ขับเคลื่อน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _๔๓ : ฝึกอบรมการประเมินออนไลน์


วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๙ CADL ไปร่วมกับ PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความเข้าใจระบบ "ประเมินออนไลน์" โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ซึ่งผู้ประสานงานส่วนกลางคือ บริษัทนามมีบุ๊ค กำหนดให้ทุกเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network: LN) ต้องดำเนินการประเมินออนไลน์ให้แล้วเสร็จภายใน ๒๘ กุมภาพันธุ์นี้

สถานที่ฝึกอบรมครั้งนี้อยู่ที่ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น ๓ อาคารใหม่ โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยา มีคอมพิวเตอร์ใหม่เพียงพอและจอภาพสไลด์ที่ทันสมัย และทีสำคัญที่สุด อินเตอร์เน็ตที่ "เร็วทันใจ" ทำให้การฝึกอบรมเป็นไปด้วยความราบรื่นเรียบร้อย ... ขอขอบคุณทางเทศบาลเมืองมหาสารคาม ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาขนาดนี้ครับ อาคารพร้อม ห้องเรียนกว้างขวาง ติดแอร์ ติดคอม ออนไลน์ สื่อโสตอุปกรณ์พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ จริง..

"เป้าหมายเชิงพฤติกรรม" ของการอบรมเชิงปฏบัติการในวันนี้ ได้แก่ ๑) สามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เกี่ยวกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ๒) สามารถสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกโรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อยเพื่อขอรับป้ายประจำปี ๒๕๕๙ ได้ ๓) สามารถกรอกแบบประเมินออนไลน์และส่งหลักฐานการทำโครงงานผ่านระบบได้ โดยเว็บไซต์ของโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ได้จัดเตรียมเอกสารคู่มือไว้แล้วอย่างดี ดาวน์โหลดได้ที่นี่ หรือดาวน์คู่มือโดยตรงได้เลยที่นี่... ใครที่ยังทำไม่เป็น เข้าไปศึกษาเองได้ไม่ยากนัก

ปีการศึกษา ๒๕๕๘ นี้เป็นครั้งแรกที่บริษัทนามมีบุ๊คซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนส่วนกลาง ได้นำเอาการประเมินออนไลน์มาใช้ โดยกำหนดเป็นสัดส่วน ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของคะแนนทั้งหมดจากเดิมที่ประเมินจากเอกสารหลักฐานทั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ผู้ประเมินก็ยังเป็นผู้ประสานงานเครือข่าย (Local Network; LN) เหมือนเดิม ประโยชน์ใหญ่ คือ ทำให้เกิดการแชร์ข้อมูลประสบการณ์ระหว่างครูและโรงเรียนนออนไลน์ไปทั่วประเทศ และใช้ช่องทางนี้ในการคัดเลือกผลงาน BP ของครูทั่วประเทศได้

การประเมินออลไนล์เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เด็กๆ ได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล ที่ทางโครงการกำหนดขึ้น คือ "วัฏจักรนักวิทย์น้อย" ๖ ขั้นตอน (ที่เราย่อเป็นภาษากลอนว่า ชี้ให้สงสัย ชวนให้คาดเดาคำตอบ พาให้ตรวจสอบคำตอบนั้น สังเกตแบ่งปันอธิบาย ให้ระบายบันทึก และให้ฝึกอภิปรายนำเสนอ) ดังนั้น เกณฑ์การประเมินจึงมุ่งส่งเสริมให้ครูพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน ดังแสดงไว้ใน สไลด์ที่ผู้ขับเคลื่อนโครงการกำหนดไว้ ต่อไปนี้






















สิ่งสำคัญกว่า "จุดหมาย" และ "เกณฑ์" ของการประเมินคือ ความเข้าใจและการเปิดใจยอมรับของทั้ง "ผู้ประเมิน" และ "ผู้รับการประเมิน" ดังนั้น ในฐานะที่ผมเป็นผู้ประเมิน (LN) จึงขอสรุปความเข้าใจเป็นหลักการสั้นๆ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ดังนี้ครับ

๑) ดูก่อนว่า "เป็นโครงงานหรือไม่?" โดยดูว่า ครบกระบวนการ "วัฏจักรนักวิทย์น้อย" หรือไม่ ถ้าใช่!! ๒) ในแต่ละขั้นตอนของ "วัฏจักรนักวิทย์น้อย" เด็กๆ ได้คิดออกแบบเองให้คะแนนเต็ม ๓ ครูเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการออกแบบได้ ๒ คะแนน แต่ถ้าเป็นความคิดครู จะได้คะแนนเพียง ๑ คะแนน

๓) นักเรียนเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์อะไรบ้างหรือไม่ หากใช่ กี่ทักษะที่เห็นชัดๆ ว่าเด็กมี ถ้าครบ ๔ ด้าน ก็ให้เต็ม ๓ คะแนน

๔) พิจารณาว่าบูรณาการกับด้านอื่นๆ หรือไม่ โดยเฉพาะด้าน ทักษะชีวิตและการปลูกฝังพัฒนาจิตใจให้เป็นดีมีคุณธรรม เป็นเด็กดี

๕) ริเริ่มสร้างสรรค์หรือไม่ ยิ่งถ้าเด็กได้เป็นผู้คิดริเริ่มเองแล้ว ก็ต้องให้ไปเลย ๓ คะแนน

ทำได้ ๕ ข้อนี้ ก็ไม่มีปัญหาครับ

หากครูที่สงสัย สามารถติดต่อมาได้ทางอีเมล์ครับ







หมายเลขบันทึก: 600583เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท