​ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุก


การปฏิบัติงานคุกขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญกับทฤษฎีการลงโทษ (Theories of punishment) และ นโยบายคุก (Prison policy) การใช้ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุก ( Reduction in immediate costs Theory) จึงขึ้นอยู่กับนโยบายคุกของแต่ละประเทศว่ามีนโยบายเน้นหนักในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายคุกโดยการใช้แรงงานนักโทษให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือไม่ ................................

ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุก


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุก ( Reduction in immediate costs Theory) เป็นทฤษฎีที่มีการนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานคุกในประเทศทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา เยอรมัน จีน และ รัสเซีย ฯลฯ เป็นหนึ่งในทฤษฎีการลงโทษ (Theories of punishment) จากหกทฤษฎีคุก (ทฤษฎีคุก อาจแบ่งออกได้ เป็นสอง สาม สี่ ห้า หรือ หก ทฤษฎี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการแบ่งโดยอาศัยหลักอะไร เช่น ถ้าแบ่งโดยอาศัยหลักปรัชญาทั่วไปอาจแบ่งได้เป็นสองทฤษฎี คือ แก้แค้น และ ยับยั้ง หรือถ้าแบ่งโดยอาศัยหลักนโยบายเน้นหนักด้านการลดค่าใช้จ่ายคุก หรือ การชดเชยเหยื่อก็อาจแบ่งเป็นหกทฤษฎี เป็นต้น) ได้แก่ ทฤษฎีแก้แค้นทดแทน (Retributive Theory) ทฤษฎีข่มขู่ยับยั้ง (Deterrence Theory) ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitative Theory) ทฤษฎีปกป้องคุ้มครองสังคม (Social Protection Theory) ทฤษฎีซ่อมแซมชดใช้หนี้ (Restitutive Theory) และ ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุก (Reduction in immediate costs Theory) ซึ่งประเทศต่างๆ ดังกล่าว ได้มีการนำไปใช้ในรูปแบบผสมผสาน เรียกว่า ทฤษฎีการลงโทษแบบผสม (Mixed Theories of Punishment)



สำหรับแนวทางการดำเนินงานตามทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุก (Reduction in immediate costs Theory) เป็นการดำเนินงานผ่านการใช้แรงงานนักโทษ (Penal labour) เช่น การทำงานผลิตสินค้าใน เรือนจำแรงงาน (Prison labour) เรือนจำอุตสาหกรรม (Prison Industry) เรือนจำฟาร์ม (Prison farm) เรือนจำอาณานิคม (Penal colony) อาณานิคมแรงงาน (Labour colony) และ เรือนจำค่าย (Prison camp) รวมตลอดถึง การให้เช่านักโทษ (Convict lease) เป็นต้น เพื่อนำรายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายคุก หรือ เพื่อช่วยประหยัดงบประมาณคุกซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชน เช่น ใน สหรัฐอเมริกา ได้มีการทำ สัญญาเช่านักโทษออกไปทำงานในไร่ฝ้าย ไร่ปศุสัตว์ โรงงานทำเมืองแร่ การก่อสร้างทางรถไฟ ฯลฯ ในปี ค.ศ. ๑๘๖๘ การใช้แรงงานนักโทษในระบบเรือนจำแรงงาน และ ระบบเรือนจำอุตสาหกรรม ในปี ค.ศ. ๑๙๑๘ ถึง ปัจจุบัน ใน จีน ได้มีการใช้ระบบเรือนจำแรงงานในปี ค.ศ. ๑๙๕๐ ระบบเรือนจำฟาร์มระบบเรือนจำค่ายแรงงานบังคับ โดยการใช้แรงงานนักโทษผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อการส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๙๐ และ ระบบการใช้แรงงานนักโทษผ่านการศึกษาในปัจจุบัน ใน รัสเซีย มีการใช้แรงงานนักโทษในระบบเรือนจำและศูนย์กักกัน ระบบอาณานิคมแรงงาน ระบบค่ายกักกันแรงงาน ระหว่างปี ๑๘๗๙ ถึง ๑๙๕๕ เป็นต้น ซึ่งกล่าวกันว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา จีน และ รัสเซีย ขึ้นอยู่กับกำลังผลิตของนักโทษเป็นสำคัญ




โดยสรุป


จากข้อเท็จจริง ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆ ได้มีนโยบายคุก (Prison policy) หรือนโยบายเน้นหนักด้านการใช้แรงงานนักโทษให้เป็นประโยชน์กับทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามแนวคิด ทฤษฎี ลดค่าใช้จ่ายคุก ( Reduction in immediate costs Theory) ซึ่งต่างกับประเทศไทย ที่เน้นทฤษฎีการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษ ตามแนวทางของสหประชาชาติ มิได้เน้นการใช้แรงงานนักโทษให้เป็นประประโยชน์กับทางเศรษฐกิจ ปรากฏ ดัง สถิติข้อมูลการใช้แรงงานนักโทษในประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ มีปริมาณนักโทษที่มีอยู่ทั้งหมด จำนวน ๑๘๙,๐๔๒ คน พบว่า นักโทษไทยสามารถทำงานเป็นประโยชน์กับทางเศรษฐกิจ คิดเป็นเงินโดยเฉลี่ย วันละประมาณ ๒.๑๑ บาท (สองบาทสิบเอ็ดสตางค์) ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าการปฏิบัติงานคุกของแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญกับทฤษฎีคุก นโยบายคุก และ มิควรยึดติดกับทฤษฎีคุก ทฤษฎีใด ทฤษฎีหนึ่ง โดยเฉพาะ แต่ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ


..........................



References


บทความ เรื่อง การปฏิรูปคุกไทย วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ เว็บไซต์ คลังความรู้กรมราชทัณฑ์

บทความ เรื่อง เรือนจำอุตสาหกรรม วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ เว็บไซต์ สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ กรมราชทัณฑ์

บทความ เรื่อง เรือนจำรัสเซีย วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ เว็บไซต์ คลังความรู้กรมราชทัณฑ์

บทความ เรื่อง ระบบเรือนจำแรงงาน วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ เว็บไซต์ GotoKnow

บทความ เรื่อง นักโทษไทยแรงงานที่สูญเปล่า วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ เว็บไซต์ GotoKnow

ข้อมูลภาพจาก เว็บไซต์ http://www.amazon.com/Theories-punishment-Stanley-E-Grupp/dp/0253359260

ข้อมูลภาพจาก เว็บไซต์ http://www.amazon.com/Theories-Punishment-Larry-E-...




หมายเลขบันทึก: 600184เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2016 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2018 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

This "สถิติข้อมูลการใช้แรงงานนักโทษในประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ มีปริมาณนักโทษที่มีอยู่ทั้งหมด จำนวน 189,042 คน พบว่า นักโทษไทยสามารถทำงานเป็นประโยชน์กับทางเศรษฐกิจ คิดเป็นเงินโดยเฉลี่ย วันละประมาณ 2.11 บาท (สองบาทสิบเอ็ดสตางค์) ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน..." clearly shows little innovative thinking in corrective services and that prison systems are costing society in more ways than 'hardening criminal attitudes'.

Another aspect of corrective practice/punishment worth looking at is that of "ordaining into a monastery" (as a form of hope for correction, protection and rehabilitation for 'rogue sons'). Most monasteries (and other Buddhistic institutes) have no expertise nor resources to perform in this (expected) capacity. So why does this practice continue? What are benefits and costs to monasteries and communities?...

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ มากน่ะครับที่กรุณาติดตามและให้กำลังใจ ขอบคุณมากครับ

ข้อมูลสถิติงบประมาณคุกปี ๒๕๕๔ มีดังนี้ ๑) งบบุคลากร ๓,๕๐๔,๔๘๗,๑๐๐ ๒) งบดำเนินงาน ๕๕๗,๖๔๙,๖๐๐ ๓) งบลงทุน ๗๘๙,๑๑๘,๓๐๐ ๔) เงินอุดหนุน ๔,๙๓๐,๘๐๐ ๕)รายจ่ายอื่นๆ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๘,๘๕๖,๑๘๕,๘๐๐ บาท (แปดพันแปดร้อยห้าสิบหกล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นห้าพันแปดร้อยบาทถ้วน) คิดเป็นเงินที่รัฐต้องใช้เลี้ยงดูนักโทษเป็นเงิน ๑๒๘.๓๔ บาท ต่อคนต่อวัน หรือ ๔๖,๘๔๗.๗๑ บาท (สี่หมื่นหกพันแปดร้อยสี่สิบเจ็ดบาทเจ็ดสิบเอ็ดสตางต์) ต่อคนต่อปี ในขณะที่ นักโทษไทยสามารถทำงานเป็นประโยชน์กับทางเศรษฐกิจ คิดเป็นเงินโดยเฉลี่ย วันละประมาณ ๒.๑๑ บาท (สองบาทสิบเอ็ดสตางค์) ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน คิดเป็นเงินโดยเฉลี่ย ปีละ ๗๗๐.๑๕ (เจ็ดร้อยเจ็ดสิบบาทสิบห้าสตางค์) ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อปี

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ SR (Mr Sunthorn SR Rathmanus) ที่กรุณาให้ความเห็นเกี่ยวกับต้นทุนทางสังคมคุก กับ ทฤษฎีคุก ซึ่งเป็นความเห็นที่มีประโยชน์และมีค่ามาก ผมขึ้นต้นตอบคำถามด้วยข้อมูลสถิติงบประมาณคุกปี ๒๕๕๔ เพื่อพยายามที่จะบอกกับท่านและสังคมว่าเรามีต้นทุนทางสังคมคุกสูงมาก ปรากฏดัง ข้อมูลสถิติต้นทุนทางสังคมคุกในปี ๒๕๕๔ เป็นเงินทั้งสิ้น ๘,๘๕๖,๑๘๕,๘๐๐ บาท (แปดพันแปดร้อยห้าสิบหกล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นห้าพันแปดร้อยบาทถ้วน) ในขณะที่ เราสามารถคืนทุนในรูปของการให้นักโทษทำงานได้น้อยมากผิดปกติ ปรากฏดัง ข้อมูลสถิติรายได้จากการใช้แรงงานนักโทษ ในปี ๒๕๕๔ เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๔๕,๗๗๗,๓๙๓.๓๒ บาท (หนึ่งร้อยสี่สิบห้าล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสามร้อยเก้าสิบสามบาทสามสิบสองสตางค์) .............

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท