มหาวิทยาลัยถูกท้าทาย ให้แก้ปัญหาของโลก


บทความจาก Challenge-driven universities to solve global problems

In 2016, new kinds of university will emerge, mobilising some of the world’s 150 million students to work on our most pressing problems, says Geoff Mulgan

www.nesta.org.uk/2016-predictions/challenge-driven-universities


จำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั่วโลกขณะนี้ประมาณ 150 ล้านคน คาดว่าจะสูงถึง 260ล้านคน ในปี 2025

มหาวิทยาลัยมีความมั่งคั่ง อาคารก่อสร้างขึ้นใหม่ เงินเดือนค่าตอบแทนกลุ่มชั้นนำในมหาวิทยาลัยสูงขึ้นตามกันไป


มีเสียงวิจารณ์ว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้ใช้ความเข้มแข็ง ตอบแทนคืนให้กับสังคมอันเป็นฐานที่ตั้ง

สิ่งที่ใช้วัดกันในมหาวิทยาลัย คือคุณภาพการสอน คุณภาพงานวิจัย เป็นเรื่องสำคัญ แต่ไม่น่าจะใช่เพียงแค่นั้น

มหาวิทยาลัยมีศักยภาพ และมีพลังสมองที่จะแก้ไขปัญหาสังคมที่อยู่รอบด้าน แต่กลับใช้ไปในการดึงดูดนักเรียนจากต่างประเทศ สร้างงานวิจัยให้ได้ตีพิมพ์ มัวแต่ขลุกอยู่กับงานสอน บรรยาย ทำให้นักศึกษาห่างไกลออกจากสังคม


ปี 2016 คาดหมายว่ามหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนไป เชื่อมต่อกับสังคมให้มากขึ้น มุ่งเตรียมนักศึกษาเพื่อออกไปใช้ชีวิตจริง สามารถเผชิญปัญหาและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

หลายมหาวิทยาลัยได้เริ่มแล้ว หันมาปรับปรุงหลักสูตรเดิม ให้สอดคล้องไปกับโครงการ ซึ่งให้นักศึกษา อาจารย์ หลากหลายวิชา ร่วมงานกับผู้คนในชุมชนเพื่อแก้ปัญหาของชุมชน

มหาวิทยาลัยแม็คมาสเตอร์ ที่แคนาดา วิทยาลัยวิศวกรรมโอลิน ที่รัฐแมสซาชูเซ็ตต์ บางภาควิชาของสแตนฟอร์ด และฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยอาลโตในฟินแลนด์ มหาวิทยาลัยมอนเตอร์เรย์ที่เม็กซิโก มหาวิทยาลัยซิงหัวประเทศจีน และศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยซอร์บอน ในปารีส ต่างสร้างหลักสูตรให้มีการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ และ นวัตกรรมทางสังคม เพื่อลงไปแก้ปัญหาในชุมชน มากกว่าที่จะแค่เรียนความรู้ที่มีอยู่ในตำรา

ตัวอย่างที่กล่าวถึง นับว่ายังน้อยมาก แต่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ จะเริ่มเป็นกระแสนิยม ด้วยปัจจัย 4 ประการ

1) แรงผลักดันจากนักศึกษาซึ่งต้องการเป็นประโยชน์ต่อสังคม นอกเหนือจากใบปริญญา หรือเกียรตินิยมเท่านั้น

2) นักศึกษายุคใหม่รับรู้จากโซเชียลมีเดียว่า การมุ่งเรียนคนเดียว เพื่อดูดซับความรู้จากมหาวิทยาลัย ไม่ได้ช่วยมากนัก เมื่ออกไปทำงานในชีวิตจริง โลกแห่งความเป็นจริง ต้องร่วมกันแก้ปัญหาเป็นทีม

3) เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลที่เปิดกว้าง ทำให้มีเวลาเป็นอิสระ และฝึกร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเพื่อนได้

4) แรงปลุกเร้าจากสังคม ชุมชนที่สะท้อนปัญหา ต้องการพลังสมอง คนชั้นหัวกะทิจากมหาวิทยาลัย ที่มีพร้อมทั้งตำรา ความรู้ วิธีการเก็บข้อมูล ระเบียบวิธีวิจัย มาช่วยกันแก้ปัญหาร่วมกับชุมชน


โลกดิจิตัล จะช่วยให้การส่งความช่วยเหลือ ทีมงาน ความคิดดีๆ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ลงไปได้ทันการ แทนที่โครงการที่แก้ปัญหาได้อย่างผิวเผิน ถูกส่งไปช่วยเหลือ ค่อนข้างล่าช้า อย่างที่เคยเป็นมา



Geoff Mulgan ผู้เขียน เกิด 1961 จบปริญญาตรีจากออกซ์ฟอร์ด จบปริญญาเอกด้านโทรคมนาคม จากมหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ อังกฤษ เป็นเฟลโลว์ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ตต์ เคยบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา

ได้รับเชิญให้สอนที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยเมลเบอร์น

เคยเป็นที่ปรึกษา และ ดูแลด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ หลายสมัย

https://en.wikipedia.org/wiki/Geoff_Mulgan

www.nesta.org.uk/users/geoff-mulgan

หมายเลขบันทึก: 600186เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2016 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2016 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท