด..มาลงปฏิบัติ หรือ มาดูกันถึง..ห้องเรียน จะพบว่า..มันคนละเรื่อง.......

ในระดับรากหญ้า..ที่เรียกว่า..โรงเรียนและชุมชน มีแต่ปัญหาและการแก้ปัญหา กว่าจะได้เข้าถึงนโยบาย..ต้องฟันฝ่า..ความยากจนของผู้ปกครอง ปัญหายาเสพติด ครอบครัวแตกแยก และโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ..พร้อมๆกับสังคม..ทึ่ค่อยๆเสื่อมโทรม..

โรงเรียน..ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน..ยังถูกมองว่าเป็นหลักยึดเหนี่ยว..ที่ทำให้สังคม ชุมชน มีคุณภาพ ด้วยการพัฒนานักเรียน และเยาวชน..เข้าสู่ลู่วิ่งหรือกรอบของ..คุณธรรม จริยธรรม

ผมไม่ได้ต้องการอะไรจากต้นสังกัด..และไม่คาดหวังว่า..พวกเขาจะช่วยอะไรได้..ผมตอบคำถามคณะกรรมการที่มาประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน (ความดีความชอบ) ไปเช่นนั้น..เพราะยังมีความเชื่อว่า..คนที่อยู่ข้างบน..ก็มักจะปากปราศรัย..แต่น้ำใจ...ยังน้อยนิด

ผมบอกพวกเขาไปว่า..ผมอยู่ได้..ไม่ต้องเป็นห่วง ผมอยู่ได้โดยไม่ต้องเอาเปรียบใคร และจะทำคุณภาพให้เห็น..คุณภาพของการบริหารจัดการ..ที่จะนำไปสู่ เด็กอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้

แต่..ถ้าอยากจะช่วยจริงๆ ขอให้ไปช่วยโรงเรียนเล็กๆ ที่อยู่กลุ่มเดียวกันกับผม..ครูก็น้อย ผู้บริหารก็ไม่มี..นักเรียนมีอยู่ ๕๕ คน...

จากนั้น...คณะกรรมการฯก็เดินทางกลับออกไป..เพื่อไปประเมินฯ..โรงเรียนที่ผมกล่าวถึง..

วันนี้..ผมมีโอกาสพบครู..ที่รักษาการ..ในโรงเรียนหลังนั้น..บอกผมว่า มีครู ๔ คน รวมพนักงานราชการด้วย...แต่..พนักงานราชการ,...ลาออกไปบรรจุเป็นข้าราชการครู ตำแหน่งจึงว่าง และวันนี้หนึ่งในคณะกรรมการที่ไปประเมิน มีตำแหน่งเป็น ผอ.ฝ่ายบุคคลของเขตพื้นที่..บอกว่า..ได้ตัดตำแหน่งไปแล้ว ให้เหลือแค่ครู ๓ คน เพราะนักเรียนไม่ถึงเกณฑ์..

คำถามคิอ..คุณจะรีบทำไปไหน..ในเมื่อเรื่องแบบนี้ ต้องพิจารณาในรูปของกรรมการเขตพื้นที่ และถามว่า..คุณจะรีบบอกครู..ทำไม..ให้เขาเสียขวัญกำลังใจ...

ในเมื่อ..พวกคุณ..มาจากเขต..รับนโยบายมาจาก ผอ.เขต ที่เน้นย้ำ..อนาคตเด็ก อนาคตชาติ..แล้วครูล่ะ นักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กล่ะ...คนเหล่านี้..เขาก็มีหัวใจเหมือนกัน...

เจ็บปวดยิ่งกว่านั้น...ยังไปแนะนำให้โรงเรียน..ทอดผ้าป่าฯ เพื่อหาเงินมาจ้างครูปริญญาตรี ..ชุมชนเล็กๆ ที่ผู้ปกครองหาเช้ากินค่ำ..จึงฝากลูกให้อยู่กับโรงเรียน..ครูจะต้องรบกวนชาวบ้านกี่ครั้ง คงทอดผ้าป่าไม่จบสิ้น..เพื่อนำมาเป็นเงินเดือนของครู ๑ ปี..นี่คือเรื่องจริงของการศึกษาไทย ที่อย่าได้ตกต่ำเป็นอันขาด.. จะถูกบีบและกดดัน แทนที่จะคิดว่า...กฎเกณฎ์กติกา..สามารถบูรณาการและยืดหยุ่นกันได้..

ครับ..การศึกษา..ไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด..กัลยาณมิตร..ก็หายากจริงๆ..

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 600861เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2016 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2016 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Hang in there man! You are doing good things. We know that --even when'they' don't.

ชื่อโรงเรียนอะไรครับ

กดดันมากจากเจ้าหน้าที่เขต

จะบรรจุกรณีพิเศษ ที่ประกาศล่าสุด

แต่งง งงว่าทำไมรับเอกพละฯและเกษตรสอบ

ในเมื่อเกษตรฯยังมีในบัญชีตรึม

มีลอกสเป็กหรือเปล่าครับ

ตามมาเชียร์ ผอ สู้ๆครับ

ผมอ่านบทความของท่านผู้อำนวยการแล้วก็มีความคิดเห็นเช่นเดียวกับท่านผอ. ที่เป็นระดับปฎิบัติก็รู้ปัญหาของโรงเรียน มีความคิดเห็นว่าหน่วยเหนือควรจะทำอะไรในสายตาของท่านและไม่ควรทำอะไรในสายตาของท่าน ส่วนหน่วยนโยบายก็ให้ผู้แทนระดับผู้อำนวยการในสำนักงานและคนอื่นๆ มาพบบุคลากรของโรงเรียนแล้วก็มีความคิดเห็นว่าเมื่อมีปัญหาโรงเรียนควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไร. ต่างฝ่ายต่างมองว่าอีกฝ่ายควรทำอะไรเพื่อให้หน่วยปฎิบัติเดินทางไปได้ตามนโยบาย

ในสายตาของผม การทำงานระหว่างหน่วยนโยบายและหน่วยปฎิบัติควรมีดังนี้

1. หน่วยนโยบาย จำเป็นต้องมองว่า ตนเองควรสนับสนุนหน่วยปฎิบัติอย่างไรบ้างในทุกๆด้าน ทั้งระบบ คือ CIPPOO และ F เพื่อให้นโยบายบรรลุผล และมองว่าหน่วยปฎิบัติควรทำอะไรได้บ้างตามสภาพของแต่ละหน่วยนั้นๆ. (ไม่ใช่ตามสภาพของหน่วยปฎิบัติอื่น) เช่นอ้างว่าทำไมโรงเรียนอื่นๆเขาทำได้คำกล่าวเช่นนี้ คำแนะนำเช่นนี้. แสดงถึงภูมิปัญญาการพัฒนางานยังด้อยอยู่มาก เคยชินแต่งานประจำ เติบโตมาจากงานประจำ

2. หน่วยปฎิบัติ จำเป็นต้องมองว่าตนเองทำอะไรได้บ้างตามที่หน่วยนโยบายให้เครื่องมืออุปกรณ์สนับสนุนทั้งระบบดังกล่าวเพื่อให้นโยบายบรรลุผล. และมองว่าหน่วยนโยบายจำเป็นต้องสนับสนุนอะไรอีกบ้างสำหรับพัฒนางานตามความต้องการจำเป็นของแต่ละหน่วยปฎิบัติไม่ใช่ให้เหมือนกันหมดในวันหยุด

3. ข้อมูลการมองที่ไม่เหมือน ต้องมีการพูดจากันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา คือ ผอ.สพป. กับผอ.สถานศึกษา ไม่ใช่ตัวแทนของผอ.สพป. กับผอ.สถานศึกษา โดยมีหัวข้อกำหนดไว้ นอกเหนือไปจากการรับนโยบายรายวันจาก ผอ.สพป.จากผู้อำนวยการกลุ่มในสำนักงาน

4. ในสายตาของคนนอกวงการศึกษาที่เคยรู้จักวงการศึกษามองว่า ผอ.สพป.จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปสถานศึกษาเพื่อดูสภาพความต้องการจำเป็นของแต่ละแห่งเพื่อรับรู้ข้อมูลของแต่ละโรงเรียน แต่ในความเป็นจริง ผอ.บางคนก็ไปเฝ้าผู้บังคับบัญชาของตนเป็นประจำ

5. มองในอีกมุมหนึ่งอย่างที่ท่านผอ.ชยันต์มอง คือ สถานการณ์สร้างวีระบุรุษ โรงเรียนขนาดเล็กท่ีท่านกล่าวถึง ถ้ารักเขาจริงอย่างไปขอร้องให้ใครช่วยเขา แต่ควรขอร้องให้เขาใช้ปัญญาช่วยกันพัฒนาตามสภาพ โดยใช้หลักว่า "ช่วยเขาเพื่อให้เขาช่วยตัวเองได้". ยกเว้นท่าน ผอ.ชยันต์ จะคิดสนุ๊ก ก็ไม่ว่ากัน

6. ผมไม่แน่ใจว่ากัลณานิมิตร เขาควรพูดอย่างไรแต่ผมคิดของอย่างนี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท