​ลูกหลานย่อมเป็นไปตาม จิตเดิม พันธุกรรม การเรียนรู้ การพัฒนาการ และ สิ่งแวดล้อม


ลูกหลานย่อมเป็นไปตาม จิตเดิม พันธุกรรม การเรียนรู้ การพัฒนาการ และ สิ่งแวดล้อม

************************************

สมัยนี้ มีพ่อแม่ ปูย่า ตายาย ชอบบ่นว่าลูกหลานของตัวเอง บอกยาก สอนยาก บอกให้ทำอะไรก็ไม่ฟัง ชอบทำแต่เรื่องไร้สาระ พ่อแม่บอกไม่ได้ ตามไม่ทัน ฯลฯ เลยต้องปล่อยให้เป็นปัญหาของสังคมโดยรวม แบบอ้างว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้แล้ว

คำตอบแบบชัดๆ แบบตรงๆ ที่คนในสังคม ชอบตัดสินที่มาของเหตุการณ์ดังกล่าว ก็มีอยู่หลายแบบ ตามระดับความรู้ ตามระดับความคิด ตามระดับความเข้าใจโลก และเข้าใจกฎธรรมชาติ มากมายหลายแบบ หลายระดับ เช่น ......

  • คนทั่วไป ที่ไม่ใช้ความคิด หรือความรู้ที่ชัดเจน และมักตัดสินด้วยอารมณ์ ก็จะบอกแค่ว่า “ลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอน”
  • แต่ ในสังคมทั่วไป และภาษากฎหมาย มักใช้คำว่า อยู่ที่ “สันดาน” การ”สืบสันดาน” หรือ DNA ของเด็กคนนั้น
  • ในกลุ่มนักวิชาการ/นักวิทยาศาสตร์ ก็จะคิดสั้นๆ ตามหลักวิชาการว่า มาจาก พันธุกรรม (DNA) และสิ่งแวดล้อม
  • แต่ในกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม เข้าใจธรรมะ เข้าใจธรรมชาติ หรือเข้าใจ “กฎธรรมชาติ” ของระบบคิด และความเข้าใจชีวิต และธรรมชาติจะขยายความต่อไปอีก โดยบอกว่า มาจาก “จิตเดิม” DNA ตั้งต้น การเรียนรู้ พัฒนาการของสมอง/DNA และ สิ่งแวดล้อม ที่มีคำอธิบาย และชัดเจนมากขึ้นโดยลำดับ

ดังนั้น คนที่เข้าใจความจริงมากๆ ย่อมจะมองทุกอย่างที่สัมผัสได้ ได้อย่างชัดเจนมากกว่า ภายใต้ความหมายของคำว่า “สัมมาทิฐิ” คือ มองโลกไปตามความเป็นจริง ได้มากกว่า และชัดเจนกว่า

โดยเฉพาะ ในระดับของ “จิตเดิม” นั้น แท้ที่จริงแล้ว ตามหลัก “ธรรมะ” นั้น จิตเดิม คือ จิตของคนแต่ละคน เดิมๆ จะมีความสะอาด ไม่มีกิเลส ตัณหา หรือ อวิชชา แต่ต่อมา เมื่อมีการปนเปื้อน ก็จะทำให้คุณภาพของจิตเดิมลดลง หรือ บิดเบือนไปจากธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา จิตที่ปนเปื้อนเหล่านี้ ทำให้เลี้ยงยาก สอนยาก ยิ่งถ้าผู้เลี้ยงเด็กและผู้สอน มีจิตที่ปนเปื้อนด้วยแล้ว ก็จะเกิดปัญหาทับซ้อนมากขึ้นไปอีก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่เด็กนั้นๆ เจริญเติบโตขึ้นมา ก็จะมีผลต่อการพัฒนาการของจิตเดิม ไปในทางหนึ่งทางใด พร้อมๆกับการพัฒนาของสมอง/DNA ระบบคิด วิถีคิด วิธีคิด ได้อย่างมากมาย แล้วแต่จะพัฒนาการไปในทางใด

ระดับคุณภาพของจิตเดิม นั้น แม้โดยธรรมชาติ มักจะมีการจับคู่ที่สอดคล้องกันกับระดับคุณภาพของ DNA และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดการพัฒนาการของจิต ไปตามสมอง และ DNA และ/หรือ พัฒนาการของสมอง และ DNA ไปตามจิต การเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่า ขัดเกลาสันดาน หรือ พัฒนาจิต ก็ได้ ที่แม้จะแตกต่างกัน แต่ก็จะได้ผลดีทั้งคู่ ถ้าทำได้ทั้งสองอย่างพร้อมๆกัน ก็จะยิ่งดี

ฉะนั้น ลูกหลานจะ”ว่านอนสอนง่าย” หรือ “หัวดื้อ” ก็มาจากสองปัจจัยพื้นฐาน คือระดับคุณภาพของจิตเดิม และ สมอง/ DNA ต่อจากนั้นก็เป็นการเรียนรู้และพัฒนาการของจิตและ สมอง/DNA ให้ลดการปนเปื้อนและหลงทาง ทำให้จิตสะอาด และ สมอง/DNA มีคุณภาพมากขึ้น

ปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนได้ก็คือ ปัจจัยแวดล้อมที่ดี ที่จะชักนำให้มีการพัฒนาทั้งจิตและ สมอง/DNA ในทางที่ดี มีประโยชน์ต่อตัวเอง ครอบครัว และสังคมโดยรวมไปพร้อมๆกัน

ถ้าพ่อแม่ พี่น้อง ลุงป้าน้าอา ปู่ย่า ตายาย ช่วยกันสร้างสรรค์ ทั้งสมอง/ DNA กระบวนการเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆช่วยกัน ลูกหลานในตระกูลนั้นๆ ก็จะดีขึ้นๆโดยลำดับ

แต่ในทางกลับกัน ถ้าพ่อแม่พี่น้อง และต้นตระกูล มีแต่พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี มีแต่ทำให้จิต สมอง และ DNA ของลูกหลานปนเปื้อนมากยิ่งขึ้น พัฒนาการของทั้งจิตและสมอง ก็จะถูกบิดเบือนไปในทางที่ไม่ดี มีแต่การสร้างกิเลส ตัณหา อวิชชาเอารัดเอาเปรียบคนอื่น คิดมองคนอื่นในแง่ร้ายตลอดเวลา ก็จะทำให้กับระบบคิด วิถีคิด วิธีคิด ไปในทางปนเปื้อนแบบนั้นตลอดเวลา ก็จะทำให้ลูกหลานพัฒนาการไปในรูปแบบนั้น และเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ ในรูปแบบนั้นๆ ลูกหลาน ก็จะเป็นไปแบบนั้นๆ ตามกฎ ตถาตา “เป็นเช่นนั้นเอง”

นี่คือความเข้าใจที่ผมได้จากการศึกษาพระอภิธรรม กฎธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ และธรรมชาติวิทยาครับ

หมายเลขบันทึก: 599930เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2016 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2016 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท